20 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันครบรอบการลงนามในสนธิสัญญาเมตริก โดยการลงนามครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1875 สนธิสัญญานี้เป็นพื้นฐานของระบบการวัดที่สอดคล้องกันทั่วโลก ซึ่งเป็นรากฐานทางวิทยาศาสตร์ การค้นพบ นวัตกรรมการผลิตทางอุตสาหกรรม การค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการรักษาสิ่งแวดล้อมของโลก
นอกจากนี้วันที่ 20 พฤษภาคมยังเป็นวันที่ประชาคมมาตรวิทยาทั่วโลกโดยประเทศสมาชิกกว่า 80 ประเทศให้ความสำคัญและได้ร่วมกันจัดกิจกรรม “วันมาตรวิทยาโลก” ซึ่งในแต่ละปีหัวข้อในการจัดกิจกรรมวันมาตรวิทยาโลกนั้น จะถูกคัดเลือกจากสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (Bureau International des Poids et Measures : BIPM) และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายชั่งตวงวัด (International Organization of Legal Metrology : OIML)
โดยหัวข้อที่ได้รับเลือกสำหรับปี ค.ศ. 2021 คือ “Measurement for Health : การวัดเพื่อสุขภาพ” ซึ่งการวัดเพื่อสุขภาพนี้ได้ถูกเลือกมาเพื่อใช้ในการสร้างความตระหนักถึงบทบาทของการวัดที่มีความสำคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์เราทุกคน ซึ่งมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ที่เป็นช่วงเวลาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพจากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19
สถาบันมาตรวิทยาทั่วโลกได้ร่วมมือกันพัฒนาวิทยาศาสตร์การวัดอย่างต่อเนื่อง โดยผู้อำนวยการขององค์กรมาตรวิทยาโลกทั้งสององค์กร (BIPM และ OIML) ได้ให้ข้อคิดว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 นี้ ส่งผลให้รัฐบาลทุกประเทศต้องมีมาตรการต่างๆ ในการต่อสู้โรคระบาดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้าง ถึงความรุนแรงที่ไวรัสส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2020 นั้น จึงทำให้การวัดมีบทบาทและการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก เพื่อตอบสนองถึงความจำเป็นในการป้องกันสุขภาพประชากรของตนเองสถาบันมาตรวิทยาทั่วโลกได้มีส่วนร่วมกับความท้าทายใหม่ๆ ในระดับประเทศและระดับโลก และได้ใช้ประสบการณ์ที่เป็นที่ยอมรับในศาสตร์แห่งการวัด ตั้งแต่เริ่มต้นข้อกำหนดการตรวจวัดใหม่ในการวิจัยและค้นคว้าหาไวรัส ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล การพัฒนาวัคซีนที่มีการระบุและการวัดโมเลกุลของโปรตีนและอาร์เอ็นเอที่ซับซ้อนอย่างถูกต้อง โดยสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยขีดความสามารถทางการวัดที่ได้พัฒนา เป็นที่ยอมรับระดับสากล อาทิ การพัฒนามาตรฐานสากลสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ทุกประเภทที่มีฟังก์ชั่นการวัดรวมถึงเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ เครื่องมือเกี่ยวกับโรคตาและเข็มฉีดยาทางการแพทย์ การสนับสนุนการทดสอบในห้องปฏิบัติการทางคลินิกโดยตรวจสอบให้แน่ใจว่าการวัดโดยเทอร์โมมิเตอร์ทางการแพทย์สอดคล้องกับมาตราส่วนอุณหภูมิที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล การตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ป่วยได้รับรังสีเอกซ์ในปริมาณที่ถูกต้องในระหว่างขั้นตอนการวินิจฉัย และเป็นพื้นฐานสำหรับปริมาณรังสีที่ถูกต้องในการรักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น
และนี่คือเหตุผลที่เราเลือกหัวข้อ “Measurement for Health : การวัดเพื่อสุขภาพ” สำหรับวันมาตรวิทยาโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความสนใจและความตระหนักให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของการวัด เพื่อสนับสนุนในการป้องกันและรักษาสุขภาพของประชาคมโลกในช่วงเวลาที่เราทุกคนต้องการความถูกต้องแม่นยำมากที่สุดเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านสุขภาพของโลกเรา ในโอกาสนี้จึงอยากเชิญชวนชาวมาตรวิทยาและผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันจัดกิจกรรม และรำลึกถึงวันสำคัญนี้ไปด้วยกัน ซึ่งท่านที่สนใจสามารถเข้าไปดูข้อมูลข่าวสารรวมทั้งกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในระดับสากลได้ที่ www.worldmetrologyday.org
ซึ่งชุมชนมาตรวิทยานานาชาติได้ทำงานอย่างหนักเพื่อให้แน่ใจว่าการวัดที่แม่นยำสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วโลกและมีความพยายามในการสร้างความตระหนักโดยผ่านการทำกิจกรรมเนื่องในวันครบรอบของวันมาตรวิทยาโลกในทุกๆ ปีผ่านแคมเปญโปสเตอร์และเว็บไซต์ ในรูปแบบต่างๆ ทั้งก่อนหน้านี้รวมไปถึงหัวข้อในปีที่ผ่านมา
สำหรับสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ประเทศไทย ก็ได้มีกิจกรรมหลายภาคส่วนที่สอดรับกับหัวข้อวันมาตรวิทยาโลกในปีนี้ “การวัดเพื่อสุขภาพ” ที่พวกเราชาว มว. ได้ใช้ความรู้ความสามารถและศาสตร์แห่งการวัดที่เรามี ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลในขีดความสามารถทางการวัดเพื่อสนับสนุนกิจกรรมสำคัญต่างๆ ที่จำเป็นเร่งด่วนของประเทศในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมา อาทิ สถาบันเข้าร่วมเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบผลการตรวจวัดและรองรับงานวิจัยต่างๆ ที่มีส่วนช่วยในการยับยั้งป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมไปถึงการสร้างองค์ความรู้และเผยแพร่วิธีการสอบกลับได้ของการทดสอบความดันในหน้ากากป้องกันเชื้อแบบแรงดันบวก PAPR การเปิดให้บริการสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐานสำหรับทดสอบเครื่องช่วยหายใจ การประดิษฐ์อุปกรณ์ด้วยเทคโนโลยีมาตรวิทยาที่ได้ทำการวัดอย่างแม่นยำในห้องปฏิบัติการของสถาบันที่มีการยอมรับในระดับสากล เพื่อช่วยสนับสนุนทางการแพทย์และป้องกันบุคลากรทางการแพทย์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 3 รายการ ได้แก่รายการที่ 1) เครื่องฆ่าเชื้อในห้องผู้ป่วยโรงพยาบาลสนาม ซึ่งมี 2 แบบด้วยกัน ทั้งแบบธรรมดาที่ประกอบด้วยหลอดยูวีซีรอบตัวในแนวตั้ง สำหรับฉายฆ่าเชื้อในห้อง และแบบมีปีกที่สามารถกางได้ ประกอบด้วยหลอดยูวีซีวางเป็นแนวตั้ง 4 หลอด และแนวนอน 4 หลอด ซึ่งเป็นเครื่องฆ่าเชื้อที่ใช้ในห้องภาคสนามที่กว้างขึ้น แต่จะใช้ในพื้นที่เจาะจง เฉพาะจุด เช่นบริเวณเตียงผู้ป่วย เป็นต้น รายการที่ 2) เครื่องฆ่าเชื้อในรถพยาบาล ซึ่งเป็นการนำแนวคิดในการนำแสงยูวีซีมาใช้ฆ่าเชื้อ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าในรถพยาบาลมีความปลอดภัย ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวได้รับการทดสอบแล้วว่ามีความเข้มของแสงเหมาะสมกับขนาดในรถพยาบาล ทำให้สามารถฆ่าเชื้อได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้กับห้องอื่นๆ ได้ เช่นในห้องน้ำ หรือห้องพยาบาลที่เป็นห้องขนาดเล็กได้อีกด้วย และรายการที่ 3) เครื่องฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซี ที่ได้ดัดแปลงมาจากไมโครเวฟที่ใช้แล้ว โดยมีการนำหลอดไฟฆ่าเชื้อโรค (Germicidal Lamp) มาใช้กับอุปกรณ์ชิ้นนี้ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ได้มีการทดสอบความปลอดภัยด้านไฟฟ้าตามมาตรฐานสากล โดยอุปกรณ์ทั้งหมดนี้ ได้ส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติแล้ว และนอกจากนี้สถาบันยังได้มีการตรวจสอบหลอดปริมาณความเข้มแสง (Irradiance) ที่ระยะต่างๆ เพื่อที่จะได้ทราบว่า ในระยะที่แตกต่างกัน จะใช้เวลาในการฆ่าเชื้อแตกต่างกันอย่างไร รวมทั้งอายุการใช้งานของหลอดและประสิทธิภาพการถดถอย (Live circle of UVC lamp) เพื่อจะได้ทราบถึงอายุการใช้งานและประสิทธิภาพของหลอดยูวีซี ให้แก่บริษัท ซีนเนอร์ยี่ เทคโนโลยี จำกัด ที่ผลิตหุ่นยนต์เครื่องต้นแบบ (UV Robot) และยังรวมไปถึงการทดสอบเครื่องวัดอุณหภูมิให้แก่หลายๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาลและหน่วยบริการประชาชน อาทิ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลวชิรพยาบาล โรงพยาบาลรามาธิบดี เทศบาลนครรังสิต เทศบาลเมืองปทุมธานี และโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศที่ส่งเครื่องมือเข้ามา โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ตลอดจนกิจกรรมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและจัดนิทรรศการมาตรวิทยาต่อสู้กับ COVID-19 หากท่านใดต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้น สามารถเข้าชมได้ที่ลิงค์ต่อไปนี้
สถาบันมาตรวิทยา....ประเทศไทย เข้าร่วมเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบผลการตรวจวัดและรองรับงานวิจัยต่างๆ ที่มีส่วนช่วยในการยับยั้งป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19
http://www.nimt.or.th/main/?p=31121
(Thai Sub) Metrology, Science of Measurement and its application
มาตรวิทยากับความท้าทายใหม่ๆ ในยุคที่โลกมีความเปลี่ยนแปลง
การสอบกลับได้ของการทดสอบความดันในหน้ากากป้องกันเชื้อแบบแรงดันบวก PAPR
มว. เปิดให้บริการสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐานสำหรับทดสอบเครื่องช่วยหายใจ
http://www.nimt.or.th/main/?p=31809
(Thai Sub) Metrology, Science of Measurement and its application
มาตรวิทยากับความท้าทายใหม่ๆ ในยุคที่โลกมีความเปลี่ยนแปลง
THE STANDARD : ระบบพิสูจน์มาตรฐานด้วยมาตรวิทยา
(Thai Sub) Metrology, Science of Measurement and its application
มาตรวิทยากับความท้าทายใหม่ๆ ในยุคที่โลกมีความเปลี่ยนแปลง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.