ดร.จรัญ ยะฝา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ มว. ประธานเปิดงานสัมมนา เรื่อง “การวัดค่า PM2.5 และ PM10 ในกลุ่มประเทศความร่วมมือโครงการแม่โขง-ล้านช้าง” จัดโดยกลุ่มงานสื่อสารองค์การ (วิเทศสัมพันธ์) สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ในฐานะผู้จัดการโครงการ “การบริหารจัดการมลพิษทางอากาศที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน และ 10 ไมครอน (PM10 and PM2.5 from Haze smog and visibility effect in Thailand)” เพื่อติดตามความก้าวหน้าร่วมกัน โดยมี นักมาตรวิทยา มว. และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศร่วมบรรยาย ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้รายงานสถานะการดำเนินกิจกรรมผ่านการประชุมออนไลน์ และออนไซต์ ณ เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ
การจัดการประชุมครั้งนี้เป็นการรายงานภาพรวมของกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และกิจกรรมที่กำลังจะดำเนินต่อไป โดยมีผู้เชี่ยวชาญ Dr.Xu Xiao จากสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ประเทศจีน (National Institute of Metrology (NIM), China บรรยายภาพรวมของการตรวจวัด PM2.5 และ PM10 และการตรวจสอบย้อนกลับในประเทศจีน จากนั้นเป็นการบรรยายในเรื่องการวัดขนาดอนุภาคและความเข้มข้นของจำนวนอนุภาคในอากาศโดย Mr. Liu Junjie จากสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (NIM) ประเทศจีน (NIM), China รวมทั้งหัวข้อ เครื่องวัดละอองลอย เครื่องนับอนุภาคควบแน่น และวัสดุอ้างอิงขนาดอนุภาค และความสามารถในการติดตามการตรวจวัด PM2.5 และ PM10 โดย Dr.Xu Xiao สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (NIM) ประเทศจีน รวมทั้งหัวข้อ separator efficiency gravimetric method ส่วนประกอบทางเคมี การสอบเทียบตัวอย่างและอุปกรณ์ตรวจสอบ ในภาคบ่ายจะเป็นการบรรยายเรื่องการพัฒนาความสามารถในการตรวจวัด PM2.5 และ PM10 ในประเทศไทยและแผนในอนาคต เริ่มด้วยหัวข้อ การสอบเทียบเครื่องมือวัด PM2.5 บรรยายโดย ดร.พัชรพล กอกิตรัตนกุล นักมาตรวิทยา ตามด้วยหัวข้อ การรักษาห่วงโซ่การสอบย้อนกลับของ PM2.5 บรรยายโดย ดร.เทอดศักดิ์ เนียดกระโทก นักมาตรวิทยา กลุ่มงานกลศาสตร์ของไหล ฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกล และหัวข้อ การสังเคราะห์อนุภาคโพลิสไตรีนแบบกระจายตัวเดี่ยวสำหรับ TRM บรรยายโดย คุณอังกูรณา พริ้งเกษมชัย นักมาตรวิทยา ฝ่ายมาตรวิทยามิติ และหัวข้อสุดท้ายของวันนี้คือ การบรรยายเรื่องการพัฒนาความสามารถในการตรวจวัด PM2.5 และ PM10 ในประเทศ CLMV (Cambodia : ราชอาณาจักรกัมพูชา, Lao PDR : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, Myanmar : สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, Vietnam : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม) และแผนในอนาคต
โครงการดังกล่าว มว. ได้รับอนุมัติงบประมาณผ่านความร่วมมือภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง (MoU on Cooperation on Project of Mekong-Lancang Cooperation Special Fund) ประจำปี 2563 จากรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2565 ซึ่งประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ในด้านการศึกษาฝุ่นละอองขนาดเล็กและได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก NIM China เพื่อพัฒนาให้เป็นมาตรฐานของประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นการผนึกความร่วมมือให้แนบแน่นระหว่างสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) และ NIM China อีกด้วย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.