กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

สวทช. ผนึกกำลัง สพฐ. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ตอน ระบบ IoT กับการออกแบบกล่องปลูกพืชโดยใช้แสงเทียม สอดคล้องกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพื้นที่ EEC

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
31 ส.ค. 2564

1

          สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สายงานพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ร่วมจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ตอน ระบบ IoT กับการออกแบบกล่องปลูกพืชโดยใช้แสงเทียม ระหว่างวันที่ 21 – 23 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม zoom เพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนในโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

         เนื้อหา กิจกรรมและสื่อการเรียนการสอนเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีทางการเกษตรสมัยใหม่ “Plant Factory โรงงานผลิตพืช” และ “เทคโนโลยี IoT เพื่อการเกษตร” ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญของนักวิจัยสวทช. เน้นการนำความรู้เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ความยาวคลื่นและความเข้มของแสงที่เป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของพืชมาใช้ออกแบบแสงเทียมจากหลอดไฟ LED แทนแสงจากดวงอาทิตย์ในการควบคุมการเจริญเติบโตและสร้างสารออกฤทธิ์สำคัญบางชนิดที่มีประโยชน์และมูลค่าสูง รวมถึงการนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาช่วยในระบบการปลูกพืช

         ครูผู้สอนที่เข้าอบรมจะได้รับความรู้ผ่านกิจกรรม hands – on ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 เช่น การคิดวิเคราะห์ การสื่อสารข้อมูล การทำงานเป็นทีม ฯลฯ สามารถนำกิจกรรมและสื่อจากหลักสูตรนี้ไปออกแบบการจัดการเรียนรู้ พัฒนาต่อยอดเป็นผลงานหรือนวัตกรรมที่นำไปประยุกต์ใช้จริง อันเป็นพื้นฐานต่อยอดสู่อุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่ที่กำลังเติบโตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)

โดยมีครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาเข้าร่วมอบรมจากโรงเรียนในพื้นที่ EEC (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง) จำนวน 60 คน  ทั้งยังมีบุคลากรทางการศึกษามากกว่า 40 ท่าน เข้าร่วมสังเกตการณ์

2

3

         นางฤทัย จงสฤษดิ์  ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ สวทช. อัญเชิญพระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 เกี่ยวกับความสำคัญของการเกษตร เพื่อกล่าวต้อนรับความดังนี้  “…กสิกรรมและเกษตรกรรมเป็นเรื่องสำคัญมาก ท่านทั้งหลายจะต้องช่วยกันค้นคว้าหาความรู้และความชำนาญให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเสมอ และพยายามส่งเสริมเผยแพร่ความรู้ที่ได้ศึกษามาแก่กสิกร และเกษตรกร ให้ได้ทราบถึงวิธีปฏิบัติอันถูกต้องตามหลักวิชาอีกด้วย จึงจะเกิดประโยชน์แก่สังคมในด้านนี้ และเป็นผลดีแก่ประเทศชาติสืบไป…” (คัดตัดตอนจากพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 19 กรกฎาคม 2505) และ “…เศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับการเกษตรมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว รายได้ของประเทศที่ได้มาใช้สร้างความเจริญด้านต่าง ๆ เป็นรายได้จากการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่าความเจริญของประเทศต้องอาศัยความเจริญของเกษตรเป็นสำคัญ และงานทุก ๆ ฝ่ายจะดำเนินการก้าวหน้าไปได้ก็เพราะการเกษตรของเราเจริญ…” (คัดตัดตอนจากพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 9 กรกฎาคม 2507) ดังนั้นการส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจและมีประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องจะทำให้สามารถนำไปใช้เสริมในการออกแบบการเรียนรู้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้จัดประสบการณ์ให้แก่นักเรียนได้อย่างยั่งยืนต่อไป

         จากนั้นเป็นการบรรยายภาพรวมโครงการ โดย ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล  รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวถึงการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กับโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 หลักสูตร ได้แก่ 1) หลักสูตรยานยนต์และขนส่งสมัยใหม่ 2) หลักสูตรอาหารและอาหารเพื่ออนาคต 3) หลักสูตรเคมีชีวภาพ “จากทรัพยากรชีวภาพสู่การวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์” 4) หลักสูตร อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ตอน  ระบบ IoT กับการออกแบบกล่องปลูกพืชโดยใช้แสงเทียม ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักในเขตพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC

4

         โดยมี ดร.สมศักดิ์ ทองเนียม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง กล่าวเปิดการอบรม ต่อด้วยการบรรยายพิเศษ ภาพรวมการอบรมและพัฒนาครูหลักสูตรอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ตอน ระบบ IoT กับการออกแบบกล่องปลูกพืชโดยใช้แสงเทียม โดย อาจารย์ณภัทร ศรีละมัย ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา ซึ่งได้กล่าวถึงรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการที่เป็นการผสานสาระการเรียนรู้การงานอาชีพกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีมาพัฒนาให้งานเกษตรเกิดมูลค่ามากขึ้น ช่วยให้การทำงานสะดวก รวดเร็ว ไม่ได้เป็นเพียงการเรียนการสอนงานเกษตรหรืองานช่าง อีกทั้งยังเป็นการ Upskill ครูผู้สอนกลุ่มสาระการงานอาชีพร่วมกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ผสานความรู้ไปสู่วิทยาศาสตร์เพื่อการอาชีพ ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ทำได้จริง

5

         หลักสูตรที่ออกแบบโดยนางสาวจิดากาญจน์ สีหาราช นักวิชาการ ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ สวทช. และทีมวิทยากร แนะนำภาพรวมหลักสูตรซึ่งประกอบด้วยการบรรยายเนื้อหาความรู้และกิจกรรมปฏิบัติการเพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจ ได้ประสบการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเกษตรสมัยใหม่ ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคต คือ Plant Factory โรงงานผลิตพืช และเทคโนโลยี IoT เพื่อการเกษตร ผ่านกิจกรรม hands – on พร้อมเทคนิคและสื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมผ่านช่องทางแชตหรือโปรแกรมช่วยสอน รวมถึง สื่อ แอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น padlet Quizlet TikTok Canva

6

         การบรรยายช่วงแรกในหัวข้อ นวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่  plant factory โรงงานผลิตพืช เพื่อการเกษตรในอนาคต โดย ดร.เกรียงไกร  โมสาลียานนท์ นักวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ  สวทช. เกี่ยวกับแนวโน้มของเทคโนโลยีสมัยใหม่ plant factory โรงงานผลิตพืชเพื่อการเกษตรในอนาคต ความสำคัญของการปลูกพืชสมัยใหม่ที่มีการวางแผนออกแบบระบบปลูกและใช้แสงเทียม ตัวอย่างพืชที่นิยมปลูก บทบาทในมิติต่าง ๆ ของการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ในการปลูกพืช รวมถึงตัวอย่างงานวิจัยและเทคโนโลยีโรงงานผลิตพืช สวทช.

         ต่อด้วยการบรรยายที่น่าสนใจในหัวข้อ “รู้จักกับไมโครกรีน….ผักจิ๋วมหัศจรรย์” โดย ผศ.ดร.ณัฐชัย พงษ์ประเสริฐ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นำเสนอ “ไมโครกรีน” ที่มีคุณประโยชน์และเป็นที่นิยมในปัจจุบัน แนวโน้มการปลูกพืชแนวใหม่ การปลูกโดยใช้เทคโนโลยีการออกแบบแสงเทียม รวมถึง IoT กับการเกษตรสมัยใหม่เพื่อควบคุมคุณภาพผลผลิตและกระตุ้นสารสำคัญในพืช ปิดท้ายด้วยการลงมือปลูกพืชไมโครกรีนของคุณครูผู้เข้าร่วมอบรม

7

         ภาคบ่ายต่อด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจในหัวข้อ เทคโนโลยี IoT กับการเกษตรสมัยใหม่ การปรับใช้ในการจัดกิจกรรม STEM ศึกษาในชั้นเรียน โดย ผศ.ดร.จุฬาลักษณ์ วัฒนานนท์ นายพลวัฒน์ จินตนาภรณ์ และนายประภาส ทองรัก จากสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ซึ่งเริ่มกิจกรรมด้วย “Coding กับ KidBright IoT” เกี่ยวกับการใช้งานบอร์ด KidBright ขั้นพื้นฐานต่าง ๆ เช่น การสร้างบล็อกคำสั่ง การสร้างเงื่อนไข แล้วเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มห้องย่อยของ Zoom

8

         วันที่ 2 ของการอบรมเริ่มด้วยกิจกรรม “Coding กับ KidBright IoT” ต่อเนื่องจากวันแรก เป็นความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรและนำมาประยุกต์เป็นกิจกรรม STEM ในชั้นเรียน โดยเรียนรู้ระบบการใช้งานและปฏิบัติการสร้างคำสั่งใช้งานระบบ IoT สั่งการผ่านแอปพลิเคชัน KidBright IoT รวมถึงระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เชื่อมโยงสู่การออกแบบระบบการดูแลพืชในกล่องปลูกพืช โดย ผศ.ดร.จุฬาลักษณ์ วัฒนานนท์ นายพลวัฒน์ จินตนาภรณ์ และทีมผู้ช่วยวิทยากร จากสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี

         ต่อด้วยกิจกรรม เรียนรู้สเปกตรัมแสง เพื่อการเพาะปลูกพืช ไมโครกรีน โดย ดร.อัชฌา กอบวิทยา นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และนางสาวกมลชนก ดวงกันยา เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ความรู้พื้นฐานเรื่องแสงและปฏิบัติการวัดค่า PPFD (Photosynthesis Photo Flux Density) หน่วยวัดปริมาณแสงที่พืชใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง เปรียบเทียบความเข้มแสงที่ได้จากจำนวนหลอดไฟที่แตกต่างกัน ระยะทางที่แตกต่างกัน สำหรับเป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบกล่องปลูกพืช

         หลังจากนั้นเป็นการบูรณาการเชื่อมโยงเนื้อหาความรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช แสงที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ไมโครกรีน และระบบ IoT เพื่อปฏิบัติภารกิจกลุ่มออกแบบกล่องปลูกพืชไมโครกรีนที่ใช้ระบบควบคุมแสงเทียม

9

เริ่มกิจกรรมวันสุดท้ายด้วยการนำเสนอผลงานการออกแบบกล่องปลูกพืชไมโครกรีนโดยใช้ระบบ IoT ดูแลพืชและผลิตภัณฑ์จากไมโครกรีน เมนูอาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ด้วยโปสเตอร์ Canva

         เสริมด้วยการบรรยาย หัวข้อ การนำกิจกรรมจากหลักสูตรอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ตอน  ระบบ IoT กับการออกแบบกล่องปลูกพืชโดยใช้แสงเทียม ไปสู่การออกแบบการจัดทำรายวิชาเพิ่มเติมในสถานศึกษา โดย คณะศึกษานิเทศก์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง  นำโดย ศน.อมร สุดแสวง และคณะศึกษานิเทศก์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา นำโดย ศน.ณภัทร ศรีละมัย เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเห็นแนวทางการนำความรู้ สื่อการเรียนรู้ กิจกรรม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับจากการอบรมไปปรับประยุกต์ใช้ต่อไป โดยรูปแบบการนำไปใช้อาจจะเป็นกิจกรรมชุมนุม ค่ายวิชาการ หน่วยการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ในรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาเพิ่มเติมตามแผนการเรียน ซึ่งครูผู้เข้าอบรมได้ระดมความคิดในกลุ่มย่อยออกแบบเป็นร่างแนวทางการนำกิจกรรมไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน ก่อนที่จะสรุปกิจกรรมและร่วมกันวางแผนการดำเนินงานติดตามการนำกิจกรรมไปใช้ในสถานศึกษาต่อไป

10

11

         เสียงสะท้อนส่วนหนึ่งจากผู้เข้าร่วมอบรม จาก คุณครูสรัญญา จาก รร.พนมสารคาม พนมอดุลวิทยาฉะเชิงเทรา “ได้รู้จักกับ plant factory ไมโครกรีน การปลูกโดยใช้แสงเทียม KidBright ขอขอบคุณทีมวิทยากรทุกท่านที่ได้นำความรู้ใหม่ ๆ มาให้เรา เกิดแนวคิดใหม่ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนได้”

         “ชอบทุกกิจกรรมเลยค่ะ อุปกรณ์ครบถ้วนมาก ๆ ได้ไอเดียในการในการจัดการเรียนรู้ ขอบคุณทุก ๆ ฝ่ายเลยค่ะ” จากคุณครูธนิษฐา อินทมาตยากูล รร.พานทองสภาชนูปถัมภ์ ชลบุรี

         “เป็นการอบรมที่ดีมาก มีอุปกรณ์ให้ดำเนินกิจกรรม ได้ลงมือปฏิบัติ ทำให้รู้ถึงปัญหาก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการสอน แต่การเขียนโปรแกรมต้องใช้เวลา หากมีครั้งต่อไป อยากให้ขยายเวลาแบ่งเป็นส่วน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะการเขียน code ต้องใช้เวลาและแต่ละคนมีพื้นฐานต่างกัน ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ในครั้งนี้ค่ะ” จาก คุณครูทิวาพร คนหาญ รร.สุนทรภู่พิทยา ระยอง

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
ฝึกอบรม “การประเมินแผนฉุกเฉินและการรายงานเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี สำหรับสถานประกอบการ " ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ สัมมนาวิชาการ Wind direction sensor calibration

เรื่องล่าสุด

“อว. Job Fair 2025” ปิดฉากอย่า ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
“อว. Job Fair 2025” ปิดฉากอย่างคึกคัก วันที่สามคนแน่นงาน กระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานทั่วประเทศ
11 พ.ค. 2568
“สุชาดา” เลขาฯ รมว.อว. ร่วมพิธ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“สุชาดา” เลขาฯ รมว.อว. ร่วมพิธีวางพานพุ่มอนุสาวรีย์ ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ และพิธีมอบโล่รางวัล-ทุน ในงาน...
11 พ.ค. 2568
“ศุภมาส” เดินเกมรุกจัดงาน “อว. ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เดินเกมรุกจัดงาน “อว. Job Fair 2025” ยิ่งใหญ่กลางกรุง ตลาดอาชีพเพื่ออนาคต ชูเป้าหมายเปลี่ยน...
10 พ.ค. 2568

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.