เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย นางเพ็ญนภา กัญชนะ รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ดร.กิตติ์กวิน อรามรุญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน นางดารุณี พีขุนทด ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและมาตรฐานกำกับดูแลความปลอดภัย และ ดร.พิภัทร พฤกษาโรจนกุล วิศวกรนิวเคลียร์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ร่วมหารือกับ Mr. Manuel Recio Santamaria, Senior Radiation Safety Specialist, International Atomic Energy Agency (IAEA) Dr. João Oliveira Martins, Director for Emergencies and Radiation Protection, Portuguese Environmental Agency และ Dr. Geraldine Pina, Deputy Team Leader, French Authority for Nuclear Safety and Radiation Protection ณ ชั้น 4 อาคารพระจอมเกล้า สป.อว.
ทั้งนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญจาก IAEA เดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อทำการประเมินและทบทวนระบบการกำกับดูแลเชิงบูรณาการ (Integrated Regulatory Review Service: IRRS) ที่ดำเนินการโดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบการกำกับดูแลทางนิวเคลียร์และรังสีของประเทศไทย โดย IAEA พัฒนา IRRS ขึ้นเพื่อใช้เป็นกระบวนการประเมินทบทวนโครงสร้างหรือระบบการกำกับดูแล เปรียบเทียบกับมาตรฐานความปลอดภัยของ IAEA (IAEA Safety Standards) โดยอาศัยการทบทวนผ่านเพื่อนร่วมวิชาชีพ (Peer Review) และมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาการกำกับดูแลทางด้านนิวเคลียร์และรังสีขึ้น
ศ.ดร.ศุภชัย กล่าวว่า ขอขอบคุณผู้เชี่ยวชาญจาก IAEA สำหรับการสนับสนุนที่ได้รับ ซึ่งช่วยเสริมสร้างสมรรถนะการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลทางนิวเคลียร์และรังสีให้กับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับการสนับสนุนการประเมิน IRRS Mission ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ โดยผู้เชี่ยวชาญจาก IAEA มีกำหนดเข้าสังเกตการณ์การตรวจสอบของ ปส. ที่ โรงเก็บกากกัมมันตรังสี และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด และ โรงพยาบาลภูมิพล พร้อมกันนี้ ปอว. ยังได้แสดงความมุ่งมั่นและมีความยินดีสนับสนุนกิจกรรมอื่น ๆ ของ IAEA ในประเทศไทยด้วย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.