เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 ดร.ภูวดี ตู้จินดา หัวหน้ากลุ่มวัสดุธรรมชาติและเส้นใย กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้การต้อนรับเจ้าหน้าที่จากบริษัท ไทยอิสเทิร์น พัลพ์ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเยื่อกระดาษจากทลายปาล์ม เพื่อให้คำปรึกษาในการจัดตั้งปฏิบัติการทดสอบด้านเยื่อกระดาษ ณ 313 ชั้น 3 อาคารหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ
อุตสาหกรรมผลิตน้ำมันจากปาล์มเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ มีเศษเหลือทิ้งจากการเกษตรและอุตสาหกรรมจำนวนมาก โดยเฉพาะทะลายปาล์มน้ำทันเปล่า (oil palm empty fruit bunches) ซึ่งมีปริมาณสูงถึง 2.5 ล้านตันต่อไป แต่มีการนำไปใช้ประโยชน์เพียงเล็กน้อย เช่น ปุ๋ยหมัก เพาะเห็ดฟาง และเผาเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น ทำให้ราคาปาล์มปัจจุบันอยู่ที่ 0-150 บาทต่อตัน (ขึ้นอยู่กับพื้นที่) โดยการนำทะลายปาล์มมาผลิตเป็นเยื่อกระดาษ สามารถตอบโจทย์ BCG ตามนโยบายของรัฐบาล ที่จะมุ่งเน้นด้าน เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว และสร้างมูลค่าเพิ่มของวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร โดยบริษัทไทยอิสเทิร์น พัลพ์ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด กำลังจะขยายกำลังการผลิตเยื่อกระดาษจากทะลายปาล์มจาก pilot plant เดิม เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีกำลังการผลิตประมาณ 50 ตันต่อวันในเฟสแรก และจะขยายสูงสุดที่ประมาณ 120 ตันต่อวันในเฟสต่อไป อนาคตอันใกล้จะมีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบเยื่อกระดาษทะลายปาล์มใหม่ในโรงงานด้วย
ในการนี้ ดร.ภูวดีฯ และคณะให้คำปรึกษา และองค์ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบด้านเยื่อกระดาษ เทคนิคและเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการทดสอบ และพาเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทดสอบด้านเยื่อและกระดาษเพื่อเป็นแนวทางในการจัดตั้งห้องปฎิบัติการของบริษัทต่อไป
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.