กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

รพ.สนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการต้นแบบ ‘บูรณาการ’ สู่การถอดบทเรียนรับมือวิกฤติโควิด-19

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
15 ต.ค. 2564

1 

          วิกฤตการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงอย่างมาก อันเนื่องมาจากจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 กลายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตาซึ่งแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว ทำให้ตัวเลขผู้ป่วยในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกกลุ่มไม่เว้นแม้แต่คนพิการ ไม่ว่าจะเป็นคนพิการทางการเห็น พิการทางการได้ยิน พิการทางการเคลื่อนไหว/ร่างกาย และพิการทางสติปัญญา ซึ่งยากต่อการเผชิญหน้ากับโรคระบาดนี้ได้เพียงลำพัง

         สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ผสานกำลังนำจุดแข็งที่เป็นความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงานทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการดูแลคนพิการ รวมถึงการรับมือโรคโควิด-19 ประกอบกับความเป็นมืออาชีพในการสนับสนุนสวัสดิการและการช่วยเหลือคนพิการมาใช้เป็นฐานทุนในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 เพื่อให้บริการคนพิการที่ป่วยโรคโควิด-19 (กลุ่มสีเขียว) ได้พักฟื้นรักษาตัว กระทั่งวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา โรงพยาบาลสนามบ้านวิทย์ฯ ได้ส่งผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 3 รายสุดท้ายกลับบ้านอย่างปลอดภัย ประกอบกับสถานการณ์การระบาดที่เริ่มคลี่คลายลง ทำให้โรงพยาบาลสนามบ้านวิทย์ฯ ได้ยุติการดำเนินงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 กันยายน

2

         ทั้งนี้ผลลัพธ์จากการดำเนินงานอย่างแข็งขันของบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนตลอดระยะเวลา 120 วัน และเกือบตลอด 24 ชั่วโมงของทุกวัน ไม่ได้เพียงช่วยให้คนพิการที่ป่วยโควิด-19 ได้รับการรักษาและหายป่วยกลับบ้านอย่างปลอดภัย ทว่าทุกบทบาทและปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลสนามบ้านวิทย์ฯ แห่งนี้ ยังกลายเป็นบทเรียนหน้าใหม่ให้แก่ทีมสหวิชาชีพทุกหน่วยงาน อันจะนำไปสู่การสร้างต้นแบบโรงพยาบาลสนามเพื่อดูแลคนพิการในยามเผชิญโรคระบาดของโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

‘สวัสดิภาพ’ เพื่อคนพิการในทุกสถานการณ์ชีวิต

3

         นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึงบทบาทของ พก. ในสถานการณ์วิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ว่า ด้วยภารกิจหลักคือการผลักดันนโยบายด้านคุณภาพชีวิตคนพิการไปสู่การปฏิบัติ ทั้งสิทธิสวัสดิการ การคุ้มครองและการช่วยเหลือเกือบทุกด้าน แต่ด้วยโควิด-19 เป็นสถานการณ์ของโรคระบาดใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น พก. จึงตั้ง ‘ทีมเรามีเรา’ ขึ้นมาเฉพาะกิจ ซึ่งประกอบด้วยนักสังคมสงเคราะห์ นักพัฒนาสังคมที่ทำหน้าที่เชิงรุกในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในการคุ้มครองดูแล เนื่องจากการรับมือกับโรคโควิด-19 จะต้องมีการดูแลร่วมกับทั้งด้านการแพทย์ ด้านสวัสดิการและสิ่งอำนวยสะดวกสำหรับคนพิการควบคู่กันไป

4

         “การบูรณาการร่วมกันของทั้ง 3 หน่วยงาน ทำให้ช่วยแบ่งเบาภาระในการทำงาน ตัวอย่างกรณีคนพิการที่เป็นผู้ป่วยโควิด-19 ทาง พก. พบว่ามีคุณพ่อติดโควิด-19 แต่ลูกซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตายังไม่พบเชื้อ และต้องอยู่บ้านคนเดียว เพราะคุณแม่เสียชีวิตไปแล้ว ต่อมาน้องคนดังกล่าวได้ตรวจพบเชื้อ ทาง พก.ประสานงานร่วมกับทีมแพทย์สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ เพื่อประสานให้น้องได้มารักษาที่โรงพยาบาลสนามบ้านวิทย์ฯ อีกทั้งทีมแพทย์ยังประสานนำคุณพ่อมารักษาต่อที่โรงพยาบาลสนามบ้านวิทย์ฯ ทำให้ผู้พิการทางสายตาได้รู้สึกอบอุ่นทางใจที่ได้อยู่ใกล้กับคนที่คุ้นเคย ที่สำคัญพื้นที่นี้ยังมีนวัตกรรมช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทุกประเภท ทั้งอุปกรณ์ลดความเสี่ยงในการสัมผัสเพื่อเลี่ยงการติดเชื้อ และเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสมอย่างครบถ้วน ซึ่งการมีโรงพยาบาลสนามบ้านวิทย์ฯ ตอบโจทย์ทั้งการบริการคนพิการและทำให้ระบบสาธารณสุขประหยัดทรัพยากรได้มาก” นางสาวสราญภัทร กล่าว

         อย่างไรก็ตามแม้ว่าโรงพยาบาลสนามบ้านวิทย์ฯ จะหยุดดำเนินการในเดือนกันยายนนี้ แต่ ‘ทีมเรามีเรา’ของ พก. ยังคงเดินหน้าภารกิจช่วยเหลือคนพิการในสถานการณ์โควิด-19 อย่างต่อเนื่อง รวมถึงยังมีโรงพยาบาลสนามราชานุกูล ซึ่งดูแลเฉพาะสำหรับกลุ่มคนพิการออทิสติกด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ รวมถึงคนในครอบครัว นอกจากยังนี้ยังมีระบบกักแยกผู้ป่วยในชุมชน (Community Isolation) ของกลุ่มคนพิการทางเห็น ซึ่งสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยและโรงเรียนสอนคนตาบอดยังเปิดรับคนตาบอดและครอบครัวที่ป่วยโรคโควิด-19 บริหารจัดการโดยโรงพยาบาลรามาธิบดี

‘นวัตรรมวิจัย’ สู้โควิด-19 สู่ความมั่นคงด้านการแพทย์

5

         ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า เดิมบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ฝึกทักษะและพัฒนาศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่ง สวทช. ให้บริการสำหรับเด็กและเยาวชนผู้มีความสนใจและมีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทว่าเมื่อเกิดการระบาดโควิด-19 อย่างต่อเนื่องและมีผู้ป่วยจำนวนมาก การเปลี่ยนพื้นที่เป็นโรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อจัดหาสถานที่ที่เหมาะสมกับคนพิการให้ได้ใช้ชีวิตอย่างสะดวกระหว่างพักรักษาตัว ทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้ศักยภาพของพื้นที่และนวัตกรรมวิจัยต่างๆ ในภารกิจช่วยเหลือชีวิตคนพิการอย่างมีประสิทธิผล เพื่อให้คนพิการเหล่านี้ได้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ในระบบสาธารณสุขอย่างทั่วถึง

6

         “เราปรับปรุงพื้นที่เพิ่มเติมตามที่บุคลากรทางการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแนะนำ ตั้งแต่ทางเดิน ห้องน้ำ ระบบบริการล่ามทางไกลสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ซึ่งเป็นบริการล่ามภาษามือทางไกลที่ทำให้เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลสนามบ้านวิทย์ฯ (คนหูปกติ) สามารถสื่อสารกับคนพิการทางการได้ยิน ผ่านอุปกรณ์สื่อสารที่จัดเตรียมไว้ที่โรงพยาบาลสนาม รวมทั้งมีผลงานวิจัยซึ่งพัฒนาโดยทีมวิจัย สวทช. เช่น เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลแบบเคลื่อนที่ได้ (BodiiRay M) อุปกรณ์ป้องกันและฆ่าเชื้อโรค เช่น หน้ากากอนามัย Safie Plus และ หน้ากาก N95 n-Breeze เครื่องกำจัดเชื้อโรคด้วยแสงยูวีซี (Girm Zaber UV-C Sterilizer) แบบ Robot และแบบ Station  รถส่งของบังคับทางไกล ‘อารี’ และหุ่นยนต์ส่งของ ‘ปิ่นโต2’ (กรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้ามาร่วมสนับสนุน)

7

         หมวกแรงดันลบและแรงดันบวก nSPHERE เปลแรงดันลบเคลื่อนย้ายผู้ป่วย PETE เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนั้นแล้ว สวทช. ยังได้นำซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า ระบบติดตามสุขภาพผู้ป่วยทางไกล สำหรับโรงพยาบาลสนาม (A-MED Telehealth) เพื่อให้เกิดการสื่อสารสองทางระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ในโรงพยาบาลสนามและแพลตฟอร์มดังกล่าวใช้งานได้ดี จึงนำไปบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 ที่แยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) เหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นถึงการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคนไทยเข้าไปช่วยดูแลผู้ป่วยและช่วยอำนวยความสะดวกกับบุคลากรทางการแพทย์อย่างสมบูรณ์

         วิกฤติโควิด-19 สวทช. ได้นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้รับมืออย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็ยังพัฒนาสารตั้งต้นในการผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ที่ใช้รักษาโควิด-19 และยังมีวัคซีนอีก 2 ชนิดที่กำลังอยู่ในเฟสการเตรียมการทดลองในมนุษย์ ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นได้เพียงชั่วข้ามคืน แต่เป็นการวางแผน การสั่งสมองค์ความรู้ความสามารถเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ดังเช่น การระบาดของโควิด-19”

8

         ดร.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า วิกฤติโควิด-19 พิสูจน์ให้เห็นว่าองค์ความรู้เหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญมาก วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจึงเป็นการมองอนาคต ทั้งการเตรียมความพร้อม องค์ความรู้และการเข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ รวมถึงความพร้อมด้านเครือข่ายการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นอาวุธลับสำคัญที่ทำให้เราสามารถติดตามพัฒนาการต่างๆ ของโรคระบาด อุปกรณ์ป้องกันโรค รวมทั้งยาและวัคซีนได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะทำให้เราเกิดความมั่นคงด้านการแพทย์และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ต้นแบบโรงพยาบาลสนามฯ สู่องค์ความรู้รับมือโรคระบาด

9

         ด้าน พญ.บุษกร โลหารชุน รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ ในฐานะผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ กล่าวยอมรับว่า การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่มีผลกระทบต่อคนพิการและครอบครัว ดังนั้นเมื่อเกิดวิกฤติก็จะเกิดความตระหนกมากขึ้น และทีมสหวิชาชีพของสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ ตระหนักถึงประเด็นปัญหานี้ว่าจะทำอย่างไรให้คนพิการและครอบครัวเข้าถึงบริการและได้รับการดูแลอย่างปลอดภัยได้มาตรฐาน

         “หากพูดถึงสเกลการทำงานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์แล้วอาจไม่มากนัก แต่สิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ และทีมสหวิชาชีพได้นั้นคือองค์ความรู้ในการรับมือกับวิกฤติอื่นๆ ในอนาคต ซึ่งภาพรวมตลอด 4 เดือนสิ่งที่ทำอาจจะไม่ได้หนักมาก แต่สิ่งที่ได้มากกว่าคือเราได้ถอดองค์ความรู้ทั้งหมด และพร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังหน่วยงานต่างๆ หากเกิดโรคระบาดเช่นนี้อีกในอนาคต เพื่อให้คนพิการที่กระจายอยู่ทั่วประเทศได้มีโอกาสเข้าถึงการดูแลและรักษา เพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงทางด้านสวัสดิการสังคมและสุขภาพของตนเอง”

         พญ.บุษกร กล่าวต่อว่า จากการได้ดำเนินการโรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ ซึ่งถือเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจัยความสำเร็จครั้งนี้ คือความร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐทั้ง 3 หน่วยงาน ขณะเดียวกันก็มีภาคประชาสังคมจิตอาสาที่เข้มแข็งมาช่วยสนับสนุนทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่ภาครัฐไม่สามารถหาได้ในเวลาอันจำกัด นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์กรคนพิการทุกประเภทที่มีความเข้มแข็งและพยายามรวมตัวกัน เพื่อเป็นจุดสำคัญในการรับข้อร้องทุกข์ซึ่งถือเป็นตัวแทนสำคัญมากๆ ที่ทำให้คนพิการที่ด้อยโอกาสได้เข้าถึงบริการสุขภาพ

         “หากเกิดวิกฤติอีกในระลอกหน้า เราสามารถนำเอาองค์ความรู้ ความร่วมมือและปัจจัยความสำเร็จต่างๆ ก้าวข้ามวิกฤติไปได้ เพราะว่าทุกอย่างนั้นบางครั้งหากเรากลัวจนเกินไป เราจะมองไม่เห็นทางออก แต่โรงพยาบาลสนามบ้านวิทย์ฯ เราพิสูจน์มาแล้วว่า เมื่อเรามั่นใจในประสิทธิภาพและพลังของความร่วมมือจะนำพาให้เราประสบความสำเร็จ แล้วจะทำให้สิ่งที่เราวิตกหรือหวาดกลัวนั้นสิ้นสุดลงได้ เป็นการสร้างพลังรวมให้เกิดเป็นพลังหมู่และก้าวข้ามอุปสรรคไปได้ในที่สุด”

10

         ทั้งนี้โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ เปิดดำเนินการตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2564 และปิดการดำเนินการในวันที่ 30 กันยายน โดยตลอด 4 เดือน มีคนพิการติดเชื้อโควิด-19 ที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวเข้ารับการรักษาจำนวนทั้งสิ้น 650 คน ได้รับการรักษาหายป่วยกลับบ้าน 590 คน และส่งต่อไปรักษากับโรงพยาบาลขนาดใหญ่อีก 60 คน

อย่างไรก็ตามคนพิการที่เป็นผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ ยังสามารถติดต่อผ่านช่องทางต่างๆ ในการเข้ารับบริการได้ในสถานที่ปกติของหน่วยงานรัฐ ผ่านบริการศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 สายด่วน สปสช. 1330 สายด่วนคนพิการ 1479 เพื่อแจ้งว่าเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยรายใหม่และสามารถขอรับการตรวจยืนยันได้ในโรงพยาบาลใกล้บ้าน หากอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลสามารถติดต่อสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งยังให้บริการตรวจ RT-PCR และบริการการกักตัวที่บ้าน Home Isolation โดยทีมแพทย์และสหวิชาชีพเพื่อสร้างความมั่นใจแก่คนพิการในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเป็นขวัญกำลังใจบุคลากร รพ.สนามบ้านวิทย์ฯ

         พญ.บุษกร เปิดเผยด้วยว่า โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ ซึ่งเป็นต้นแบบในการบูรณาการของหน่วยงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นจนสามารถสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพแก่คนพิการได้อย่างสมบูรณ์แบบด้วยพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

         “โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานในทุกกลุ่ม นอกจากนี้ทรงพระราชทานกำลังใจในการปฏิบัติภารกิจอย่างเต็มความสามารแก่บุคลากร พระองค์ท่านได้เห็นถึงความตั้งใจของทีมทำงาน ทรงทราบถึงความทุกข์ยากของพสกนิกร และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ พระราชทานอาหาร รวมถึงมีทรงติดตามถามความคืบหน้าของการดำเนินการ ซึ่งทางสถาบันฯ ได้ถวายรายงานให้ทรงทราบเป็นระยะว่าปัจจุบันดำเนินการอย่างไร มีคนพิการกี่ราย ครอบครัวกี่รายที่ได้รับความช่วยเหลือ นำมาซึ่งความปลื้มปิติและเป็นขวัญกำลังใจแก่ทีมงานได้ปฏิบัติภารกิจสำเร็จลุล่วงด้วยความเรียบร้อยสมบูรณ์” พญ.บุษกร กล่าวทิ้งท้าย

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
อพวช.เป็นตัวแทน มอบสื่อให้ความรู้เรื่องโควิด-19 "อว.Clear & Clean โดย วศ. ลงพื้นที่ทำความสะอาดและมอบน้ำยาฆ่าเชื้อ รร.ฟ้าใสวิทยา จังหวัดนครปฐม"
  • วศ. รวบรวมคลังความรู้ COVID-19 ...
    ข่าวสารหน่วยงาน | COVID Research
    วศ. รวบรวมคลังความรู้ COVID-19 ให้บริการสืบค้นออนไลน์ อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สนใจค้นคว้าต่อยอด
    14 พ.ค. 2563
    สกสว.เร่งสื่อสารงานวิจัยและสร้ ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    สกสว.เร่งสื่อสารงานวิจัยและสร้างความเชื่อมั่น ความคุ้มค่าในการลงทุน-พร้อมแก้วิกฤตประเทศ   
    13 ก.ค. 2566
    สวทช. จับมือ บริษัท อาร์เอ็กซ์ ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    สวทช. จับมือ บริษัท อาร์เอ็กซ์ จำกัด เปิดตัว ‘นวัตกรรมรถพยาบาลแรงดันลบ’ ตอกย้ำศักยภาพด้านเครื่องมือแ...
    12 ต.ค. 2565
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“ศุภมาส” เดินเกมรุกจัดงาน “อว. ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เดินเกมรุกจัดงาน “อว. Job Fair 2025” ยิ่งใหญ่กลางกรุง ตลาดอาชีพเพื่ออนาคต ชูเป้าหมายเปลี่ยน...
10 พ.ค. 2568
“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยา ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยายผลการใช้งาน Traffy Fondue แพลตฟอร์มร้องทุกข์ผ่านปลายนิ้วไปทั่วประเทศ ...
10 พ.ค. 2568
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025 ...
ข่าวสารหน่วยงาน
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025" วันแรก ตลาดงานสุดยิ่งใหญ่แห่งปี อว.ยกทัพผู้ประกอบการทั้งในและต่างประ...
09 พ.ค. 2568

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.