เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ที่ผ่านมา อพวช. ร่วมกับ ไทยพีบีเอส จัดพิธีมอบรางวัลโครงการประกวดภาพยนตร์สั้น วิทยาศาสตร์ ปีที่ 4 “Science Around Us วิทยาศาสตร์รอบตัว” ภาพยนตร์สั้น “วิทย์สนุก สุดขอบฟิล์ม” ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
หลังจากประกาศเปิดตัวโครงการฯ และประกาศรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (เทียบเท่า) ระดับอุดมศึกษา และระดับประชาชนทั่วไป ในช่วงระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 15 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมารวมระยะเวลาในการสมัครและผลิตผลงานภาพยนตร์สั้นวิทยาศาสตร์จากกลุ่มเป้าหมายส่งเข้าประกวดกันรวม 3 เดือน องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) จึงได้มีการพิจารณาและตัดสินรางวัลและจัดให้มีการประกาศ ผลโครงการประกวดภาพยนตร์สั้นวิทยาศาสตร์ ปีที่ 4 (Short Science Film #4) โดยมอบเงินรางวัล มูลค่ากว่า 300,000 บาทพร้อมโล่และประกาศนียบัตรให้กับผู้ได้รับรางวัลทั้ง 3 ประเภท
คุณกรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เปิดเผยว่าเวทีของคนเก่งปีนี้ยังคงเดินหน้าต่อไป ถือว่าการประกวดโครงการประกวดภาพยนตร์สั้นวิทยาศาสตร์ ปีที่ 4 (Short Science Film #4) ในปีนี้ ได้รับความสนใจจากนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจการทำหนังสั้นได้แสดงความสามารถ ร่วมส่งเข้าประกวดมากกว่าในปีที่แล้ว โดยมีผู้เข้าร่วมในโครงการฯ นี้ถึง 104 ทีมทั่วประเทศ โดยผู้เข้าประกวดทุกท่านได้นำความรู้พื้นฐานและมุมมองทางวิทยาศาสตร์ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพยนตร์สั้นวิทยาศาสตร์ได้อย่างน่าสนใจ และมีเรื่องราวที่สนุกชวนติดตามในทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นประเภท มัธยมศึกษา ตอนปลาย (เทียบเท่า) ประเภทอุดมศึกษา (เทียบเท่า) และประเภทประชาชนทั่วไป โครงการฯ นี้นับเป็นโครงการฯ ที่ทางองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย (Thai PBS) จะดำเนินการต่อไปในปีที่ 5 อย่างแน่นอน คณะกรรมการของโครงการฯ ขอขอบคุณ ทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมในโครงการฯ นี้ ทางอพวช.และไทยพีบีเอส หวังว่าในปีต่อๆ ไป จะมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมใน การประกวดภาพยนตร์สั้นวิทยาศาสตร์กันมากขึ้น
คุณพิภพ พานิชภักดิ์ รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) กล่าวเพิ่มเติมว่า คณะกรรมการฯ ในการตัดสินรางวัลพิจารณาผลงานค่อนข้างยากเนื่องจากมีผลงานคุณภาพดี เป็นจำนวนมา โดยผลงานจากการประกวดภาพยนตร์สั้นวิทยาศาสตร์ ปีที่ 4 (Short Science Film #4) ในครั้งนี้ นับเป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า คนไทยทุกคนสามารถสร้างพลังในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านการทำภาพยนตร์สั้น ได้ ซึ่งผลงานการประกวดครั้งนี้ ถือเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด เผยแพร่เรื่องราว ความรู้ จินตนาการแห่งความ เป็นวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี โดยผลการประกวดภาพยนตร์สั้นวิทยาศาสตร์มีประเภทรางวัลสรุปผลได้ดังนี้
ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย (เทียบเท่า)
- รางวัลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม เงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท
ได้แก่ เรื่อง ป่าอาถรรพ์/ ทีม ๕ Days Team (โรงเรียนมัธยมวิภาวดี)
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท
ได้แก่ เรื่อง Endeavor/ ทีม Satit Kaset Studio (โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท
ได้แก่ เรื่อง SPACE ME I AM BIPOLAR/ ทีม Astral (โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย)
- รางวัลชมเชย เงินรางวัลมูลค่า 5,000 บาท
ได้แก่ เรื่อง Aspectual Intelligence/ ทีม Revorin (โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย)
ประเภทอุดมศึกษา (เทียบเท่า)
- รางวัลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม เงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท
ได้แก่ เรื่อง เปรี๊ยะ/ ทีม ดีแล้วแต่ขออีกเทค (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท
ได้แก่ เรื่อง ถนอม/ ทีม ต้มส้มไก่ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท
ได้แก่ เรื่อง Light/ ทีม บ้านหลิ่งห้า (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ประเภทประชาชนทั่วไป
- รางวัลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม เงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท
ได้แก่ เรื่อง เอ้ก อี เอ้ก เอ้ก/ ทีม ราหูฟิล์ม
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัลมูลค่า 40,000 บาท
ได้แก่ เรื่อง Can Man Project/ ทีม 239 Studio
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท
ได้แก่ เรื่อง The Pinnacle/ ทีม NPS
ติดตามรับชมผลงานภาพยนตร์สั้นและรายละเอียดของการประกาศผลรางวัลโครงการประกวดฯ ได้ทาง Facebook : Short Science Film ปีที่ 4 และติดตามรับชมผลงานภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยมของทุกประเภท ได้ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เดือนสิงหาคมนี้
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.