วันที่ 4 มิถุนายน 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักเลขานุการกรม จัดกิจกรรม “สนทนาประสา วศ.” โดยได้รับเกียรติจาก นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นวิทยากรสนทานาในประเด็น “แนวทางปฏิบัติและแนวทางสื่อสารในสภาวะวิกฤตภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กับบุคลากร วศ. ทุกคน ทุกระดับ รับรู้และเข้าใจถึงแนวทางปฏิบัติและการสื่อสารในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่สอดคล้องกับแผน BCP หรือแผนกำหนดแนวทางการดำเนินการของหน่วยงานอย่างต่อเนื่องเพื่อบริหารความพร้อมในสภาวะวิกฤติ ดังกล่าว
นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ ได้กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังมีความรุนแรงและขยายวงเข้ามาถึงพื้นที่ วศ. และส่วนราชการใกล้เคียง ตลอดจนพบผู้ติดเชื้อในหน่วยงานพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งอาจทำให้เจ้าหน้าที่ วศ.มีโอกาสติดเชื้อหรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อสูงขึ้นได้ จนสร้างความหวาดกลัวและกังวลกับบุคลากรนำไปสู่การปฏิบัติตัวและการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดได้ ดังนั้น วศ. จึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติและแนวทางสื่อสารในสภาวะวิกฤตดังกล่าวที่ชัดเจนเป็นระบบเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถทำให้การดำเนินงานของส่วนราชการมีความต่อเนื่องและพร้อมรับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี
โดย วศ. ได้กำหนดขั้นตอนการสื่อสารแจ้งเหตุใน 3 สถานการณ์ (Scenario) ประกอบด้วย ผู้ทราบเหตุ (เจ้าตัว/เพื่อนร่วมงาน) หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนื่อง (ระดับกลุ่ม) หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนื่อง(ระดับกอง) ผู้ประสานงานหลักด้านปฏิบัติการ (เลขานุการกรม) หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่อง วศ.(อวศ.) ลงไปสู่ผู้ประสานงานด้านการสื่อสารภายใน (กลุ่มประชาสัมพันธ์) และผู้ประสานงานด้านการสื่อสารภายนอก (โฆษกกรม) โดยกำหนดแนวทางปฏิบัติและแนวทางการสื่อสารในแต่ละสถานการณ์ ตามภาพที่ปรากฏด้านล่างนี้
-สถานการณ์ที่ 1 (ผู้ปฏิบัติงาน วศ. อยู่ในวงผู้มีความเสี่ยงสูง/ต่ำ)
-สถานการณ์ที่ 2 (ผู้ปฏิบัติงาน วศ. ติดเชื้อรายเดียว)
-สถานการณ์ที่ 3 (ผู้ปฏิบัติงาน วศ.ติดเชื้อในช่วงเวลาเดียวกันตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป
**แนวทางปฏิบัติและแนวทางสื่อสารในสภาวะวิกฤตภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นี้ กำหนดขึ้นตามมติของคณะกรรมการบริหารความต่อเนื่องในการปฏิบัติราชการ ในสภาวะวิกฤต ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ**
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.