กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

สอวช. ชวนรู้จัก “เศรษฐกิจหมุนเวียน” หนึ่งในโมเดลสำคัญขับเคลื่อน BCG Economy พร้อมถอดบทเรียนกับตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีใน 3 ประเทศที่ประสบความสำเร็จ

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
02 มี.ค. 2564

1

ตามที่ BCG Economy Model ถูกยกให้เป็นวาระแห่งชาติ สิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญคือการทำความเข้าใจโครงสร้างของโมเดลนี้ให้มากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต

          (ร่าง) สมุดปกขาว การพัฒนาระบบเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน: โปรแกรมปักหมุดเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมธุรกิจและเทคโนโลยี ที่จัดทำโดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สอวช.) ให้นิยาม เศรษฐกิจหมุนเวียน คือ ระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนให้ทรัพยากรในระบบการผลิตทั้งหมดสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อรับมือกับปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรในอนาคต ที่จะมีความต้องการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิตเพิ่มมากขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความต้องการสินค้าและบริการของผู้บริโภค ดังนั้น เศรษฐกิจหมุนเวียน จึงมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรใหม่ (Virgin material) ให้น้อยที่สุด การคงคุณค่าผลิตภัณฑ์ให้นานที่สุด การเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานผ่านโมเดลธุรกิจใหม่ การสร้างของเสียในปริมาณที่ต่ำที่สุดและให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ (Secondary raw material) เช่น การเปลี่ยนของเหลือทิ้ง ให้เป็นสารมูลค่าเพิ่มสูง การใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบกำจัดขยะต้นทาง กลางทาง และปลายทาง การส่งเสริมอุตสาหกรรมรีไซเคิลวัสดุที่สำคัญ การส่งเสริมการออกแบบผลิตภัณฑ์และรูปแบบธุรกิจที่เอื้อต่อระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสร้างความสมดุลในการดึงทรัพยากรธรรมชาติมาใช้งานใหม่ ควบคู่ไปกับการสร้างระบบและการออกแบบที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบภายนอก (externalities) เชิงลบ สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการสร้างระบบเศรษฐกิจแบบนี้ คือ การออกแบบวัสดุ ผลิตภัณฑ์ ระบบ และโมเดลทางธุรกิจใหม่ที่ต้องคิดไม่เหมือนเดิมเพื่อสร้างนวัตกรรม

และก่อนที่ประเทศไทยจะนำแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ สอวช.  ได้ถอดบทเรียนโดยการนำตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีของประเทศที่นำหลักการนี้ไปใช้แล้วมาฝากกัน

ประเทศแรก คือ เนเธอแลนด์ ที่เห็นความสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียนใน 2 ประเด็น ได้แก่

1. ความจำเป็นเนื่องจากการพึ่งพาวัตถุดิบจากประเทศอื่นๆ ในขณะที่ความต้องการวัตถุดิบต่างๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

2. โอกาสทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

         เนเธอร์แลนด์ได้เริ่มศึกษานโยบายระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนตั้งแต่ปี 2556 และพบว่าระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนจะช่วยสร้างงาน 54,000 ตำแหน่ง และสร้างรายได้ 7,300 ล้านยูโร รวมทั้งสร้างโอกาสให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน จากองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ต่อมาในปี 2559 คณะรัฐมนตรีของเนเธอแลนด์ได้ประกาศนโยบายระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยกำหนดเป้าหมายแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกตั้งเป้าลดปริมาณการใช้วัตถุดิบขั้นต้นให้ได้ร้อยละ 50 ในปี 2573 และในระยะยาวตั้งเป้าให้เกิดการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่มีการปล่อยสารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้ในปี 2593

2

         โดยคณะรัฐมนตรีเนเธอแลนด์ได้จัดทำแผนการดำเนินงานที่สำคัญในช่วง 2559 – 2563 เพื่อกำหนดบทบาทของรัฐบาลในการเตรียมความพร้อมเพื่อผลักดันนโยบายระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนใน 5 ด้าน ดังนี้

ด้านกฎหมาย (Fostering registration and regulations) ปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรค์ต่อการดำเนินนโยบายระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนออก พัฒนากฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่กระตุ้นให้เกิดการคิดค้นเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ

ด้านสร้างแรงจูงใจให้ตลาด (Intelligent market incentives) กระตุ้นให้เกิดตลาดที่สอดรับกับทิศทางของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านกลไกด้านราคา และการออกระเบียบ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความต้องการในวัสดุชีวภาพ หรือสินค้าที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

ด้านการจัดหาเงินทุน (Financing) สำหรับการศึกษา วิจัย สร้างองค์ความรู้ และการศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดรูปแบบธุรกิจแบบหมุนเวียน

ด้านองค์ความรู้ และนวัตกรรม (Knowledge and Innovation) ให้ข้อมูลแก่ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในสังคม โดยพัฒนาองค์ความรู้ และการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จำเป็นต่อเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ (International Cooperation) ทำงานร่วมกับนานาชาติในการผลักดันนโยบาย และกฎหมายต่างๆ ที่สร้างเงื่อนไขด้านระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

         ในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมเศรษฐกิจหมุนเวียน รัฐบาลเนเธอแลนด์ยังได้กำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ออกเป็น 3 ระยะ โดยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ในแต่ละอุตสาหกรรมกำหนดเองว่าตนเองอยู่เฟสใดและจะมีแนวทางในการเปลี่ยนผ่าน (transition agenda) ที่เหมาะสมอย่างไร ดังนี้การใช้แบบเส้นตรง (Linear) ใช้วัตถุดิบตลอดห่วงโซ่อุปทาน แต่ใช้อย่างคุ้มค่า หรือใช้ให้น้อยลง การนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) ถ้าจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบใหม่ ให้เลือกใช้วัตถุดิบที่ก่อให้เกิดความยั่งยืน นำกลับมาใช้ใหม่ได้ การใช้แบบหมุนเวียน (Circular) สนับสนุนการพัฒนาวิธีการการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ตลอดจนการบริโภครูปแบบใหม่ที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของการใช้วัตถุดิบ โดยอุตสาหกรรมหลักที่ตั้งเป้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในช่วงแรก ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรม ได้แก่ (1) ชีวมวลและอาหาร (2) พลาสติก (3) อุตสหกรรมการผลิต (4) ภาคการก่อสร้าง (5) สินค้าอุปโภคบริโภค

         อีกหนึ่งประเทศที่นำโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในประเทศแล้ว คือ ฟินแลนด์ โดยมีเป้าหมายจะเป็นผู้นำโลกด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในปี 2568 และต้องการเป็นประเทศต้นแบบด้านการบริหารจัดการความท้าทายด้านการขาดแคลนวัตถุดิบ รวมถึงต้องการสร้างการเติบโตและโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ให้แก่ผู้ประกอบการ โดยมุ่งส่งเสริมการส่งออกสินค้าหรือบริการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนออกไปยังตลาดโลก

กลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านเชิงระบบที่สำคัญ 2 กลยุทธ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้างต้น คือ

1. สร้างตลาดสำหรับสินค้าและบริการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนขึ้นภายในประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการใช้เป็นแพลตฟอร์มการทดสอบสินค้าหรือบริการของตนเพื่อพัฒนาไปสู่การส่งออก

2. การทำเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นกระแสหลักของโลก ผ่านการจัดกิจกรรมขนาดใหญ่หรือการก่อตั้งเวทีระดับนานาชาติในเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน

โดยฟินแลนด์ได้ระบุ 5 ด้านสำคัญที่ต้องการมุ่งเน้น คือ 1) ระบบอาหารที่ยั่งยืน 2) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมป่าไม้ 3) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิต 4) การขนส่งและโลจิสติกส์ 5) กิจกรรมสนับสนุนต่างๆ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เอื้อให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ

3

การขับเคลื่อนแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1. ระดับนโยบาย เช่น การปรับปรุงกฎระเบียบ แรงจูงใจกระบวนการทำงานร่วมกัน หรือข้อริเริ่มในระดับนโยบาย

2. ระดับโครงการสำคัญ เน้นคัดเลือกโครงการที่มีผลโดยตรงและชัดเจนทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านใน Focus area นั้น ๆ ซึ่งเป็นโครงการที่มีความพร้อมเริ่มดำเนินการหรือดำเนินการอยู่แล้ว

3. ระดับโครงการนำร่อง คือโครงการที่อยู่ในขั้นเริ่มต้นของการพัฒนาและเตรียมความพร้อมสู่การขยายผล โดยฟินแลนด์ต้องการเร่งกระจายโครงการนำร่องให้มีการดำเนินงานอย่างรวดเร็ว เป็นเครื่องมือในการส่งต่อแนวปฏิบัติและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับโครงการ กระตุ้นให้เกิดการแพร่หลายของกิจกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน

ทั้งประเทศเนเธอแลนด์ และประเทศฟินแลนด์ ต่างเป็นประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรป แต่ขณะเดียวกันในทวีปเอเชียก็มีประเทศที่นำเอาโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนไปใช้แล้วเช่นกัน นั่นคือ ประเทศญี่ปุ่น

         ที่ญี่ปุ่นมีการตั้งคณะทำงาน Circular Economy Vision ภายใต้กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Economy, Trade and Industry : METI) มีตัวแทนจากภาคเอกชน และมหาวิทยาลัย เป็นองค์ประกอบหลัก มีหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลง ความท้าทายต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศ

         จากผลการศึกษาของคณะทำงาน พบว่า ประเทศญี่ปุ่นมีการสนับสนุน 3R (Reduce Reuse Recycle) มาตั้งแต่ปี 2542 จึงทำให้มีความเข้มแข็งในด้านนี้เป็นทุนเดิม อย่างไรก็ตาม 3R ในอดีต จะเน้นด้านการลดปริมาณการปล่อยของเสียที่เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่ปัจจุบันควรต่อยอดด้วยการใช้ 3R เป็นฐานในการช่วยเพิ่มมูลค่าและลดปริมาณการใช้วัตถุดิบ โดยการออกแบบให้มีความสอดคล้องกันตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก

4

จากรายงาน Circular Economy Vision 2020 ระบุทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนของญี่ปุ่นไว้ 3 แนวทาง ได้แก่

1. ปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจให้คำนึงถึงหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมากขึ้น โดยให้ธุรกิจต้นน้ำเน้นการออกแบบให้เหมาะสมตลอดทั้งวงจรชีวิต ส่วนธุรกิจปลายน้ำให้เปลี่ยนรูปแบบจากการ recycle มาเป็น resourcing นำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาแปรเป็นวัสดุคุณภาพสูงเพื่อป้อนอุตสาหกรรมต้นน้ำได้

2. สร้างการยอมรับจากตลาดและสังคม โดยการเผยแพร่ข้อมูลระดับบริษัทซึ่งดำเนินธุรกิจบนหลักการที่ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อให้ได้รับการยอมรับและดึงดูดนักลงทุน และสร้างการยอมรับจากผู้บริโภค

3. เร่งสร้างระบบหมุนเวียนที่มีความยืดหยุ่นทั้งในและต่างประเทศ โดยได้ระบุอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญและควรริเริ่มก่อนได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติก เส้นใย คาร์บอนไฟเบอร์ (CFRP) แบตเตอรี่ และแผงโซลาร์เซลล์

ข้อมูลจาก : (ร่าง) สมุดปกขาว การพัฒนาระบบเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน: โปรแกรมปักหมุดเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมธุรกิจและเทคโนโลยี

สามารถอ่าน (ร่าง) ฉบับเต็มได้ที่ : https://www.nxpo.or.th/th/report/6724/

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
วว. จัด Workshop ความเสี่ยงในการบริหารจัดการเงินทุน มุ่งช่วยให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอวช. เผย ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. ด้วยคะแนน 525 เสียง
  • ไทย ให้ทุนเยาวชน สปป.ลาว 700 ท ...
    ข่าวรัฐมนตรี
    ไทย ให้ทุนเยาวชน สปป.ลาว 700 ทุนพร้อมร่วมมือวิจัย ด้านธรรมชาติวิทยา
    01 ก.ย. 2565
    มาแล้ว!!! Research Show by Nat ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    มาแล้ว!!! Research Show by Naturalist ประจำเดือนพฤษภาคม 2567 Inside out: เผยความใน
    01 พ.ค. 2567
    รมว.อว. ประกาศนโยบาย “อว. ไม่ท ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    รมว.อว. ประกาศนโยบาย “อว. ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” พร้อมมอบรางวัล FD Awards ภายในงาน Thailand Friendly...
    20 ธ.ค. 2565
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“ศุภมาส” เดินเกมรุกจัดงาน “อว. ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เดินเกมรุกจัดงาน “อว. Job Fair 2025” ยิ่งใหญ่กลางกรุง ตลาดอาชีพเพื่ออนาคต ชูเป้าหมายเปลี่ยน...
10 พ.ค. 2568
“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยา ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยายผลการใช้งาน Traffy Fondue แพลตฟอร์มร้องทุกข์ผ่านปลายนิ้วไปทั่วประเทศ ...
10 พ.ค. 2568
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025 ...
ข่าวสารหน่วยงาน
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025" วันแรก ตลาดงานสุดยิ่งใหญ่แห่งปี อว.ยกทัพผู้ประกอบการทั้งในและต่างประ...
09 พ.ค. 2568

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.