นางสาววราภรณ์ รุ่งตระการ ที่ปรึกษาด้านระบบบริหารการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดงานประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายและแผนการดำเนินงานโครงการ SCiUS Academy ภายใต้โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย ระยะที่ 3 (โครงการ วมว.) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 โดยมีนายสุทน เฉื่อยพุก ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนากำลังคน กล่าวรายงาน และมีผู้ทรงคุณวุฒิ รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตลดา และกรรมการทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารโครงการ วมว. รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ รศ.ดร.วิวัฒน์ เรืองเลิศปัญญา ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านการจัดการศึกษาพิเศษ การพัฒนาระบบบริหารและงานด้านกฎหมาย มจธ. รศ.ดร.วันดี วัฒนชัยยิ่งเจริญ มน. และนางสาวฉัตต์ธิดา บุญโต ผอ.สำนักงานบริหารวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชาพิจารณ์แผนการดำเนินงานโครงการ SCiUS Academy ภายใต้ โครงการ วมว. นอกจากนี้ยังมีผู้บริหาร/เจ้าหน้าที่หน่วยงานและเครือข่ายประชาคม วมว. เข้าร่วมประชาพิจารณ์จำนวนมาก อาทิ ผู้บริหารจากหน่วยงาน สวทช. สอวช. สสวท. ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกำเนิดวิทย์ ผู้อำนวยการโครงการ วมว. 19 คู่ศูนย์ ครู อาจารย์ในโครงการ วมว. ผู้ปกครองและนักเรียนในโครงการ วมว. รวมถึงศิษย์เก่านักเรียน วมว. ที่เข้าร่วมทั้ง Onsite และ Online
อว. ได้ร่วมกับทีมที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.ราเชนทร์ โกศัลวิตร และรศ.ดร. พรรัตน์ วัฒนกสิวิชช์ จัดทำข้อเสนอโครงการ SCiUS Academy โดยได้กำหนดกรอบ เป้าหมาย ทิศทาง และแผนงานการดําเนินงานโครงการ SCiUS Academy ในระยะเวลา 1-5 ปี เพื่อเป็นการปรับปรุงมาตรฐานของโครงการ วมว. สร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เหมาะสมสําหรับการพัฒนานักเรียนในโครงการ วมว. และยกระดับหองเรียนในโครงการ วมว. สูงมาตรฐานระดับสากล รวมไปถึงการขยายผลการจัดการเรียนการสอนและ Ecosystem ไปยังห้องเรียนทั่วไปและโรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งแผนกลยุทธของโครงการ SCiUS Academy ในชวง 1-5 ปี กำหนดกลยุทธ์ทั้งหมด 4 SG ได้แก่ SG 1 แนวทางปฏิบัติที่ดีในการเรียนการสอน (Best Practices in Learning & Teaching) SG 2 การยกระดับสูงสากล (Promote Internationalization) SG 3 สร้างการเข้าถึงและการมีส่วนร่วมทางสังคม (Establish Outreach & Social Engagement) และ SG 4 ส่งเสริมทักษะชีวิต (Foster Life Skills) เป็นการสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและคณิตศาสตร์ทั้งความรู้ ทักษะด้านสะเต็มและทักษะชีวิต
ทั้งนี้ การประชาพิจารณ์แผนการดำเนินงานโครงการ SCiUS Academy ภายใต้ โครงการ วมว. จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร/เจ้าหน้าที่หน่วยงาน และเครือข่ายประชาคม วมว. จะนำไปสู่การพัฒนาตามแผนกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานโครงการ SCiUS Academy สามารถเป็นกลไกหลักในการส่งเสริมระบบนิเวศการเรียนรู้ของโครงการ วมว. เพื่อพัฒนานักเรียนในโครงการ วมว. ให้เป็นกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีศักยภาพในระดับสากลต่อไป
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.