15 มกราคม 2562 ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ รางน้ำ กรุงเทพฯ / ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา เรื่อง “2020 ปีแห่งการลงทุน ทางออกประเทศไทย” นอกจากนี้ภายในงานดังกล่าว มีปาฐกถาพิเศษ เรื่อง Model เศรษฐกิจสู่การพัฒนายั่งยืน จาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมี น.ส.ปานบัว บุนปาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และคณะผู้บริหาร บริษัท มติชน ให้การต้อนรับ
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ กล่าวว่า ประเด็นที่ท้าทายสำหรับประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1.ระยะเปลี่ยนผ่าน 2.เหลียวหลังแลหน้า Model ประเทศไทยจากนี้ไป และ 3.BCG Model ซึ่งประเทศไทยยังคงติดอยู่กับดักรายได้ปานกลาง การลงทุนจะทำให้เราหลุดพ้นจากกับดักไปได้ คำถามคือต้องใช้เวลานานแค่ไหนผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือ GDP ถึงจะสูงขึ้น สิ่งที่เราต้องดำเนินการต่อไป คือ การคิดใหม่ ต่อจากนี้การลงทุนจะต้องเป็นการลงทุนเชิงคุณภาพไม่ใช่ปริมาณอีกต่อไป จะทำยังไงที่จะสร้าง people power ไม่ใช้แค่ market power และสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้ Model เศรษฐกิจใหม่ New Cheaper Investment อย่าแท้จริง ภายใต้ BCG Model เราจะต้องมีกรอบความคิดใหม่ Thailand 4.0 ดูเหมือนเป็นนามธรรม แต่ BCG Model คือ รูปธรรม การลงทุนต่อจากนี้ไปคือการลงทุนองค์ความรู้ การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยไปข้างหน้าในศตวรรษที่ 21 ได้
ดร. สุวิทย์ กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยติดอยู่กับกับดัก 3 เรื่อง ได้แก่ กับดักรายได้ประเทศปานกลาง กับดักความเหลื่อมล้ำ และกับดักความไม่สมดุล ซึ่งสามารถแก้ได้ด้วย BCG Model โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตอบโจทย์ประเทศไทยด้านความหลากหลาย เชื่อมโยงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอบโจทย์ 10 ใน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืนครอบคลุม 5 ใน 10 อุตสาหกรรม S Curve และกระจายโอกาสและความมั่งคั่งสู่เศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจภูมิภาค นอกจากนี้ BCG Model ยังเป็นตัวผลักดันเศรษฐกิจแบบทั่วถึง ทั้งในเรื่องของอาหาร การเกษตร สุขภาพและการแพทย์พลังงานวัสดุและเคมีชีวภาพ การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเมื่อเรามองเป็นรูปธรรมผ่าน BCG จะทำให้เราก้าวข้ามจากกับดักทั้ง 3 เรื่องได้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.