กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

สวทช. 3 ทศวรรษ งานวิจัยด้านเกษตรและอาหาร ความรู้ ความเชี่ยวชาญ สู่ความยั่งยืน

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
11 ก.พ. 2564

1

          ณ ห้องแถลงข่าว อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.): ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำทีมผู้บริหารศูนย์วิจัยแห่งชาติ ประกอบด้วย ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และ ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) แถลงข่าวงาน NSTDA Beyond Limits: 3 Decades of Impacts (3 ทศวรรษ แห่งความต่อเนื่อง ความสำคัญและผลกระทบ)

2

         Episode 1 : เกษตรและอาหาร นำเสนอภาพรวมผลงานวิจัยเด่นด้านเกษตรและอาหารที่ สวทช. มุ่งมั่นสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนประเทศชาติมาตลอด 30 ปี ขณะเดียวกันพร้อมสานต่อนำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่สั่งสมมาต่อยอดสร้างนวัตกรรมหนุนเสริมภาคชุมชนและอุตสาหกรรม เพื่อสร้างเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างมั่นคง ประชาชนอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน

         ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2534 เพื่อเป็นหน่วยงานของรัฐที่ศึกษาวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนประเทศ ซึ่งในปี 2564 ถือเป็นการก้าวเข้าสู่ปีที่ 30 ของ สวทช. โดยในงานแถลงข่าวครั้งนี้เป็นการสรุปถึงภาพรวมผลงานวิจัยเด่นด้านเกษตรและอาหาร ที่มุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างยั่งยืนทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ รวมถึงการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันควบคู่ไปกับการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม

         “สวทช. มุ่งเป้าวิจัยกลุ่มพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น ข้าว มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น อีกทั้งยังรับมือกับภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งทนทานต่อโรคและแมลง ซึ่งมีข้าวหลายสายพันธุ์ได้รับการรับรองเป็นพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร เช่น ข้าวเจ้าพันธุ์หอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิรินต้านทานโรคไหม้ ข้าวเหนียวพันธุ์น่าน 59 ต้านทานโรคไหม้และขอบใบแห้ง ส่วนพันธุ์ข้าวที่ได้รับรองจากรมการข้าว เช่น ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 51 ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 73 นอกจากนี้ สวทช. ยังพัฒนาพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง เช่น ข้าวเจ้าพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ ข้าวเจ้าพันธุ์สินเหล็ก ซึ่งได้รับรองพันธุ์พืชใหม่จากกรมวิชาการเกษตรแล้วทั้ง 2 สายพันธุ์

4

         สำหรับการพัฒนาระบบบริหารจัดการการผลิตข้าว ได้มีการจัดทำฐานข้อมูลทางพันธุกรรมและลักษณะเด่นของสายพันธุ์ข้าวไทย 250 สายพันธุ์ โมบายแอปพลิเคชันตรวจวินิจฉัย 12 โรคสำคัญในข้าว รวมทั้งมีการใช้ระบบจัดการงานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชในระดับภูมิภาคอาเซียน

         มันสำปะหลัง มีการพัฒนาสายพันธุ์พิรุณ 1, 2 และ 4 พันธุ์เกษตรศาสตร์ 72 ซึ่งโดยรวมมีลักษณะเด่นที่ให้แป้งสูงและปริมาณไซยาไนด์ต่ำ ในด้านการแปรรูปได้พัฒนาฟลาวมันสำปะหลังไซยาไนด์ต่ำปราศจากกลูเตนสำหรับทำเบเกอรี่และขนมปัง ถุงพลาสติกสลายตัวได้จากมันสำปะหลังสำหรับใช้แยกขยะอินทรีย์ ที่สำคัญในช่วงที่ประเทศไทยเผชิญปัญหาการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง สวทช. ได้นำเทคโนโลยีตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลังด้วยเทคนิคอีไลซา (ELISA) และการผลิตท่อนพันธุ์มันปลอดโรคใบด่างฯ ไปช่วยกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรในการคัดกรองท่อนพันธุ์มันสำปะหลังปลอดโรค

5

         ขณะที่ อ้อย มีการวิจัยค้นพบเครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกสายพันธุ์อ้อยที่มีพันธุกรรมหวาน พร้อมทั้งพัฒนาพันธุ์อ้อยพันธุ์ภูเขียว 2 และภูเขียว 3 อ้อยพันธุ์ดีที่มีความหวานและผลผลิตสูง ซึ่งได้รับการรับรองเป็นพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร ในด้านการผลิตมีการพัฒนาโมเดลการจัดการเกษตรแปลงใหญ่สำหรับอ้อยโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงชุดตรวจ Dextran ปนเปื้อนในกระบวนการผลิตน้ำตาล เพื่อช่วยลดการสูญเสียน้ำตาลในกระบวนการผลิต สำหรับ ยางพารา สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำยางตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เช่น เทคโนโลยีที่ช่วยรักษาสภาพน้ำยางไม่ให้เน่าเสีย การใช้สารทดแทนแอมโมเนียที่เป็นอันตราย รวมถึงการพัฒนาน้ำยางดิบเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ”

         ดร.ณรงค์ กล่าวต่อว่า สำหรับ ด้านอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สวทช. วิจัยปรับปรุงพัฒนาพันธุ์และเมล็ดพันธุ์พืช เช่น พันธุ์พริกเผ็ด พันธุ์มะเขือเทศรับประทานสด พันธุ์มะเขือเทศสแน็กสลิมต้านทานโรคใบหงิกเหลือง อีกทั้งยังจัดทำโครงการพัฒนาทักษะผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ รวมถึงการสร้างความเข้มแข็ง อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ โดยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาพันธุ์ เพิ่มการส่งออกขึ้นประมาณ 10% ต่อปี

6

         “นอกจากนี้เทคโนโลยีด้านการเกษตร สวทช. ได้คิดค้นพัฒนาชุดตรวจทางการเกษตร จำนวนมาก เช่น PlantSmart ชุดตรวจหาเชื้อก่อโรคในพืช ด้วยเทคนิค ELISA ชุดตรวจโรคผลเน่าแบคทีเรียของพืชตระกูลแตง การพัฒนาชีวภัณฑ์ทดแทนสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น โปรตีน VipPro กำจัดหนอนกระทู้หอมและหนอนกระทู้ผัก ราบิวเวอเรีย สำหรับปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยแป้ง และ ไวรัส NPV กำจัดหนอนศัตรูพืช ส่วนด้านเกษตรสมัยใหม่ ได้ส่งเสริมให้เกษตรนำระบบดิจิทัลเข้ามาวางแผนระบบเกษตรในภาพรวม อาทิ TAMIS ระบบขึ้นทะเบียนเกษตรกร Agri-Map ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการจัดการเชิงรุก Powered by What2Grow และ FAARMis ระบบขึ้นทะเบียนเกษตรกรอิเล็กทรอนิกส์”

         ดร.ณรงค์ กล่าวว่า ในด้านอาหารและอาหารสัตว์ สวทช. วิจัยและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารที่หลากหลายในระบบอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ ตัวอย่างอาหารคน เช่น เทคโนโลยีการเร่งการหมักน้ำปลาด้วยเอนไซม์ การพัฒนาต้นเชื้อสำหรับหมักแหนม ผักกาดดอง และน้ำส้มผลไม้ เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพดี มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มโปรตีนสูง ไส้กรอกไขมันต่ำ ผลิตภัณฑ์ไข่เหลวพาสเจอร์ไรซ์ ขนมปังปราศจากกลูเตน ส่วนอาหารสัตว์ มีทั้งการพัฒนาอาหารสัตว์หมักและจุลินทรีย์สำหรับอาหารสัตว์ นวัตกรรมสารดูดจับชีวพิษเชื้อราในอาหารสัตว์ ไข่ออกแบบได้ Pentozyme เอนไซม์ประสิทธิภาพสูงสำหรับสัตว์ อีกทั้งยังมีการตั้งโรงงานผลิตเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพแห่งแรกในประเทศไทยเพื่อผลิตเชื้อจุลินทรีย์และอาหารสัตว์หมักชีวภาพในระดับอุตสาหกรรมด้วย

7

พัฒนาสายพันธุ์ข้าว-วิจัย ‘สารสำคัญ’ ยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

         ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. กล่าวว่า ในปี 2564 ทางไบโอเทคยังคงให้ความสำคัญกับงานวิจัยทางด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยในด้านเกษตรกรรมนั้น ไบโอเทคมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจสำคัญอย่างข้าว เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกร เช่น ข้าวเหนียวพันธุ์หอมนาคา ข้าวเจ้าพันธุ์หอมจินดา ข้าวเจ้าพันธุ์ธัญญา 6401 โดยไบโอเทคมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในการปลูกทดสอบในแปลงและประเมินความพึงพอใจร่วมกับเกษตรกร ซึ่งเป็นโมเดลการทำงานที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการคัดเลือกข้าวพันธุ์ดี ที่เหมาะสม เพื่อนำไปขยายผลการปลูกในพื้นที่ต่อไป นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศพันธุ์ใหม่ คือ พันธุ์แดงโกเมน และพันธุ์ซันไชน์ ซึ่งเป็นมะเขือเทศเชอรี่ หวานกรอบ ผลดก ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง ให้ผลผลิตสูง ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชกับกรมวิชาการเรียบร้อยแล้ว โดยมีการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการถ่ายทอดพันธุ์ให้แก่บริษัทเมล็ดพันธุ์เพื่อนำไปต่อยอดในเชิงการค้า และถ่ายทอดพันธุ์ให้แก่เกษตรกร เพื่อใช้ในการผลิตผลสดต่อไป

8

         “ในปี 2563 ที่ผ่านมา นักวิจัยไบโอเทคค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลก (new species) มากกว่า 47 สายพันธุ์ แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีการพบใหม่ก็จะมีการรวบรวมและเก็บรักษาไว้ที่คลังจุลินทรีย์ของไบโอเทค ที่ปัจจุบันมีมากถึง 90,000 สายพันธุ์ โดยจุลินทรีย์เหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายทั้งด้านเกษตรและอาหาร เช่น การพัฒนาสารชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช ซึ่งไบโอเทคมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตราบิวเวอเรีย และราเมทาไรเซียมให้แก่ภาคเอกชน อีกทั้งยังมีการขยายผลไปสู่ภาคเกษตรกรเพิ่มเติม ทำให้เกษตรกรสามารถผลิตเชื้อรากำจัดแมลงใช้ในพื้นที่ได้ด้วยตนเอง ปัจจุบันทางไบโอเทคกำลังวิจัยและพัฒนาสารชีวภัณฑ์ชนิดใหม่เพิ่มเติม

         เช่น รากำจัดไส้เดือนฝอยรากปม ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชสำคัญของพืชเศรษฐกิจหลายชนิด สารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชที่ไม่เป็นอันตรายต่อพืชปลูก เพื่อทดแทนสารเคมีที่ถูกระงับใช้และการนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศ

9

         ดร.วรรณพ กล่าวต่อไปว่า สำหรับด้านอุตสาหกรรมอาหาร ไบโอเทค มีการทำงานร่วมกับภาคเอกชน ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่ภาคเอกชนมากมาย อาทิ ผลิตภัณฑ์ eLysozyme ชนิดใหม่สำหรับอุตสาหกรรมอาหารกุ้ง โดยทำงานร่วมกับ บริษัทโอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด และบริษัทดีเอ็มเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตภัณฑ์เบตากลูแคนและยีสต์โพรไบโอติกสำหรับปศุสัตว์ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่บริษัทเอเชียสตาร์ เทรด จำกัด ผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมัก (น้ำมังคุด น้ำสับปะรด น้ำตาลมะพร้าว กระเทียมดำ) โดยทำงานร่วมกับ บริษัทเอแอนพี ออร์ชาร์ด 1959 จำกัด บริษัทซินอาบริว จำกัด บริษัทไทยอุดมอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด บริษัทนพดาโปรดักส์ จำกัด และผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกใหม่จากเห็ด ซึ่งทำงานร่วมกับกลุ่มน้ำตาลไทยรุ่งเรือง (น้ำตาลลิน) เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดการลงทุนรวมกว่า 180 ล้านบาท สามารถสร้างรายได้ตลอดจนลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก

10

สร้างมูลค่า ‘ยางพารา’ จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ยกระดับผลิตภัณฑ์ยางสู่มาตรฐานสากล

ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช.

         กล่าวว่า เอ็มเทคให้ความสำคัญกับการพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อให้เกิดการนำไปใช้งานจริงและก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคม โดยทำงานร่วมกับพันธมิตรที่มีบทบาทในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ยางพารา พืชเศรษฐกิจของประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงและมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG Economy Model ทั้งนี้เป้าหมายของการวิจัยด้านยางพาราของเอ็มเทค สวทช. คือการยกระดับภาคการผลิต เพื่อช่วยเกษตรกรและอุตสาหกรรมในระดับต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สร้างผลงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท

11

         “เริ่มจากน้ำยางสดและน้ำยางข้นที่ใช้เทคโนโลยีสารต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ สารรักษาสภาพน้ำยางสดเพื่อการแปรรูปยางแผ่น ช่วยลดมลพิษตกค้างในพื้นที่สวนยางกว่า 3,700 ไร่ น้ำยางข้นสำหรับผสมกับแอสฟัลต์ซีเมนต์เพื่อทำถนน ทดแทนการใช้น้ำยางข้นทางการค้า มีการนำไปใช้ทำถนนลาดยางกว่า 4,610 กิโลเมตรใน 73 จังหวัดทั่วประเทศ การนำกลับเนื้อยางจากของเหลือทิ้งและ by product ในอุตสาหกรรมน้ำยางข้นกลับมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและเป็นการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่โรงงานน้ำยางข้นเพื่อให้อุตสาหกรรมน้ำยางข้นของไทยเป็นอุตสาหกรรม Zero Rubber Waste จนถึงระดับผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในงานวิศวกรรมหรือใช้ในอุตสาหกรรม โดยการพัฒนาสูตรยางสำหรับผลิตภัณฑ์ยางที่มีคุณภาพสูงให้มีสมบัติตามความต้องการของอุตสาหกรรม ผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดตามมาตรฐานด้วยต้นทุนในการผลิตที่สามารถแข่งขันได้ และช่วยแก้ปัญหาให้อุตสาหกรรมกว่า 50 บริษัท”

12

         สำหรับในปี 2564 มีงานวิจัยที่อยู่ในขั้นตอนการทดสอบระดับอุตสาหกรรมและพร้อมส่งมอบ ได้แก่ สารช่วยให้น้ำยางจับตัว ช่วยลดปัญหาเรื่องกลิ่น ทำเป็นยางก้อนถ้วยที่มีสมบัติเทียบเท่าเดิมและต้นทุนราคาที่ไม่เพิ่มขึ้น การลดปริมาณโปรตีนในถุงมือยางโดยร่วมมือกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เพื่อขยายโอกาสการเปิดตลาดของอุตสาหกรรมถุงมือยางธรรมชาติของไทย และผลิตภัณฑ์ยางรูปแบบใหม่เพื่อการเล่นและการเรียนรู้ อย่างไรก็ตามกระบวนการผลิตยางตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำนั้น ต้องตระหนักถึงการสร้างมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ทีมวิจัยเอ็มเทคจึงได้เตรียมพัฒนากระบวนการผลิตยางแบบใหม่ ที่เรียกว่า “มาสเตอร์แบตช์ (Masterbatch) ยางธรรมชาติผสมสารตัวเติมด้วยกระบวนการแบบต่อเนื่อง เพื่อรองรับการผลิตยาง ตลอดจนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการไทยให้เป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในและต่างประเทศด้วย

12

นาโนเทค ’64 ชูเทคโนโลยีคีเลชัน ตอบโจทย์ความมั่นคงทางด้านเกษตรและอาหารของประเทศ

         ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. กล่าวว่า ทิศทางการเดินหน้าของนาโนเทคในปี 2564 ด้านเกษตรและอาหาร จะมุ่งเน้นเทคโนโลยีหลักอย่างเทคโนโลยีคีเลชัน (Chelation Technology) ผนวกกับศาสตร์ด้านนาโนเคมีและการวิเคราะห์ขั้นสูง นำไปสู่นวัตกรรมไทยที่ตอบโจทย์การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของไม้ผลเศรษฐกิจ เช่น ทุเรียน มะม่วง และตอบความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เพื่อความยั่งยืนของประเทศตามแนวทางเศรษฐกิจแบบ BCG โดยผลงานสำคัญ ได้แก่ ปุ๋ยคีเลตของกรดอะมิโนธาตุอาหารเสริมสำหรับพืชเศรษฐกิจด้วยการฉีดพ่นทางใบ ที่มีจุดเด่นเรื่องเพิ่มการดูดซึม เร่งการเจริญเติบโตของพืช เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมลดค่าใช้จ่ายจากการสูญเสียธาตุอาหารทางดิน และธาตุอาหารเสริมอะมิโนคีเลตสำหรับสัตว์เศรษฐกิจ โดยวิจัยพัฒนาต้นแบบสูตรธาตุคีเลตรวมคุณภาพสูงแบบจำเพาะ ที่สามารถพัฒนาให้เหมาะกับสัตว์เศรษฐกิจแต่ละประเภท เช่น สุกร ไก่ไข่ และโคนม ตอบความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในการเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น สุกร ที่มีมูลค่าการส่งออกสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรกว่า 24,000 ล้านบาท

13

         นอกจากนี้ในปี 2564 นาโนเทคและกลุ่มน้ำตาลมิตรผล จะร่วมกันขยายผลการใช้ประโยชน์ชุดตรวจการเจือปนของเด็กซ์แทรนความไวสูงด้วยเทคโนโลยีนาโนเซนเซอร์ ในกระบวนการผลิตน้ำตาลเพื่อลดการสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตในโรงงานน้ำตาลทั้งหมด 7 แห่งทั่วประเทศ

         ความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาด้านเกษตรและอาหารโดยนาโนเทคโนโลยีที่นาโนเทค วางเป้าหมายไว้คือ การสนับสนุนเพื่อยกระดับการผลิตอาหารจากพืชและสัตว์เศรษฐกิจไทย สร้างนวัตกรรม ปุ๋ย อาหารสัตว์คุณภาพสูง เพื่อใช้ในประเทศ ลดการนำเข้าวัตถุดิบราคาสูงดังเช่น ปุ๋ยหรือธาตุอาหารเสริมที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศแทบทั้งสิ้น

14

ขับเคลื่อนสมาร์ทฟาร์ม ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยด้วยเทคโนโลยี

         ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. กล่าวถึงผลงานในปี 2563 เฉพาะในด้าน Smart Farm ว่า “เนคเทค สวทช. มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือ เพื่อใช้เดินหน้าขับเคลื่อน Smart Farm สู่สังคมไทย สร้างระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร สนับสนุนการเกษตรสมัยใหม่ นำเทคโนโลยีเซนเซอร์ร่วมกับ IoT และ AI เข้ามาช่วยในกระบวนการเพาะปลูก ช่วยให้เกษตรกรสามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมในการปลูกตั้งแต่ต้น ส่งผลต่อการควบคุมคุณภาพและประเมินปริมาณผลผลิต อาทิ ระบบอัจฉริยะเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ( AQUA GROW) ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ระบบแนะนำสำรับอาหารกลางวันสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ (Thai School Lunch) ภายในแนวคิด Farm to School ระบบเกษตรแม่นยำฟาร์มอัจฉริยะแบบพอเพียง (HandySense) และระบบจัดการแปลงเพาะปลูกขนาดใหญ่ (WiMaRC)

15

         ซึ่งทั้งหมดเน้นให้เกิดประโยชน์กับคนไทยในทุกระดับ มีผลสำเร็จที่เกิด เช่น Agri-Map มีผู้เข้ามาสืบค้นข้อมูลกว่า 43 ล้านครั้ง สามารถทำโมเดลทำนายผลผลิตและค่าความหวานของอ้อยโดยได้ค่าความถูกต้องถึงร้อยละ 90 Thai School Lunch มีผู้ใช้งานทั่วประเทศถึง 58,046 บัญชี ครอบคลุมโรงเรียนที่ต้องจัดหาและปรุงอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนได้ทั่วประเทศ โดยในอนาคตจะพัฒนาให้มี AI มาช่วยในการบริหารจัดการส่งผลผลิตด้านการเกษตรที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารป้อนเข้าสู่โรงเรียน เป็นต้น ด้านเทคโนโลยีแห่งอนาคต ทีมนักวิจัยเนคเทค-สวทช. มุ่งวิจัยใช้เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์มาช่วยการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพอาหารอีกด้วย”

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
วว. จับมือ มทร.ล้านนา ในโครงการบริการทดสอบผลิตภัณฑ์สนับสนุนการป้องกันโควิด-19 อว. โดย วศ.เชิญชวนไหว้บรรพบุรุษในเทศกาลตรุษจีน แบบ New Normal
  • อพวช. จับมือ เดอะ สตรีท รัชดา  ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    อพวช. จับมือ เดอะ สตรีท รัชดา จัดนิทรรศการ “Enjoy Science Careers สนุกกับอาชีพวิทย์” สร้างแรงบันดาลใ...
    19 ส.ค. 2563
    ดร.สุวิทย์ หารือกับสถาบันบัณฑิ ...
    ภาพข่าวและกิจกรรม
    ดร.สุวิทย์ หารือกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พัฒนางานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ และธรรมาภิบาลในสถาบันอุ...
    01 ก.ค. 2563
    นาโนเทค สวทช. จับมือ GPSC นำสา ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    นาโนเทค สวทช. จับมือ GPSC นำสารเคลือบนาโนสูตรพิเศษสำหรับพื้นผิวเซลล์แสงอาทิตย์หนุนเกิดศูนย์เรียนรู้ร...
    21 ม.ค. 2565
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยา ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยายผลการใช้งาน Traffy Fondue แพลตฟอร์มร้องทุกข์ผ่านปลายนิ้วไปทั่วประเทศ ...
10 พ.ค. 2568
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025 ...
ข่าวสารหน่วยงาน
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025" วันแรก ตลาดงานสุดยิ่งใหญ่แห่งปี อว.ยกทัพผู้ประกอบการทั้งในและต่างประ...
09 พ.ค. 2568
สวทช. วช. SCB ผนึกกำลังพัฒนานั ...
ข่าวสารหน่วยงาน
สวทช. วช. SCB ผนึกกำลังพัฒนานักวิทย์รุ่นเยาว์ (YSC) ต่อเนื่อง ส่งเยาวชนไทยแสดงศักยภาพ 3 เวทีวิทยาศา...
08 พ.ค. 2568

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.