จากปัญหาสภาพอากาศและปัญหาฝุ่นละอองในปัจจุบัน ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็น TOP TEN ประเทศที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก ซึ่งจากวิกฤตดังกล่าวนี้เองที่ทำให้เกิดการนำข้อมูลเรื่องค่าฝุ่นละอองมาใช้ประโยชน์เป็นปริมาณมาก โดยจะเห็นได้จากสื่อและข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ต่าง ๆ มากมาย แต่หากการได้มาซึ่งข้อมูลสภาพอากาศโดยภาพรวม ไม่ตรงกับพื้นที่ไกล้เคียงกับที่ต้องการรู้ข้อมูล
ปัญหานี้เองที่ส่งผลให้ทางทีมวิจัยได้เล็งเห็นถึงการได้มาซึ่งดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index หรือ AQI) ในแบบที่มีความแม่นยำ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใช้เพื่อสื่อสารว่าอากาศมีมลภาวะแค่ไหน เมื่อ AQI มีค่าสูงขึ้น ผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพจะยิ่งสูงขึ้น มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ดัชนีคุณภาพอากาศนี้ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ก๊าซโอโซน (O3) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เหมาะกับการใช้งานในแบบพกพาส่วนบุคคลและสามารถใช้งานได้ทุกวัน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดฝุ่น PM2.5 และ AQI สำหรับใช้งานในชีวิตประจำวัน
- เพื่อออกแบบระบบฐานข้อมูล และรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลอากาศ พร้อมทั้งรูปแบบการแสดงผล แจ้งเตือน ผ่านทางช่องทางต่างๆที่ใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ Smartphone และคอมพิวเตอร์
2. เพื่อพัฒนาและออกแบบอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานได้ในชีวิตประจำวันทั้งในรูปแบบของอุปกรณ์ติดตั้งเพื่อเฝ้าระวังในอาคารหรือในรูปแบบพกพาเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์แจ้งเตือนคุณภาพอากาศและฝุ่นละออง PM2.5
อุปกรณ์ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 และคุณภาพอากาศ AQI “MyAir” นี้เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ร่วมด้วย โดยใช้เซนเซอร์มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับและเทคโนโลยี IoT เพื่อใช้ในการรายงานผลข้อมูล โดยในส่วนของการนำเสนอข้อมูลสามารถเรียกดูข้อมูลขณะขั้นและข้อมูลย้อนหลังได้จากหน้าเว็บไซต์ที่ใช้รายงานผล ทำให้ผู้ใช้งานสามารถนำอุปกรณ์ดังกล่าวพกพาติดตัว หรือนำไปติดตั้งได้ทุกที่เพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศ และค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ด้วยตนเอง
ทั้งนี้ นักวิจัยได้ออกแบบให้เครื่องประดับทำการตรวจวัดฝุ่นด้วยเซนเซอร์ตรวจวัดฝุ่น PM2.5 แบบกระเจิงแสงขนาดเล็ก เป็นเซนเซอร์ที่มีขนาดเล็ก บางและเบาที่สุดในโลก โดยเล็กกว่าเซนเซอร์ของ Plantower และ Honeywell ถึง 3 เท่า ด้วยเทคโนโลยีเพียโซไมโครปั๊ม จึงหมดปัญหาเรื่องความผิดพลาดจากการแกว่งและสะเทือน ทนทาน นอกจากนี้ยังใส่ AI เข้าไป เพื่อความอัจฉริยะทำให้ทราบได้ว่าเป็นฝุ่น ควัน หรือหมอก และยังใช้เป็นเครื่องประดับสวมใส่ตามแฟชั่นได้ (Jewelry Electronics) ปัจจุบันนักวิจัยได้ทำความตกลงกับบริษัท กราวิเทคไทย (ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อผลิตเครื่องประดับตรวจวัดฝุ่นสำหรับนำไปทดสอบประสิทธิภาพ จากนั้นจะขอรับรองมาตรฐานสากลในระดับ Screening ต่อไป
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.