สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับการสนับสนุนสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เปิดตัวโครงการจัดตั้งสถานีจัดการขยะชุมชนร่วมกับของเหลือทิ้งภาคการเกษตรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ระบุ “จังหวัดหนองคาย” เป็นพื้นที่ต้นแบบของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ขับเคลื่อนการจัดการขยะชุมชนที่ต้นทาง/น้ำเสีย/ผลิตพลังงานทดแทนชีวภาพ เร่งถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมแก่ ชุมชน วัด โรงเรียน สร้างความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการขยะ เปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากร สร้างรายได้ เสริมคุณภาพชีวิตชุมชน ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. ชี้แจงว่า วว. มีพันธกิจหลักในการวิจัยพัฒนาและบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมตอบสนองการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งปัญหาขยะชุมชนจัดเป็นปัญหาหนึ่งที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการแก้ไขและลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม วว. จึงได้ดำเนินงานจัดตั้ง “โครงการจัดตั้งสถานีจัดการขยะชุมชนร่วมกับของเหลือทิ้งภาคการเกษตรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน” เพื่อขับเคลื่อนการจัดการขยะชุมชนที่ต้นทาง การใช้ประโยชน์ สร้างมูลค่าเพิ่มตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน ร่วมกับการจัดการขยะชุมชน น้ำเสีย และการผลิตพลังงานทดแทนชีวภาพ ขับเคลื่อนโครงการให้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จึงต้องมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมให้กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ชุมชน วัด โรงเรียน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการขยะประเภทต่างๆ และการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากร สร้างมูลค่าเพิ่มและการนำไปใช้ประโยชน์
“ ....วันนี้ (22 มีนาคม 2564) ถือเป็นโอกาสอันดีที่ วว. ได้ลงพื้นที่ในจังหวัดหนองคาย และได้รับเกียรติจาก รองท่านผู้ว่าราชการจังหวัด (นางรนิดา เหลืองฐิติสกุล) และท่านผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (รศ.ดร. สิรี ชัยเสรี) ร่วมพิธีเปิดกิจกรรมฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ภายใต้โครงการจัดตั้งสถานีจัดการขยะชุมชนร่วมกับของเหลือทิ้งภาคการเกษตรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ณ พาร์ค แอนด์ พูล รีสอร์ท จังหวัดหนองคาย โดยมีจำนวนผู้เข้ารับการอบรมกว่า 150 คน เพื่อรับฟังการเสวนาจากผู้ทรงคุณวุฒิ การบรรยายพิเศษ รวมถึงกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ และนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์และปรับใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนให้เกิดความยั่งยืน... ในนามของ วว.ขอขอบคุณ บพข. จังหวัดหนองคาย เทศบาลตำบลหาดคำ ชุมชนตำบลหาดคำ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ได้บูรณาการความร่วมมือกันเป็นอย่างดี และมีปณิธานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาด้านการจัดการขยะชุมชน การสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างงาน สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากการเผากลางแจ้งอันเป็นสาเหตุของ PM 2.5 ได้อย่างยั่งยืน...” ผู้ว่าการ วว. กล่าวเพิ่มเติม
ดร.เรวดี อนุวัฒนา นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม วว. ชี้แจงเพิ่มเติมถึงแนวคิดของโครงการฯ ว่า วว. ได้คัดเลือกพื้นที่ที่มีขยะประมาณ 1-5 ตันต่อวัน สำหรับการจัดตั้งสถานีจัดการขยะชุมชนเพื่อคัดแยกที่ต้นทางและนำกลับมาใช้ใหม่ โดยจะนำขยะมาสร้างมูลค่าเพิ่มตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยใช้กลุ่มเป้าหมาย “บ ว ร” หรือ บ้าน-วัด-โรงเรียน เป็นกลุ่มขับเคลื่อนในการใช้นวัตกรรมในการจัดการขยะชุมชนเพื่อแปรรูปในพื้นที่ มีการเชื่อมต่อกับชุมชนที่มีรูปแบบ ธนาคารขยะ/สหกรณ์ หรือกองทุนขยะ ให้เกิดอาสาสมัครรวบรวมขยะเข้าสู่สถานี โดยใช้ Application ที่ วว. พัฒนาขึ้น จัดการในรูปแบบ “Waste for Cash” และ “Waste for Sharing” เพื่อสร้างความตระหนักและเรียนรู้ในการคัดแยกที่ต้นทาง ทั้งนี้ วว. ได้พัฒนานวัตกรรมสำหรับใช้ในโครงการ เช่น การใช้นวัตกรรมลดขนาดขยะพลาสติกหรือของเหลือทิ้งภาคการเกษตร ร่วมกับการแปรรูปที่สถานี การจัดการขยะเป็นวัตถุดิบรอบสองที่มีคุณภาพคืนกลับโรงงาน พร้อมระบบบำบัดมลพิษ เพื่อทำให้เกิดการสร้างรายได้ ร่วมกับการใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้งภาคการเกษตรและขยะพลาสติก ในการผลิตเป็นเชื้อเพลิงขยะคุณภาพสูง (RDF5) ที่ให้ค่าความร้อน 5,000 -7,500 kcal/kg สำหรับใช้ทดแทนถ่านหินและชีวมวล นอกจากนี้โครงการฯ ยังพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตอัตลักษณ์ให้แก่ท้องถิ่น อาทิ กระดาษจากตอซังหรือฟางข้าว ที่มีคุณสมบัติดูดซับคราบน้ำมันและกันมด ขยายผลสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบภาชนะหรือกระดาษรองจาน และงานหัตถกรรมดอกไม้จากกระดาษ ที่สามารถนำไปต่อยอดทำผลิตภัณฑ์อื่นๆ สำหรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน การผลิตน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยมูลไส้เดือน ระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหารและน้ำเสียเศษอาหาร ทั้งนี้กลไกที่ วว. สร้างขึ้นทำให้เกิดการพึ่งพากันในชุมชน เกิดการจัดการขยะชุมชนเพื่อคัดแยกและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ กลับคืนสู่ชุมชน ช่วยลดผลกระทบจากของเหลือทิ้งภาคการเกษตร และลดมลพิษจากการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนให้เกิดประโยชน์ ด้วยนวัตกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะชุมชนร่วมกับของเหลือทิ้งภาคการเกษตร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ผลักดันให้เกิดการขยายผลจากท้องถิ่นสู่ระดับประเทศ ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จาก วว. และหน่วยงานเครือข่าย อีกทั้งยังเป็นการขับ
ข้อมูล : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.