เงินบริจาคอยู่ไหน
ข่าวคราวเกี่ยวกับการขอบริจาคเงินในรูปแบบต่าง ๆ มีการพูดถึงมากมายในโลกโซเชียล ส่วนใหญ่เป็น เรื่องของบุคคลที่มีความเดือดร้อนก็ขอรับบริจาคเป็นการส่วนตัว แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริจาค เราจะตรวจสอบได้แค่ไหน ไปดูกันครับ
เรื่องนี้ อำเภอ A เห็นว่า อำเภอมีพระพุทธศรีพิทักษ์ชน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี เป็นพระ คู่บ้านคู่เมือง จึงได้ปรึกษากับประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอและประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านของอำเภอ เห็นควร จัดให้มีพระพุทธศรีพิทักษ์ชนองค์จำลอง ประดิษฐานไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ A เพื่อให้ชาวบ้านได้บูชากราบไหว้ อำเภอ A จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพิธีเททองหล่อพระพุทธศรีพิทักษ์ชน (จำลอง) โดยมีตัวแทนจากหลายภาค ส่วน ทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พ่อค้า และประชาชน ในงานมีการจัดทำเหรียญที่ระลึกและแผ่นทองมอบให้แก่ผู้มีจิต ศรัทธาร่วมสร้างองค์พระ นายสงสัย เห็นว่ายอดเงินบริจาคน่าจะมีจำนวนมาก ก็เลยมีหนังสือถึงอำเภอ A ขอข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการสร้างองค์พระ ๙ รายการ คือ ๑) ใบเสร็จรับเงินจากกำนัน ๑๐ ตำบล ที่มอบเงินให้ คณะกรรมการจัดงานฯ ๒) ใบเสร็จรับเงินจากบุคคลที่จ่ายเงินค่าจองเหรียญที่ระลึก ๓) รายชื่อบุคคลที่จ่ายเงินค่า จองเหรียญที่ระลึก ๔) ใบเสร็จค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจัดงาน และรายรับในการเช่าบูชาแผ่นทอง ๕) ใบเสร็จในการ ซื้อของใช้ในงาน ๖) ใบเสร็จค่าแบบพิมพ์องค์พระ ๗) ใบเสร็จการจ่ายเงินค่าหล่อเหรียญ ค่ากล่อง ค่าแผ่นทอง ๘) ใบเสร็จค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ค่าบายศรี ค่าพราหมณ์ เครื่องไทยธรรม ๙) ใบเสร็จค่าหล่อหุ่นขี้ผึ้ง หน่วยงานแจ้งปฏิเสธ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร โดยให้เหตุผลว่า การจัดงานดังกล่าวเป็นในรูปคณะกรรมการ มิได้ดำเนินงานโดย หน่วยงานของรัฐ คณะกรรมการฯ เป็นตัวแทนจากหลายภาคส่วนมิได้เป็นหน่วยงานของรัฐ อีกทั้งนายสงสัยมิได้เป็น ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดงาน นายสงสัยจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ วินิจฉัยสรุปว่า ข้อมูลข่าวสารทั้ง ๙ รายการ เป็น ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างพระพุทธศรีพิทักษ์ชน (จำลอง) ตามคำสั่งของอำเภอ A เรื่องแต่งตั้ง คณะกรรมการจัดงานฯ เมื่อข้อมูลข่าวสารดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของอำเภอ A จึงเป็นข้อมูลข่าวสารของ ราชการตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ เมื่อข้อมูลข่าวสารทั้ง ๙ รายการ ไม่มีข้อความที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยได้ตาม มาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน การเปิดเผยจะแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของอำเภอ จึงวินิจฉัยให้อำเภอ A เปิดเผยข้อมูลข่าวสารทั้ง ๙ รายการ แก่ผู้อุทธรณ์
มีข้อสงสัยการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ หารือไปที่สำนักงาน คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๐ ๒๒๘๓ ๔๖๗๗ www.oic.go.th
ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
เผยแพร่ข่าว : นายธัชนนท์ บุญหล้า
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.