สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำโครงการสำคัญภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศ ระยะที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570” เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมทุกมิติ มีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน มุ่งบรรลุผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดไว้ เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
(21 มิถุนายน 2565) นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำโครงการสำคัญภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศ ระยะที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570” ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชัน กรุงเทพมหานคร โดยมีบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านนิวเคลียร์และรังสีจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ เข้าร่วมกว่า 70 คน ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีในการระดมความคิด ประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน และยังเป็นการจัดทำโครงการสำคัญหรือ Flagship Project เพื่อขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินงานไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ของภูมิภาคอาเซียน พร้อมยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศผ่านการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสีในหลากหลายสาขา อาทิ การเกษตร โภชนาการ สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม อุตสาหกรรม พลังงาน และอื่น ๆ
ดังนั้น เพื่อให้แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศฉบับนี้ครอบคลุมในทุกมิติ โดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาเป็นบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ ปส. จึงผลักดันให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของประเทศอย่างแท้จริง เพื่อให้แผนดังกล่าวขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โทรศัพท์ 0 2596 7600 ต่อ 4107 , 4108
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.