ทำไมต้องประชุมลับ
เรื่องนี้ ผู้ขอข้อมูลข่าวสารถูกกล่าวหาว่าแอบลักลอบอัดเสียงโทรศัพท์ในที่ประชุมลับ ก็เลยอยากรู้ว่ามีอะไรนักหนาถึงต้องประชุมลับ ทั้ง ๆ ที่เป็นการประชุมเกี่ยวกับเงินออมนะ ไม่ใช่เงินอม
นายทรัพย์สินถูกหน่วยงาน A แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง กรณีถูกกล่าวหาว่าแอบลักลอบอัดเสียงโทรศัพท์ในที่ประชุมลับของคณะอนุกรรมการชุดหนึ่งเกี่ยวกับเงินออม นายทรัพย์สินจึงมีหนังสือขอข้อมูลข่าวสารจำนวน ๗ รายการ คือ ๑) รายงานการประชุม ที่ ประชุมลับของคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ ๗/๒๕๖๒ ซึ่งนายทรัพย์สินมีส่วนได้เสีย ๒) เอกสารประกอบการประชุมลับครั้งดังกล่าว ๓) มติที่ประชุมลับครั้งดังกล่าว ๔) รายงานการประชุมในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๓ เกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ๕) เอกสารประกอบการประชุมในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๓ ๖) มติที่ประชุมในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๓ ๗) มติวาระลับฝ่ายทรัพยากรบุคคลในการประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่ ครั้งที่ ๕/๒๕๖๓ หน่วยงาน A แจ้งปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทั้ง ๗ รายการ โดยให้เหตุผลว่า รายการที่ ๑ – ๖ เป็นเอกสารการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงซึ่งการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ตามมาตรา ๑๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ส่วนข้อมูลรายการที่ ๗ เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ เป็นเอกสารลับ มิได้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาเรื่องของนายทรัพย์สิน นายทรัพย์สิน จึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ต่อมาหน่วยงาน A ชี้แจงต่อคณะกรรมการฯว่า รายการที่ ๑ – ๓ ไม่มีข้อมูลตามที่ร้องขอ
คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร วินิจฉัยสรุปว่า ข้อมูลข่าวสารรายการที่ ๑ - ๓ ไม่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการฯ ที่จะพิจารณาหากผู้อุทธรณ์ไม่เชื่อว่าหน่วยงาน A ไม่มีข้อมูลตามที่กล่าวอ้าง อาจใช้สิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ตามมาตรา ๓๓ ประกอบมาตรา ๑๓ สำหรับรายการที่ ๔ – ๖ เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงเมื่อยังอยู่ ระหว่างการสอบสวนจึงไม่ควรเปิดเผยให้ทราบในขณะนี้ การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ตามมาตรา ๑๕ (๒) ส่วนรายการที่ ๗ เป็นข้อมูลข่าวสารการปฏิบัติ ราชการปกติของหน่วยงาน การเปิดเผยจะแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและตรวจสอบได้ จึงมีมติให้เปิดเผยเฉพาะในวาระที่เกี่ยวกับผู้อุทธรณ์
อธิบายเพิ่มเติมครับ ถึงแม้เอกสารราชการจะกำหนดชั้นความลับ แต่คำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ถือเป็นการยกเลิกชั้นความลับโดยปริยาย
มีข้อสงสัยการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ หารือไปที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๐ ๒๒๘๓ ๔๖๗๗ www.oic.go.th (ที่ สค ๓๓๗/๒๕๖๓) นำยวรรธนพงศ์ คำดี ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและเผยแพร่สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
เผยแพร่ข่าว : นายธัชนนท์ บุญหล้า
ส่วนสื่อสารองค์กร สำนักบริหารกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.