เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2655 รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัด อว. พร้อมด้วย รศ.ดร.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ นายชาลี วัฒนเขจร ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ได้ร่วมลงนามในบันทึกแสดงเจตนารมณ์ เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาโครงการ วมว. คู่ศูนย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาศักยภาพจของนักเรียนในโครงการ วมว ร่วมกันในทุกมิติ
คณะกรรมการอนุกรรมการประเมินและคัดเลือกมหาวิทยาลัย - โรงเรียน ในโครงการ วมว. ระยะที่ 3 นำโดยรองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์) ประธานอนุกรรมการ และ ดร.ธงชัย ชิวปรีชา ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการฯ นำทีมคณะอนุกรรมการฯ เยี่ยมชมการดำเนินงานโครงการ วมว. คู่ศูนย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต โดยมี รศ.ดร.ณัฐธนนท์ หงส์วริทธิ์ธร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ดร.นพรัตน์ พฤกษ์ทวีศักดิ์ ผู้อำนวยการ โครงการ วมว.มธ.-สกร. และผู้บริหารของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ร่วมให้การต้อนรับ โดยคณะได้เยี่ยมชมห้องเรียนและห้องปฏิบัติการของโรงเรียน และหอพักของนักเรียนในโครงการ วมว. ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คู่ศูนย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีจุดแข็งที่โดดเด่นในการสร้างความร่วมมือกับสถาบันวิจัยใกล้เคียงโดยมี MOU ร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ทำให้โครงการ วมว. ของคู่ศูนย์ มธ. สามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานของ สวทช. ได้ทุกด้าน รวมไปถึงการร่วมทำวิจัยกับนักวิจัยของ สวทช. นอกจากนี้ คู่ศูนย์ มธ. ยังสนับสนุนให้นักเรียนฝึกทักษะด้านภาษาต่างประเทศ และมีกิจกรรมการทำวิจัยร่วมกับนักเรียนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศ
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้ร่วมพูดคุยเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับนักเรียนในโครงการ วมว. ครูอาจารย์จากโรงเรียน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่โครงการ วมว ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีข้อคิดเห็นและข้อแสนอแนะเพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการ วมว. คู่ศูนย์ มธ. ในสามประเด็น คือ 1. การนำระบบการสอบแบบ Team teaching มาปรับใช้ เพื่อส่งเสริมให้ครู อาจารย์ และนักเรียน พัฒนาศักยภาพไปพร้อม ๆ กัน และสามารถนำแนวทางการสอนไปพัฒนาห้องเรียนอื่น ๆ ในโรงเรียนร่วมด้วย เพื่อให้เกิดการยกระดับการจัดการเรียนการสอนของทั้งโรงเรียน 2. การเพิ่มเติมศักยภาพด้านภาษาต่างประเทศของนักเรียนผ่านการเสริมทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างรอบด้าน ทั้งในเชิงวิชาการ เช่น Academic writing การนำเสนอทางวิชาการ และทักษะการใช้ชีวิต เพื่อเตรียมความพร้อมนักเรียนให้เป็นพลเมืองโลก (Global citizen) ในอนาคต และ 3. การพัฒนาระบบการเรียนรู้การจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ผ่านรายวิชาที่มีอยู่แล้วหรืออาจเพิ่มเติมในอนาคต เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเห็นภาพกระบวนการจัดทำโครงงานและฝึกทดลองอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะทำให้นักเรียนเห็นความงดงามและความสนุกในการทำงานวิจัย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.