กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

จะเติบโตต้องกล้าเสี่ยง!! รุ่นพี่สตาร์ทอัพให้กำลังใจรุ่นน้อง “เราทำได้” ไปให้ถึงโมเมนท์ “อ๋อ” ยอมรับ และตกผลึก ขณะที่ สสวท. พร้อมพัฒนาแนวทางการปลดล็อคนักเรียนทุนให้ออกมาสร้าง Deep Tech Startup ได้

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
13 ม.ค. 2564

1

          สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดการประชุมผ่านระบบออนไลน์ตามนโยบายป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 เรื่อง “Deep Tech Startup Networking Forum : นักวิจัยสู่การสร้างสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงหรือที่เรารู้จักในชื่อว่า Deep Tech Startup โดยมีผู้ประกอบการ นักวิจัย หน่วยงานสนับสนุนสตาร์ทอัพ และผู้สนใจในธุรกิจ Deep Tech Startup ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กว่า 60 คน  โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 4 ท่านได้แก่ คุณนัตวิไล อุทุมพฤกษ์พร ผู้ก่อตั้งบริษัท Trik หญิงไทยผู้ซึ่งติดอันดับ Forbes 30 Under 30 ซึ่งจัดลำดับโดยนิตยสาร Forbes ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์ทอัพสัญชาติไทย บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ผู้วิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด-19 จากใบพืชที่แรกในประเทศไทย รศ.ดร เจษฎา วรรณสินธุ์ เจ้าของรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ (2552) และรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี 2557 และผู้ก่อตั้งบริษัท GISSCO และ ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยงานสนับสนุนทุน (พสวท.) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

2

         คุณนัตวิไล กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพของตัวเองว่า เริ่มจากความไม่รู้ และพอได้มีโอกาสไปเรียนปริญญาโทก็เรียนด้านโกลด์บอล ดีไซน์ เอนจิเนียริ่ง มีการเปิดโอกาสให้ทุกคนเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาคิดมาต่อยอดเป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเป็นโปรเจ็คจบของตัวเอง เราจึงมีเทคโนโลยีอยู่ในมือ แต่ไม่มีเงินทุน ต้องไปนำเสนอกับผู้ที่จะสามารถให้ทุนเราได้ ปรากฏว่ามีคนมาให้ทุนแต่ไม่ได้มากนัก แต่ด้วยความที่เรายังใหม่จึงเป็นความท้าทาย เพราะต้องเลือกระหว่างการกลับมาใช้ทุนที่เมืองไทย และในช่วงนั้นมีบริษัทเสนอให้ไปทำงาน สุดท้ายเราเลือกที่จะเดินบนเส้นทางสตาร์ทอัพที่ไม่มีโอกาสรู้เลยว่ามันจะไปรอดไหม โชคดีที่มีครอบครัวสนับสนุนให้เราเดินในเส้นทางใหม่มากในยุคเมื่อ 4-5 ปีก่อน ถือว่าเป็นการเริ่มต้นจากศูนย์

         “แต่เราก็เจอปัญหาว่า แม้เราจะมีเทคโนโลยีในมือ แต่ในสมัยนั้นคนที่บังคับโดรนได้ต้องมีทักษะและความชำนาญมาก ไม่เหมือนในปัจจุบันที่กดปุ่มสั่งการได้ เมื่อเรานำเทคโนโลยีไปเสนอก็เหมือนว่าเราจะไปแย่งงานและเขาอาจจะตกงานได้ มันเลยมาถึงจุดที่เราอ๋อ และยอมรับความจริงเพื่อตกผลึกความคิดว่า ถ้าคนชอบแต่ไม่อยากใช้ เราก็ไม่สามารถไปต่อได้ จึงคิดว่าถ้าเราเอาเทคโนโลยีมาวิเคราะห์ภาพจากโดรนแบบสามมิติ เป็นการช่วยงานเขาให้ดีขึ้น ก็เลยไปนำเสนอปรากฎว่าลูกค้าชอบ สำคัญคือเราต้องทดลองเสนอราคา ทดลองขายเริ่มจากบาทเดียวก็ได้ ถ้าลูกค้าชอบร้อยบาทเขาก็ซื้อ แต่ถ้าเขาไม่ชอบบาทเดียวเขาก็ไม่ซื้อ ถ้าใครคิดว่ามีไอเดียดีๆ อยากให้กล้าลองทำเป็นสตาร์ทอัพดูสักครั้ง แต่อยากให้กำหนดเวลาให้ตัวเองอย่างชัดเจน ถ้าสองสามปีแล้วมันไปต่อไม่ได้ ก็อย่าลากยาวขอให้ปรับหรือเปลี่ยน ” ผู้ก่อตั้งบริษัท Trik กล่าว

         อย่างไรก็ตาม คุณนัตวิไล ระบุว่า ประเทศไทยมีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ทั้งบุคลากร หน่วยงานให้ทุน แต่ระบบนิเวศที่เอื้อต่อการสร้างสตาร์ทอัพของอังกฤษ รวมถึงช่องทางในการจัดจำหน่ายมีพร้อมกว่าไทย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีเว็บไซด์กลางที่สามารถนัดพบกันได้ระหว่างผู้ให้ทุนกับสตาร์ทอัพ ซึ่งมีแนวโน้มที่ดีมากต่อทิศทางสตาร์ทอัพในประเทศไทย

3

         ดร.สุธีรา ผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์ทอัพสัญชาติไทย บริษัท ใบยา กล่าวว่า ตัวเองมีพื้นฐานเป็นอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแม้จะมาทำบริษัทใบยาแต่ก็ยังสอนหนังสืออยู่ และยังเป็นที่ปรึกษาในภาคอุตสาหกรรมในการวางกลยุทธ์ให้คนไข้เข้าถึงยาได้ ซึ่งทำให้เรารู้ว่าประเทศไทยไม่สามารถผลิตยาและวัคซีนได้ตั้งแต่ต้นน้ำ พอทางมหาวิทยาลัยฯ มีนโยบายนำงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง และให้อาจารย์ทำสตาร์ทอัพได้เราจึงสนใจทำร่วมกับ ดร.วรัญญู พูลเจริญ อาจารย์จากคณะเดียวกัน เราเริ่มทำกันมาได้ 3 ปีแล้ว พอมีสถานการณ์โควิด-19 เราจึงคิดค้นวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 และแอนติบอดี้ยับยั้งเชื้อไวรัสจากใบยาสูบ โดยขณะนี้ได้ระดมทุนจากประชาชนเพื่อสร้างโรงงานในการผลิตมูลค่า 500 ล้านบาท ซึ่งโรงงานดังกล่าวมีความสำคัญและสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนให้กับประเทศจากในอดีตที่ไม่เคยมี อีกทั้งประชาชนก็จะได้ใช้วัคซีนในราคาที่ถูก “อยากให้น้อง ๆ ที่เดินเข้าสู่เส้นทางสตาร์ทอัพ กล้าที่จะเปิดใจและลองทำ ไม่สำเร็จไม่เป็นไรอย่างน้อยก็ได้เดิน” ดร.สุธีรา กล่าว

         ด้าน ดร.เจษฎา วรรณสิน กล่าวว่า การที่เป็นอาจารย์ซึ่งติดทุนจากการเป็นนักเรียนทุนมาก่อนแล้วจะเริ่มทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยระบบไม่เอื้ออำนวย เราก่อตั้ง GISSCO ที่เริ่มจากศูนย์และทุบหม้อข้าวตัวเอง เป็นหนี้เป็นสิน กว่าจะผ่านแต่ละด่านและยืนได้ ไม่ใช่นักวิจัย หรือนักเรียนทุนอยากทำแล้วทำได้สำเร็จทั้งหมด ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละคนด้วย เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายและมีอุปสรรคและความเสี่ยงหลายอย่าง ปัจจุบันเป็นที่น่ายินดีว่าหลายมหาวิทยาลัยเริ่มมีการเปิดโอกาสให้อาจารย์ไปทำสตาร์ทอัพได้และมีหน่วยงานที่ให้ทุนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นต้นทางที่ส่งผลกระทบเชิงบวกให้กับ Deep Tech Startup สูง

         “ผมยึดหลัก 4 P ในการทำสตาร์ทอัพเพื่อเป็นแนวทางให้น้อง คือ 1. Principle คือ ต้องการหลักการที่ชัดเจน 2. Passion เราต้องมีแรงผลักดันในการทำเราต้องรู้ว่าการทำสตาร์ทอัพไม่ง่าย 3. Perseverance คือต้องสู้ไม่ถอย มีความมุ่งมั่น และ 4. Pain Resistance ต้องอดทนต่อความเจ็บปวดระหว่างทาง ต้องมีแรงต้านทาน ต้องคิดบวก ค่อย ๆ ทำ ค่อย ๆ ปรับ เพื่อไปสู่ความสำเร็จ” ดร.เจษฎา กล่าว

         ดร.ชูกิจ ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าวว่า สสวท. เป็นหน่วยงานให้ทุนนักเรียนเพื่อไปศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ และกลับมาทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ และเป็นหน่วยงานแรกที่กำลังจะเปิดโอกาสให้นักเรียนทุนไปทำงานกับภาคเอกชนได้ โดยใช้ทุนในรูปแบบของตัวเงิน (In-cash) หรือรูปแบบความช่วยเหลือ (In kind) แทน ถึงแม้ว่าระยะแรกจะมีแรงต้านเพราะคิดว่าทุนที่สนับสนุนเป็นภาษีของประชาชน จึงได้ทำการเริ่มปลดล็อคด้วยการนำร่องส่งนักวิจัยไปทำงานให้กับรัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบปรับรูปแบบการตอบแทนทุนที่เปิดโอกาสให้นักวิจัย นักเรียนทุน สามารถทำงานกับภาคเอกชนได้ โดยให้นับเป็นเวลาใช้ทุน ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ ที่ช่วยผลักดันให้นักวิจัยสามารถสร้างประโยชน์ให้กับประเทศได้อย่างมหาศาล

4

         Deep Tech Startup Networking Forum เป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างเครือข่ายสำหรับผู้ประกอบการ Deep Tech Startup และเป็นเวทีให้ผู้ประกอบการได้มีโอกาสเสนอแนะแนวทางปรับปรุงมาตรการสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพของภาครัฐ ซึ่งทาง สอวช. ได้ริเริ่มขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการพัฒนานโยบายและสร้าง Ecosystem ที่เหมาะสมในการสนับสนุนธุรกิจ Deep Tech Startup ของประเทศไทย

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
สวทช. ส่งมอบนวัตกรรมสู้ภัยโควิด-19 ให้โรงพยาบาลระยอง พาณิชย์ ขยายผลยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” สยายปีกต่อยอดงานวิจัยจากหิ้งสู่ตลาดสากล จับมือ 7 พันธมิตรด้านวิจัยและนวัตกรรม สนับสนุน SMEs เชื่อมโยงตลาดกับนวัตกรรมสร้างสรรค์อนาคต

เรื่องล่าสุด

“ศุภมาส” เดินเกมรุกจัดงาน “อว. ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เดินเกมรุกจัดงาน “อว. Job Fair 2025” ยิ่งใหญ่กลางกรุง ตลาดอาชีพเพื่ออนาคต ชูเป้าหมายเปลี่ยน...
10 พ.ค. 2568
“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยา ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยายผลการใช้งาน Traffy Fondue แพลตฟอร์มร้องทุกข์ผ่านปลายนิ้วไปทั่วประเทศ ...
10 พ.ค. 2568
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025 ...
ข่าวสารหน่วยงาน
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025" วันแรก ตลาดงานสุดยิ่งใหญ่แห่งปี อว.ยกทัพผู้ประกอบการทั้งในและต่างประ...
09 พ.ค. 2568

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.