กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

ปลดล็อคปัญหาการวิจัย “ทะเลและชายฝั่ง” ให้พร้อมใช้ และ มีผลกระทบสูง

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
21 ม.ค. 2565

1                  

           เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดย หน่วยบูรณาการเชิงประเด็นยุทธศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านสิ่งแวดล้อม (SAT : Strategic Agenda Team) หรือ SAT สิ่งแวดล้อม จัดเสวนา “ปลดล็อคการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมในประเด็นทะเลและชายฝั่ง” เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการความรู้ เชื่อมต่อการดำเนินงานกับฝ่ายนโยบาย และ แผนด้าน ววน. ให้เกิดการขับเคลื่อนการวิจัยทางด้านทะเลและชายฝั่งสู่การประโยชน์แก่ประเทศต่อไป

           โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.โสภารัตน์ จารุสมบัติ ประธาน SAT สิ่งแวดล้อม อธิบายถึงการดำเนินงาน ภายใต้การสนับสนุนของ สกสว. ว่า ที่ผ่านมา สกสว. มีความตั้งใจที่จะประสานเครือข่าย ววน. ร่วมกันขับเคลื่อน ออกแบบโจทย์ และทิศทางการวิจัย ในประเด็นต่างๆ รวมถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม โดยการจัดตั้ง SAT : Strategic Agenda Team ซึ่งมีหน้าที่ ประสานเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ติดตามสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสังเคราะห์และจัดการองค์ความรู้ ให้เกิดความเชื่อมโยงการใช้องค์ความรู้ และการขับเคลื่อนองค์ความรู้ ระหว่างองค์กรในทุกระดับ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การดำเนินงานดังกล่าวจะช่วยลดช่องว่างของการพัฒนา และการแก้ไขปัญหาแก่ประเทศไทยอย่างแท้จริง

           อย่างไรก็ดี การดำเนินงานของ SAT สิ่งแวดล้อม มีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ก็ยังต้องพัฒนาให้มีทิศททางที่สอดคล้องกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเวทีสานเสวนาในวันนี้ จะเป็นคุณูปการสำคัญ ที่จะนำไปวางกรอบทิศทางงานวิจัย และนำไปเชื่อมโยงกับฝ่ายกำหนดนโยบาย ตลอดจนการนำไปดำเนินการหาช่องทาง ลดข้อติดขัด เพิ่มจุดเชื่อมต่างๆ ให้ภาพการดำเนินการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม เป็นจิ๊กซอว์เชื่อมโยงการทำงานอย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทุกภาคส่วน ที่จะมาร่วมขับเคลื่อนและใช้องค์ความรู้ในการดำเนินงานตามพันธะกิจ ขณะเดียวกันยังสามารถกำหนดโจทย์วิจัยร่วมกัน ที่จะเสนอฝ่ายให้ทุนต่อไป

           ผู้เข้าร่วมการเสวนา ซึ่งประกอบด้วยทุกภาคส่วน ผู้แทนหน่วยราชการ อาทิ กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ฯลฯ รวมทั้งนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านทะเลและชายฝั่ง ได้สะท้อนมุมมองว่าที่ผ่านมางานวิจัยด้านนี้ถือว่ามีความก้าวหน้าในการนำไปใช้ในระดับนโยบายพอสมควร อาทิประเมินมูลค่าความเสียหายของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การพัฒนาตัวชี้วัด Ocean Health Index การวางแผนพื้นที่ทางทะเล เป็นต้น ในส่วนประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยสิ่งแวดล้อมในมิติทางทะเลและชายฝั่งที่ควรให้ความสำคัญ มีดังนี้

2

1. การส่งเสริมงานวิจัยในเชิงการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแบบบูรณาการศาสตร์และข้ามศาสตร์ต่าง ๆ เนื่องด้วยในช่วงหลายปีที่มาการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานโดยเฉพาะงานวิจัยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทยถือว่ามีความก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง ได้พัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นฐานสำคัญในทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลชายฝั่งที่เพียงพอในการประโยชน์ในเชิงรูปธรรม หากแต่ช่องว่างที่สำคัญคือ งานวิจัยยังคงมีลักษณะแบบแยกส่วน งานวิจัยด้านการบริหารจัดการที่เป็นการเชื่อมโยงและร้อยเรียงประเด็นทางทะเลเข้ากับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร วิถีชีวิต และความสามารถในการแข่งขันของประเทศนั้นถือว่ายังเป็นช่องว่างที่สำคัญ อาทิ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหารและทรัพยากรทะเลที่ส่วนสำคัญในการช่วยกำหนดขีดความสามารถในการผลิตและทิศทางในการใช้ประโยชน์ทางทะเล การวางแผนและบริหารจัดการเชิงพื้นที่ทางทะเลอย่างบูรณาการจากภาคส่วนต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ งานวิจัยในลักษณะของการบริหารจัดการทางทะเลและชายฝั่งนั้นคือว่าเป็นผสมผสานทั้งศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์อย่างแนบแน่น อาทิ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เป็นต้น มีลักษณะเป็นโจทย์วิจัยข้ามศาสตร์กันอย่างยิ่ง จึงเป็นความท้าทายต่อทั้งหน่วยงานภาครัฐและสถาบันวิจัยต่าง ๆ ที่เผชิญปัญหาในการขอรับทุนสนับสนุนกับวิจัยที่ในปัจจุบันนั้นมีการแบ่งแยกภารกิจการให้ทุนวิจัยที่มีการแยกแยะโจทย์ทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์อย่างชัดเจนจนทำให้งานทางด้านการจัดการจึงยากต่อการได้รับการสนุนทุนวิจัยจากโครงสร้างเชิงสถาบันของการบริหารทุนวิจัยเฉกเช่นในปัจจุบัน

2. ความต้องการในการบริหารงานวิจัยในลักษณะชุดโครงการและผู้จัดการงานวิจัย (Research Manager) ด้วยโจทย์ทางทะเลและชายฝั่งรวมทั้งงานด้านสิ่งแวดล้อมนั้นมีความเฉพาะเจาะจงและมีคุณลักษณะเฉพาะอย่างยิ่ง การวิจัยและพัฒนาในลักษณะโครงการเดี่ยวจึงอาจไม่สามารถสร้างพลังทางวิชาการและผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศได้อย่างเท่าทัน เนื่องจากทะเลและชายฝั่งมีความซับซ้อนสูงจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมร้อยของผู้จัดการงานวิจัยที่มี theme หรือทิศทางในเรื่องนั้น ๆ ให้สามารถขับเคลื่อนคณะทำงานที่มาจากหลายหลายศาสตร์ความรู้ให้สามารถตอบโจทย์เดียวกันได้ อาทิ การศึกษาการบริหารจัดการพื้นที่ทางทะเลในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งอาจต้องการทั้งงานวิจัยในเชิงกฎหมาย รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เพื่อสานพลังในการหาคำตอบร่วมกันได้ นอกจากนี้ การทำงานในชุดโครงการวิจัยโดยมีผู้จัดการงานวิจัยทำหน้าที่เชื่อมร้อยและทำให้งานวิจัยเสริมพลังกันและกันได้แล้วนั้น ยังมีส่วนสำคัญในการเปิดพื้นที่ให้นักวิจัยรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัยจากภาครัฐ ภาควิชาการ หรือแม้กระทั่งประชาชนทั่วไป ให้สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนางานวิจัยร่วมกันได้ เนื่องจากสถานภาพของนักวิจัยทางทะเลและชายฝั่งของไทยในปัจจุบันนั้นต้องยอมรับว่ามีความท้าทายในการขาดนักวิจัยรุ่นใหม่ที่เป็นกำลังสำคัญในอนาคต

3. การให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางทะเลและชายฝั่งที่เชื่อมโยงกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวคือ ทิศทางงานวิจัยทางทะเลและชายฝั่งซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันของไทยนั้นถือว่ายังคงขับเคลื่อนในเชิงรับอย่างมาก โจทย์วิจัยหลายส่วนนั้นถูกมองข้ามหรือเป็นประเด็นความสำคัญรองอยู่มากซึ่งแตกต่างกับแวดวงวิจัยในต่างประเทศอย่างยิ่ง อาทิ แหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon sinks) ปรากฏการณ์ทะเลกรด (Ocean Acidification) หรือการแจ้งเตือนภัยทางทะเล รวมทั้งผลกระทบจากการดำเนินนโยบายหรือมาตรการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติบนบกที่ส่งผลต่อทะเล เป็นต้น

4. ข้อจำกัดของกฎระเบียบงบประมาณและเงื่อนไขเวลาที่ไม่สอดคล้องกับผลลัพธ์ของงานวิจัยที่มีผลกระทบสูง กล่าวคือ เนื่องด้วยงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการศึกษาปรากฎการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ทางทะเลและชายฝั่งนั้นมีความจำเป็นต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลผ่านการเก็บตัวอย่าง สำรวจ หรือสังเกตพฤติกรรมของสัวต์ทะเล ซึ่งกระบวนเหล่านี้หลายครั้งแล้วไม่สามารถดำเนินให้ลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพทางวิชาการที่สูงในระยะเวลาอันสั้น กล่าวคือการศึกษาวิจัยภายใต้กรอบเวลา 1 ปีงบประมาณที่นิยมดำเนินการในปัจจุบันนั้นสามารถให้คุณค่าในทางวิชาการที่น้อยหรือไม่อาจสร้างผลกระทบขนาดใหญ่ได้เพราะนักวิจัยมีความจำเป็นต้องลดทอนขนาดของงานวิจัยให้จำกัดทั้งขอบเขตเชิงพื้นที่และขอบข่ายทางวิชาการจนนำไปสู่ผลของการศึกษาที่ไม่เพียงต่อการความต้องการของประเทศหรือแม้กระทั้งฝ่ายนโยบาย ดังนั้น การให้ความสำคัญต่อปรับปรุงกระบวนการงบประมาณให้มีความยืดหยุ่นต่อการนำไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานวิจัยและปรับเงื่อนไขเวลาของการวิจัยที่มีระยะยาวมากขึ้น (3 – 5 ปี) ผ่านการบริหารจัดการแบบชุดโครงการนั้น จะเป็นทางหนุนเสริมที่ช่วยเติมเต็มช่องว่างและปลดล็อคศักยภาพของการวิจัยและพัฒนาทางทะเลและชายฝั่งให้ก้าวกระโดดด้วยการขับเคลื่อนแบบองคายพได้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
นาโนเทค สวทช. จับมือ GPSC นำสารเคลือบนาโนสูตรพิเศษสำหรับพื้นผิวเซลล์แสงอาทิตย์หนุนเกิดศูนย์เรียนรู้ระบบพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ของ วษท.สระแก้ว สกสว. เร่งศึกษาและเปรียบเทียบความเป็นไปได้ในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย เพิ่มประสิทธิภาพการลงทุน ววน. ด้านวัคซีน
  • อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จัดพิธ ...
    ภาพข่าวและกิจกรรม
    อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จัดพิธีเปิดงาน  “SPARK STSP Innovation Fair 2019 Health and Wellness นวัตกรร...
    13 ก.ค. 2562
    วว. ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบค่า ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    วว. ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบค่าดัชนีน้ำตาลในผลิตภัณฑ์อาหาร
    15 ก.พ. 2566
    ข่าวสารหน่วยงาน
    กระทรวง อว. ร่วมสนับสนุนและสานต่อโครงการ “ เปิดโลกการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สานใจไทยสู่ใจใต้ รุ่นที่ 38
    16 เม.ย. 2564
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยา ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยายผลการใช้งาน Traffy Fondue แพลตฟอร์มร้องทุกข์ผ่านปลายนิ้วไปทั่วประเทศ ...
10 พ.ค. 2568
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025 ...
ข่าวสารหน่วยงาน
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025" วันแรก ตลาดงานสุดยิ่งใหญ่แห่งปี อว.ยกทัพผู้ประกอบการทั้งในและต่างประ...
09 พ.ค. 2568
สวทช. วช. SCB ผนึกกำลังพัฒนานั ...
ข่าวสารหน่วยงาน
สวทช. วช. SCB ผนึกกำลังพัฒนานักวิทย์รุ่นเยาว์ (YSC) ต่อเนื่อง ส่งเยาวชนไทยแสดงศักยภาพ 3 เวทีวิทยาศา...
08 พ.ค. 2568

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.