(9 พฤศจิกายน 2563) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ “อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จังหวัดนครราชสีมา)” ที่ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยมี ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมด้วย นายสำราญ รอดเพชร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, ผู้บริหารอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง, คณะผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัย เฝ้าฯ รับเสด็จฯ
ปัจจุบัน อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในฐานะมหาวิทยาลัยเครือข่ายหลัก ดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายอีก 9 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และ มหาวิทยาลัยนครพนม
สำหรับโครงการที่มุ่งเน้นดำเนินงาน ได้แก่ (1) โรงงานต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Biorefinery Pilot Plant) (2) โครงการ Bioenergy (Innovation Hubs) (3) โครงการบูรณาการการผลิตโคเนื้อพันธุ์โคราชวากิว ที่ให้เนื้อเกรดพรีเมี่ยมภายใต้สภาพแวดล้อมประเทศไทย และ (4) เมืองอัจฉริยะ (Smart City)
โดยมี อุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้
1. เกษตรแปรรูปและอาหารแบบครบวงจร (Agri-Food Cluster) : นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม การชำและตัดแต่งโคเนื้อมาตรฐาน
2. พลังงานชีวภาพ (Bioenergy Cluster) : มันสำปะหลัง อ้อย ขยะชุมชนและของเสียอันตราย เชื้อเพลิงชีวมวล
3. ท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy Cluster)
4. สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society Cluster) : ยา สมุนไพร วัสดุทดแทนกระดูก ข้อเข่าเทียม และเครื่องพยุงผู้ป่วย
5. เมืองอัจฉริยะ (Smart City) : การสัญจรอัจฉริยะ (Smart Mobility), ชุมชนอัจฉริยะ (Smart Community), เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy), สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment), พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy), อาคารอัจฉริยะ (Smart Building) และการบริหารอัจฉริยะ (Smart Governance)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.