วันที่ 3 เมษายน 2566 นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย รศ.สิตา ทิสาดลดิลก รองผู้อำนวยการสถาบันวิทยาลัยชุมชนได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม วชช. มุกดาหาร โดยมี นายศศิพงษา จันทรสาขา ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร และคณะให้การต้อนรับ ในโอกาสนี้ทางวิทยาลัยชุมชนมุดดาหาร ได้นำเสนอผลการดำเนินงานตามพันธกิจของสถาบัน และนำเยี่ยมชมโครงการ โดยเฉพาะในด้านการบริการวิชาการและด้านการวิจัย ที่ได้ร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น เนื่องจาก จ.มุกดาหารเป็นจังหวัดที่ประชากรมีรายได้ต่ำสุดติดอันดับ 10 ของประเทศ ซึ่งเป้าหมายการทำงานคือ "วชช.จะเป็นสถาบันวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการวิจัย" ไม่ว่าจะเป็น โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร โครงการ U2T กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพปลูกหม่อนแก้จน ตำบลกกแดง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร เพื่อพัฒนาและแปรรูปหม่อนร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เน้นเรื่องคนและเรื่องสัตว์ โดยมุ่งเน้นพัฒนาหม่อนให้เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัด โดย วชช. แบ่งคนจนออกไป 4 กลุ่ม อยู่ลำบาก อยู่ยาก อยู่ได้ อยู่ดี ที่เราทำ U2T คือ กลุ่มอยู่ยาก โดยทำร่วมกับ บพท. ซึ่งทำมาแล้ว 3 ปี โดยใช้ฐานข้อมูลมาช่วย เพื่อลดความซ้ำซ้อน และโครงการนี้เป็นโครงการที่เกิดจากการรวมพลังของทุกภาคส่วนจริงๆ
โครงการท่องเที่ยวชุมชนยลวิถีตำบลดงหมู (ท่องเที่ยวชุมชนเชิงศิลปวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น) ตำบลดงหมู ชุมชนนิคมเกษตรทหารผ่านศึก ซึ่งโครงการนี้ใช้วัดและนิคม เป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ตามหลัก บ ว ร (บ้าน วัด โรงเรียน) โดยอยู่ภายใต้โครงการ u2t เฟส 2 และวชช.ได้เล็งเห็นความเข้มแข็งของชุมชนจึงตัองการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืนจึงได้ดำเนินการต่อภายใต้งบประมาณปี 2566 โดยใช้ทุนทางสังคมมีท้องถิ่นเป็นกำลังสำคัญ เป้าหมายคือทำให้การท่องเที่ยวดงหมูเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายภายในปี 2568 เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว "แก่งกะเบา" ในจังหวัด ให้เกิดการพัฒนาและเกิดเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดมุกดาหาร ให้ชุมชนมีรายได้อันเกิดจากการท่องเที่ยว และเพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง มีความสามัคคีรักใคร่ปรองดองกันต่อไป และสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งมีศิษย์เก่า วชช. ในพื้นที่จะเป็นกำลังสนับสนุนอีกด้วย
และโครงการจัดการความรู้ภูมิปัญญาทางการตลาดของชุมชนผู้สูงอายุในจังหวัดมุกดาหาร (KME : สินค้าสูงวัย) ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
ซึ่ง"โรงเรียนโฮมสุขผู้สูงอายุ" เป็นจุดเด่นของจังหวัดเน้น "สุขภาพดี มีความสุข สนุกกับการฝึกอาชีพ" โดยวชช.ได้เริ่มต้น โรงเรียนนี้ขึ้น และพัฒนาหลักสูตรโดยใช้โจทย์ที่ขึ้นอยู่กับความต้องการของชุมชนว่าต้องการอะไร ทำเชิงรุกไปในหมู่บ้านต่างๆ จำนวน 13 หมู่บ้าน ตั้งเป็นคณะทำงาน ทำเป็นเครือข่ายโดย ววช.เป็นผู้นำร่วมกับทางเทศบาทและจังหวัด โดยเบื้องต้นไม่ได้มีงบประมาณ ใช้ศาลาของวัดในหมู่บ้านต่างๆ เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนหมุนเวียนกันไป และประสานงานไปยังปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้เชี่ยวชาญในการส่งเสริมอาชีพแต่ละด้าน ส่งเสริมทำกิจกรรมตามประเพณีต่างๆ กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งหลักสูตรการจัดการความรู้ภูมิปัญญาการตลาด ส่งเสริมเรื่องผู้สูงอายุ โดยในมุกดาหารมีผู้สูงอายุถึง 15% โดยไม่ได้มองแค่มุมมองทางสังคม แต่มองมิติด้านการตลาดด้วย ซึ่งเป็นโจทย์ที่ วชช.ทำในพันธกิจการบริการวิชาการ และการวิจัย
รศ.สิตา ทิสาดลดิลก รองผู้อำนวยการสถาบันวิทยาลัยชุมชน ได้กล่าวในงานนี้ การทำงานร่วมกับพื้นที่เป็นภารกิจหนึ่งของ ที่ถือเป็นจุดแข็งของ วชช. รวมถึงต้องขอชื่นชมการทำวิจัยแบบพุ่งเป้าแก้ไขปัญหาความยากจน ขอฝากเรื่องการออกแบบคิดหลักสูตรใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์พื้นที่ของวิทยาลัยที่สามารถทำได้เลย ไม่ต้องรอส่วนกลาง
ด้าน นายศศิพงษา จันทรสาขา ผอ.วชช.มุกดาหาร ได้กล่าวว่า มุกดาหารแต่ละอำเภอไม่ไกลกัน ซึ่งโครงการ U2T เรารับมา 37 ตำบล ทั้งไปที่มีบุคลากรแค่ 39 คน เพราะตั้งใจทำ U2T เป็นโครงการที่ลงสู่ชุมชนจริงๆ อยากจะร้อยเรียงประเพณีมุกดาหารให้เชื่อมโยงกับนครพนมและสกลนคร โดยสร้างสตอรี่ มหัศจรรย์มุกดาหาร ตั้งแต่เข้าพรรษาจนออกพรรษา ธุงอีสานก็เป็นสิ่งสำคัญของที่นี่ และต้องทำต่อเนื่องเป็นระยะยาว ทำให้เข็มแข็ง สำคัญที่สุดคือชุมชน ชุมชนต้องเตรียมผลิตภัณฑ์ ช่วยกันผลิตให้เกิดรายได้ จุดแข็งที่นี่คือความสามัคคี ความกลมเกลียวของคนในชุมชน ต้องการความช่วยเหลือจาก อว.อีกหลายเรื่อง เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วย
ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้ทาง ทปษ รมว.อว. ได้กล่าวชื่นชม วชช.มุกดาหารที่เป็นตัวกลางในการบูรณการกับหน่วยงานอื่นๆในจังหวัด และยังทำเรื่องการวิจัยที่ไม่อยู่บนหิ้ง ร่วมกับพื้นที่อย่างดีเป็นรูปธรรม อย่างเช่นโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นตัวอย่างที่ตอบโจทย์มาก นอกจากจะช่วยให้คนสูงอายุเห็นคุณค่าในตัวเองแล้ว ยังมองในมุมด้านเศรษฐกิจ สร้างรายได้ และยังพาไปสัญจรเพื่อไปดูผู้สูงอายุที่อื่นๆ พร้อมหยิบยกสิ่งที่ดีๆ มาทำเป็นหลักสูตรให้กับผู้สูงอายุ และนี่ถือเป็นความร่วมมือกับท้องถิ่นที่เข้มแข็ง และฝาก วชช.เผยแพร่สิ่งนี้เพื่อเป็นต้นแบบไปยังพื้นที่อื่นๆ ด้วย รวมถึงพยายามดึงปราชญ์ชาวบ้านและศิษย์เก่าในพื้นที่มาช่วย ทั้งนี้ กระทรวงจะช่วยเรื่องความร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัด อว. ที่มีความเชี่ยวชาญและสรรพกำลังที่จะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยพัฒนา ส่งเสริม และเติมเต็มในส่วนที่ทำได้ และขอรับปัญหาที่ วชช.ฝากไว้ไปเสนอเชิงนโยบายต่อไป
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรชิตา รุกขชาติ
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3972 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.