(28 มิถุนายน 2565) ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา Thailand and South East Asia Masterclass เพื่อนำเสนอเกณฑ์และตัวชี้วัดในการประเมิน และวิธีการนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ระบบประเมินคุณภาพการจัดอันดับของ World University Rankings ในปีต่อไป โดยมี Times Higher Education (THE) ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาผ่านการจัดอบรม พร้อมด้วย นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ ผู้แทนจาก Times Higher Education และผู้บริหารจากสถาบันอุดมศึกษา เข้าร่วมงาน ณ โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพมหานคร
ศ.ดร.ศุภชัย กล่าวว่า Times Higher Education (THE) เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกด้านข้อมูลการศึกษาระดับอุดมศึกษา และได้มีการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาในระดับนานาชาติหรือ World University Rankings ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญ และเป็นเครื่องมือที่สะท้อนผลการดำเนินงานและพัฒนาการของมหาวิทยาลัยอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ยังใช้ในการตัดสินใจเลือกสถาบันอุดมศึกษาที่จะเข้าศึกษาต่อของนักเรียน นักศึกษาทั่วโลก และได้รับการยอมรับในระดับสากล อีกทั้งยังได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญทั้งในระดับประเทศ และในระดับโลก การจัดอันดับ World University Rankings ของ THE ในปี 2022 ครอบคลุมสถาบันอุดมศึกษามากกว่า 1,600 แห่งทั่วโลก 99 ประเทศ โดยมีการจัดทำเกณฑ์ที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ 1.) ด้านการเรียนการสอน 2.) ด้านการวิจัย 3.) ด้านการอ้างอิงในผลงานวิจัย 4.) ด้านความเป็นนานาชาติ และ 5.) ด้านรายได้ทางอุตสาหกรรม
ซึ่งทาง อว. ได้ให้ความสนใจต่อการพัฒนาตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดอันดับ World University Rankings เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของสถาบันอุดมศึกษาให้มุ่งสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ และมีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล และให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว โดยสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาของไทยเข้าสู่ระบบการจัดอันดับของ World University Rankings โดยมี THE ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาผ่านการจัดอบรม THE Datapoints ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งสามารถนำแนวทางการจัดอันดับ World University Rankings มาใช้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาและเป็นตัวชี้วัดสำหรับการติดตามและประเมินผลถึงความสำเร็จในการพัฒนาตามเป้าหมาย หรือการพัฒนาตามกฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2564 ได้ เช่น
- กลุ่มสถาบันอุดมศึกษากลุ่มการวิจัยระดับแนวหน้าของโลกสามารถใช้ตัวชี้วัดหมวดการวิจัยมาใช้เป็นตัวชี้วัดหลักของสถาบันอุดมศึกษาได้
- กลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมสามารถใช้ตัวชี้วัดหมวดรายได้จากภาคอุตสาหกรรมในการเป็นตัวชี้วัดหลักของสถาบันอุดมศึกษาได้
- กลุ่มผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะสามารถใช้ตัวชี้วัดหมวดการเรียนการสอนในการเป็นตัวชี้วัดหลักของสถาบันอุดมศึกษาได้
สำหรับการประชุมสัมมนาในวันนี้ Session: DataPoints Product and Analysis on How to Build Strategy โดย Simone Dilena, President APAC เผยว่า DataPiont คือ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่จะเข้ามาช่วยปรับปรุงการวิเคราะห์ผลงานการจัดอันดับและมาตรฐานองค์กร พัฒนาโดย THE ซึ่งมหาวิทยาลัยสามารถเลือกผู้เทียบได้ถึง 25 มหาวิทยาลัย
คุณสมบัติของ DataPoint
- เข้าถึงตัวชี้วัดทั้ง 13 ตัวชี้วัดของ THE
- วิเคราะห์ตัวชี้วัดใหญ่ 5 ด้าน ได้แก่ teaching, research, citation, Industry income และ International outlook
- วิเคราะห์แยกสาขา 11 สาขาดังนี้ Overall 1000, Arts and Humanities 500, Clinical and Health 500, Engineering 500, Computer Science 500 และอีก 6 ด้าน
- วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงผลเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า
- วิเคราะห์ด้าน reputation (ผลการโหวตมาจากนักวิชาการนอกมหาวิทยาลัย) จะดูจากเกณฑ์ 3 ข้อด้วยกัน คือ
1. Strong brand ประกอบไปด้วย ความสามารถของสถาบัน การลงทุน การสนับสนุนผู้อื่น Strategic partnership และ จำนวนของนักศึกษา
2. สิ่งที่วัด ได้แก่ งานวิจัย การเรียนการสอน และคะแนนประสบการณ์
3. ข้อมูลเชิงลึก ได้แก่ หัวข้อ สถานที่ตั้ง ปัจจัยการโหวต และจำนวนปี
- ช่วยควบคุมเกณฑ์ต่างๆของมหาวิทยาลัยมากกว่า 1,500+ ในเครือ WUR
- ช่วยวิเคราะห์ผลงานและสนับสนุนแผนที่วางไว้
- ช่วยวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของสถาบัน
- เสริมสร้างบรรยากาศของการศึกษา
DataPoint สามารถวัดจาก subject และ Reputation โดยจะดูทั้งจากภาพรวมทั้งหมดของกลุ่ม เทียบกับเกณฑ์การวัด และเปรียบเทียบกับคู่แข่ง
และผู้แทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอตัวอย่างการนำ DataPoint มาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย โดยการวิเคราะห์ SWOT analysis ขององค์กร เริ่มจากการตั้งคำถามกับตัวเองว่าต้องการทำอะไรด้านไหน และนำ DataPoint มาจับตรงนั้น DataPoint จะช่วยให้เราหาจุดแข็งของตัวเองเจอ และสามารถนำจุดอ่อนมาเป็นโอกาสได้ ซึ่ง DataPoint จะเข้ามาช่วยบอกได้ว่าใครที่ทำได้ดีและใครควรจะเป็นเป้าหมายในการทำความร่วมมือด้วย จะได้จับได้ถูกที่และไม่เสียเวลา และการใช้ voting analysis เพื่อดูที่มาของเสียงโหวตและสร่าง visibility เพื่อหาเสียงโหวตจากประเทศที่ไม่เคยได้รับ
Session 1. Raising Global Profile: Connecting and sharing knowledge in Higher Education โดย Mr. Todd Hornal ผู้แทนจาก THE และ Ms. Chloe Chiong, Client Engagement Manager (Asia)
Todd พูดถึงตัวอย่างและวิธีการยกระดับโปรไฟล์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่รู้จัก โดยมีวิธีการและตัวอย่างจากสถาบันอุดมศึกษาในไทยที่มีความโดดเด่นด้านต่างๆ ให้ที่ประชุมได้เห็น ยกตัวอย่างการปรับโปรไฟล์ให้น่าสนใจ โดยให้ดูในเรื่องของ Branding,การทำให้เป็นที่รู้จัก, วิธีการสร้างสรรค์การสื่อสารที่ดี และการยกระดับโปรไฟล์ของสถาบัน หาแนวทางการโปรโมทมหาวิทยาลัย และการทำโฆษณา และ ทำให้มีช่องทางการเข้าถึงที่ชัดเจน เช่น เฟซบุ๊ก ig รวมถึงการเสนอข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เป็นต้น
Ms. Chloe Chiong, Client Engagement Manager (Asia) ได้นำเสนอเกี่ยวกับ THE Campus Platform ซึ่งเป็น Platform ที่เป็นเวทีให้มหาวิทยาลัย/สถาบันที่เข้าร่วมเป็น Contributing Partners ได้นำเสนอข้อมูลกิจกรรมด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้าน SDGs ลงในแพลตฟอร์มดังกล่าว
ส่วน Session 3 Impact Ranking Case Study Chulalongkorn University + SDGID Demonstration Santana Kittikowit, Ph.D Assistant to President for Innovation Affairs จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำร่องความสำเร็จในการเป็น 1 ใน 16 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ที่สามารถบูรณาการกิจกรรมตาม SDG “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” อย่างครอบคลุมทั้ง 17 หัวข้อ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน เช่น การพัฒนานวัตกรรมตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้จัดตั้งบริษัท ใบยา โฟโตฟาร์ม จำกัด ที่สามารถพัฒนาวัคซีนโควิด-19 และแอนติบอดีในการยับยั้งไวรัสจากใบยาสูบชนิดพิเศษได้สำเร็จ นอกจากนี้ Allana Linn จาก Times Higher Education ได้นำเสนอการทำงานของ SDG Impact Dashboard (SDGID) และอื่นๆ อีกมากมาย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.