กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์ความเป็นเลิศชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ฝ่ายยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและการลงทุน โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมสำหรับการขึ้นทะเบียนเป็น RTTP ครั้งที่ 2 หัวข้อ “เจาะลึกการเขียนบทความ RTTP และกรณีศึกษา” ร่วมเจาะลึกทุกเทคนิคที่ตอบโจทย์ความต้องการในการขึ้นทะเบียน RTTP วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม 2564 เวลา 13.00-16.30 น. ผ่านแพลตฟอร์มประชุมทางไกล Zoom Meeting
โดยได้รับเกียรติจาก นายชัยรัตน์ แสงจันทร์ รองผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์และบริหารองค์กรศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน และร่วมเจาะลึกถึงวิธีการเขียนบทความ Achievement Overview ให้ครบถ้วนและตรงประเด็น และรับฟังความคิดเห็นตัวอย่างบทความ (กรณีศึกษา) จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์ผ่านการขึ้นทะเบียน RTTP มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การเขียนบทความ RTTP และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อาทิ ดร.เลอสรร ธนสุกาญจน์ Technology Transfer Consultant, Eliza Stefaniw Advisor for Innovation Ecosystem Development King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT), ดร.พัชราภรณ์ วงษา ผู้อำนวยการโปรแกรมบริหารผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเสริมอาหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ และ ดร.กิตติพงศ์ เจียมวิทยานุกูล ผู้จัดการอาวุโสงานยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและการลงทุนศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เตรียมความพร้อมสำหรับการขึ้นทะเบียนเป็น RTTP ครั้งที่ 2 ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยมีผู้เข้าร่วมฟังและร่วมอบรมทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน
RTTP ย่อมาจาก Registered Technology Transfer Professional ซึ่งเป็นมาตรฐานรับรองระดับสากลในการประเมินความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของบุคคลในด้าน Knowledge Exchange, Knowledge Transfer หรือ Technology Transfer ผู้ที่จะได้รับการขึ้นทะเบียน RTTP นั้น จะเป็นผู้ที่มีบทบาทในการมีส่วนร่วม มีความคิดสร้างสรรค์ ในการแปรเปลี่ยนองค์ความรู้ หรืองานวิจัยให้เกิดเป็นคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคม และผลงานดังกล่าวนั้น ต้องเป็นที่ประจักษ์และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.