กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ฝ่ายโปรแกรมบริหารผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเสริมอาหาร แถลงข่าวปิดโครงการ TCELS Mentoring Program ‘Journey to Success 2021: Episode II – Global Challenges’ โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 6 ส.ค. 2564 เวลา 08.50-12.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ โดย Live ผ่านทางเฟซบุ๊ก TCELS THAILAND และประกาศรายชื่อ 5 ทีมสุดยอดผู้ประกอบการ SMEs ที่พร้อมติดปีกทะยานไกล สู่สากล และรับสิทธิร่วมกิจกรรมจับคู่ธุรกิจผ่าน Virtual Conference & Exhibition ในงาน Bio Japan 2021 และ Bio Asia Pacific 2021
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ประกาศรายชื่อผู้ชนะการแข่งขัน Pitching 5 ทีมจากผู้ประกอบการ SMEs 12 ทีม ที่เข้าร่วมโครงการ TCELS Mentoring Program ภายใต้หัวข้อ ‘Journey to Success 2021: Episode II – Global Challenges’ โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการได้ผ่านการฝึกอบรม และการให้คำปรึกษาเชิงลึกด้านการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการบริหารจัดการ และการพัฒนาแบรนด์ ที่ช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผู้ชนะทั้ง 5 ทีม ได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงฐานข้อมูลทางธุรกิจในอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ และโอกาสการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ ผ่านการประชาสัมพันธ์และกิจกรรมโรดโชว์ของทีเซลส์ (TCELS) รวมถึงรับสิทธิ์การเข้าร่วมประชุม Virtual Conference & Exhibition ในงาน Bio Asia Pacific 2021 และงาน Bio Japan 2021 สำหรับรางวัลที่ 1 ซึ่งถือเป็นสิทธิพิเศษระดับเอ็กซ์คลูซีฟ และสงวนเฉพาะผู้ผ่านการคัดเลือกจากหน่วยงานเท่านั้น
รายชื่อผู้ชนะโครงการ TCELS Mentoring Program ‘Journey to Success 2021: Episode II – Global Challenges’ ประจำปี พ.ศ. 2564
Happy Noz Virus Protection ผลิตภัณฑ์สติ๊กเกอร์หัวหอม สูตรป้องกันไวรัส ผลิตจากส่วนผสมออร์แกนิค 100%
งาน Bio Asia Pacific 2021 ในรูปแบบระบบออนไลน์ รวมมูลค่า 120,000 บาท
ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวภูมิเเพ้ สารสกัดธรรมชาติ (สารสกัดจากน้ำมันรำข้าวและพืชเศรษฐกิจ)
ในรูปแบบระบบออนไลน์ รวมมูลค่า 100,000 บาท
นวัตกรรมสบู่กระชับช่องคลอด ดูเเลจุดซ่อนเร้นด้วยสมุนไพรไทย
ในรูปแบบระบบออนไลน์ มูลค่า 100,000 บาท
ผลิตภัณฑ์ซุปเเละซีเรียลจากจมูกข้าวออร์เเกนิค
90,000 บาท
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเเทนมื้ออาหารเพื่อสุขภาพ
90,000 บาท
ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “โครงการ TCELS Mentoring Program ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Journey to Success 2021 : Episode II – Global Challenges” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมศักยภาพของวิสาหกิจไทยให้โดดเด่นด้านนวัตกรรม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย หรือผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ซึ่งในปีนี้เราให้ความสำคัญกับกลุ่มผลิตภัณฑ์เวชสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพร ที่มีคุณสมบัติเสริมภูมิต้านทานโรค โดยเฉพาะโควิด-19 ที่มีหลักฐานการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเพิ่มโอกาสของผลิตภัณฑ์ในการรุกสู่ตลาดของประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากยิ่งขึ้น”
“โอกาสนี้ ขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการที่ชนะเลิศทั้ง 5 ทีมในปีนี้ โดยเฉพาะผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งคือ บริษัท วันเวนเชอร์ จำกัด ซึ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ Happy Noz “แฮปปี้ โนส” Happy Noz Virus Protection ผลิตภัณฑ์สติ๊กเกอร์หัวหอม สูตรป้องกันไวรัส ผลิตจากส่วนผสมออร์แกนิค 100% ถือว่ามีความโดดเด่นอย่างมากในด้านความใหม่และความน่าสนใจ พร้อมผลการทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ (Functional Claims and Supporting Data) ทั้งยังมีความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องตลาด จึงมีความเป็นไปได้สูงในการขยายตลาดในอนาคต (Marketing) โดยมีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ (Manufacturing) ไม่มีการลอกเลียนแบบหรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (IP Management) และสิ่งสำคัญคือผู้ประกอบการมีขีดความสามารถในการดำเนินงานสูง (Capability) สำหรับผลงานนวัตกรรมของผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลอีก 4 ทีม ต่างก็ความโดดเด่นในแง่มุมที่แตกต่างกัน และล้วนมีศักยภาพสูงในการพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจทั้งสิ้น”
ดร. ศิรศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติม “สำหรับงาน Bio Asia Pacific 2021 และงาน Bio Japan 2021 ซึ่งผู้ชนะทั้ง 5 ทีมได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าร่วมนั้น ถือเป็นเวทีการประชุมและการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ชั้นนำแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในสาขาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และระบบการดูแลสุขภาพอัจฉริยะ มุ่งเน้นเรื่องการดูแลบำบัดโรคและการส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ ซึ่งเกิดจากการผสานองค์ความรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพเข้ากับเทคโนโลยี ซึ่งผู้เข้าร่วมงานจะได้สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดในอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคนิคการแพทย์ การดูแลสุขภาพผ่านเครือข่ายดิจิทัล การรักษาแบบแม่นยำและจำเพาะ ชีวเภสัชภัณฑ์ บริการระบบการดูแลสุขภาพอัจฉริยะ และอีกมากมาย”
“วิสาหกิจที่มีฐานนวัตกรรมถือเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาให้อุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ของไทยเกิดความเข้มแข็ง ซึ่งการสนับสนุนจากภาครัฐจะช่วยเร่งการเติบโต และปลดล็อคอุปสรรคต่างๆ ช่วยให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจฐานนวัตกรรมสามารถขยายตลาดสู่สากล ส่งผลให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ” ดร.ศิรศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย
ทีเซลส์ (TCELS) ขอขอบคุณคณะกรรมการทุกท่านที่ให้เกียรติร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดผลงานนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย หรือผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ จากโครงการ TCELS Mentoring Program ภายใต้หัวข้อ ‘Journey to Success 2021: Episode II – Global Challenges’ ขอขอบคุณ ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและนวัตกรรมศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์, คุณสายันต์ ตันพาณิชย์ รองผู้ว่าการวิจัยเเละพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีเเห่งประเทศไทย, คุณนราพงษ์ ชมภูธัญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วินเทค168 จํากัด, คุณลักษณ์สุภา ประภาวัต นายกสมาคมการค้าคลัสเตอร์เครื่องสําอางไทย และ คุณนาคาญ์ ทวิชาวัฒน์ รองเลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมเเห่งประเทศไทย
และขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการ SMEs ทั้ง 5 ทีม ที่ชนะเลิศ จากการเข้าร่วมโครงการ TCELS Mentoring Program ภายใต้หัวข้อ ‘Journey to Success 2021: Episode II – Global Challenges’
ข้อมูล : ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)
เผยแพร่ข่าว : นายธัชนนท์ บุญหล้า
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.