4 มิถุนายน 2564 - เริ่มแล้ว! สำหรับกิจกรรม Co-Creation ระหว่างหน่วยงานพันธมิตรและสตาร์ทอัพ ในโครงการ NIA Deep Tech Incubation Program @EEC ที่เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพ สาย DEEP TECH ที่มีนวัตกรรมด้าน ARI-Tech
1) Artificial Intelligent (AI)
2) Robotics
3) Immersive, IoT
มาร่วมรับโจทย์พร้อมพูดคุยเพื่อวางเป้าหมาย (Goal Setting) และมองภาพร่วมกันในการดำเนินงานภายในระยะเวลาของโครงการ โดยมีองค์กรชั้นนำหลากหลายอุตสาหกรรมที่เข้าร่วม อาทิ PTT, B.Grimm, AIS,คาราบาว, Thai Summit, สยามคูโบต้า, สุนทรธัญทรัพย์, สถาบันไทย-เยอรมัน, Automation park ม.บูรพา, ND Rubber
โดยในวันแรกที่เริ่มโครงการได้รับเกียรติจาก ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวต้อนรับองค์กรพันธมิตร และแสดงความยินดีกับสตาร์ทอัพทั้ง 10 ทีม พร้อมเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ
โดยได้กล่าวถึงแผนระยะยาวในการพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ให้เป็น Global Startup Hub @EEC และย้ำวัตถุประสงค์หลักของโครงการ NIA Deep Tech Incubation Program @EEC ว่าเป็นโครงการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมสำหรับสตาร์ทอัพ สาย Deep Tech ให้เติบโตในพื้นที่ EEC อย่างแท้จริง โดยเน้นสร้างความร่วมมือระหว่างสตาร์ทอัพ และหน่วยงานพันธมิตรในพื้นที่ และช่วยให้สตาร์ทอัพได้ขยายฐานธุรกิจ เปรียบเสมือน Sandbox ที่ให้สตาร์ทอัพนำโซลูชั่นไปใช้งานจริง ตรงความต้องการของอุตสาหกรรมในแต่ละพื้นที่ พร้อมกล่าวเสริมว่าตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในการร่วมทำ Co-Creation สตาร์ทอัพจะได้เรียนรู้และปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ อาทิ
1) กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activity) ที่เน้นให้เกิดความเข้าใจในการแก้ปัญหา โดยมีรุ่นพี่สตาร์ทอัพมาร่วมแนะนำแนวทางการดำเนินธุรกิจ
2) กิจกรรมให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ (Coaching & Mentoring Activity) โดยทุกทีมจะมี Mentor ประจำทีมแบบ 1:1 ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านเทคโนโลยีและธุรกิจ มาให้คำปรึกษาตลอดโครงการ
3) กิจกรรมลงมือปฏิบัติทดสอบ (POC) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อทดสอบนวัตกรรมของสตาร์ทอัพว่าสามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้อย่างไรบ้าง ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ทำให้ได้เห็นโจทย์ปัญหาของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จริง และเพื่อสร้างนวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหา (Pain Points) และช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้สตาร์ทอัพไปพร้อมกัน โดยทิ้งท้ายว่าอยากให้โครงการนี้เป็นโครงการนำร่อง ที่สร้างให้สตาร์ทอัพ สาย Deep Tech ของไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด และสร้างนวัตกรรมที่เอื้อประโยชน์และนำไปใช้ได้จริง
ต่อจากนั้น คุณมณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวแนะนำภาพรวม NIA Deep Tech Incubation Program @EEC และเปิดตัว Mentor ประจำทีมสตาร์ทอัพ พร้อมแนะนำรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ ที่กำลังจะเกิดหลังจากนี้ และคุณอรพิมพ์ เหลืองอ่อน Managing Partner – Aimspire กล่าวแนะนำกระบวนการทำ co-creation การทำงานร่วมกับบริษัทพันธมิตรเพื่อต่อยอดธุรกิจต่อไป
ปิดท้ายด้วยการประชุมกลุ่มย่อยเข้าสู่กิจกรรม Co-Creation ระหว่างหน่วยงานพันธมิตรและสตาร์ทอัพ เพื่อร่วมวางเป้าหมาย (Goal Setting) และมองภาพร่วมกันในการดำเนินงานภายในระยะเวลาของโครงการ ซึ่งหลังจากนี้ ต้องคอยติดตามว่าจะได้เห็นนวัตกรรม Deep Tech ในรูปแบบไหน ไม่นานเกินรอ!!
#NIA #DeepTechxEEC #Incubation #PPP #ARITech #AI #Robotics #Immersive #IoT #StartupThailand #Sectoraldevelopment
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.