5 กันยายน 2564 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดพิธีปิดและประกาศผล “การแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน” The 7th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2021) รูปแบบออนไลน์ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีปิดฯ พร้อมด้วย ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และ ศ.ดร.ศุภวรรณ ตันตยานนท์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมในพิธีปิดฯ ดังกล่าว ซึ่งมีเยาวชนจาก 5 ประเทศอาเซียนเข้าร่วม ได้แก่ ไทย มาเลเซีย กัมพูชา อินโดนีเซีย และสิงคโปร์
ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานในพิธีปิดฯ กล่าวว่า “การแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน The 7th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2021) ครั้งนี้ได้ดำเนินมาถึงวันสุดท้ายของการแข่งขันฯ กระทรวง อว. รู้สึกชื่นชมที่ทาง อพวช. และสมาคมวิทย์ฯ เจ้าภาพหลักของการจัดการแข่งขันฯ ในครั้งนี้ เปิดโอกาสให้เยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียนได้มีเวทีการประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ นอกจากจะเป็นการสนับสนุนให้เยาวชนพัฒนาทักษะและความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ยังช่วยสร้างเครือข่ายของกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่เพื่อสนองความใฝ่รู้และความสามารถของพวกเขาในด้านวิทยาศาสตร์ให้มากยิ่งขึ้น โดยขอชื่นชมเยาวชนที่เข้าร่วมในการแข่งขันครั้งนี้ ทั้งผู้ที่ได้รับรางวัลหรือไม่ได้รางวัล ถือว่าเป็นเยาวชนคนเก่ง และขอให้เก็บเกี่ยวประสบการณ์และความพยายามในครั้งนี้ นำผลงานไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาประเทศชาติต่อไปได้”
ด้าน ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า “สำหรับกิจกรรมการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน The 7th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2021) ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 -5 กันยายน 2564 ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะของเยาวชนและการแบ่งปันประสบการณ์ และการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเยาวชนที่ได้เข้าร่วมในครั้งนี้ ได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และด้านการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้ง ได้นำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ และได้ร่วมพูดคุยและแสดงความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญ โดย อพวช. ขอแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของเยาวชนทุกคน ซึ่งเวทีนี้ถือเป็นโอกาสที่เยาวชนจะสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ และได้นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนต่อไป”
ศ.ดร. ศุภวรรณ ตันตยานนท์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “สมาคมวิทย์ฯ รู้สึกยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการแข่งขันโครงงานวิทย์ฯ ระดับอาเซียนในครั้งนี้ ขอแสดงความยินดีแก่เยาวชนทุกท่าน การเข้าร่วมกิจกรรมนี้คือการได้รับประสบการณ์ที่ดีและมีค่าสำหรับเยาวชนทุกคน และขอแสดงชื่นชมเยาวชนทุกทีม ทั้งเยาวชนไทย และกลุ่มอาเซียน ที่ได้รับรางวัลไปในครั้งนี้ และขอให้เยาวชนทุกคนได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ความรู้จากการประกวดในครั้งนี้ โดยหวังว่าโครงงานที่เยาวชนได้พัฒนาขึ้นจะถูกต่อยอดและถูกนำมาใช้งานจริงเพื่อพัฒนาประเทศและอาเซียนของเราต่อไปในอนาคต”
สำหรับผลรางวัล “การแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน” The 7th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2021) มีดังนี้
รางวัลโครงงานแห่งปี ASPC 2021
รางวัล |
ประเทศ |
สมาชิกในทีม |
ชื่อโครงงาน |
โครงงานแห่งปี ASPC 2021 |
สิงคโปร์ |
1. Kiefer Ong Xian Yao 2. Pierre Yeap Yu Song 3. Ng See Jay |
การสังเคราะห์สารเฟอร์โรฟลูอิดแม่เหล็กที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยใช้สารสกัดจากเปลือกส้มเพื่อทำความสะอาดคราบน้ำมัน |
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ
รางวัล |
ประเทศ |
สมาชิกในทีม |
ชื่อโครงงาน |
รางวัลชนะเลิศ |
สิงคโปร์ |
1. Tham Yun Xin |
การหาปริมาณสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานจลน์ด้วย Timoshenko Oscillator |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 |
ไทย |
1. Arponpat Tharnlert 2. Sasipimon Saenbon |
กลไกตอบสนองต่อการดักจับเหยื่อของ Drosera spatulata L. และการประยุกต์ใช้ในประเด็นต่างๆ |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 |
ไทย |
1. Nanthawat Wiwatpisit |
ความลับที่ซ่อนอยู่ภายใต้การขุดจิ้งหรีด |
รางวัลชมเชย |
อินโดนีเซีย |
1. Anisa – Nurmaharani 2. Tsabita - Hasina Artanti |
การประยุกต์ใช้การสังเคราะห์จุดคาร์บอน (C-Dots) จากเศษฟางข้าว (Oryza sativa) เป็นตัวดูดซับแคดเมียม (Cd) ในน้ำในแม่น้ำ Gelis Kudus |
รางวัลชมเชย |
กัมพูชา |
1. Channita Ching 2. Sokputhiserey Choub |
ตัวดักจับมลพิษ |
รางวัลชมเชย |
ไทย |
1. Jariyaporn Kongsap 2. Thunthida thiwato 3. Pimpisut Sutti-arj |
การศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานความร้อนโดยใช้เขื่อนที่มีในชนบท |
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
รางวัล |
ประเทศ |
สมาชิกในทีม |
ชื่อโครงงาน |
รางวัลชนะเลิศ |
สิงคโปร์ |
1. Maggie Yao Chai YinZhi 2. Aw Si Yu |
Supplementary DHA ameliorates motor and cognitive dysfunction in Drosophila melanogaster model of Alzheimer’s Disease |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 |
ไทย |
1. Warakorn Thammawong 2. Natnicha Punyainkaew 3. Ratchanon Metheesitthikun |
การเลี้ยงครั่งรูปแบบใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงอย่างยั่งยืน |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 |
ไทย |
1. Natthida Benjapiyaporn 2. Nonthaporn Srikha |
การศึกษาพฤติกรรมและการพัฒนา รังเทียมเพื่อบำรุงแมลงลอบสังหาร(S.ycanus indagator Stil.) ที่เป็นประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืชทางชีวภาพ |
รางวัลชมเชย |
สิงคโปร์ |
1. Mahendran S/O Ravindran 2. Ethan Lim Herng Rwei 3. Kuan Ming Jie |
การตรวจคัดกรองสารต้านจุลชีพ สารต้านอนุมูลอิสระ ความเป็นพิษ และไฟโตเคมิคัลของ Dieffenbachia Camilla และการสังเคราะห์วิธีการจัดส่งเฉพาะที่แปลกใหม่และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
รางวัลชมเชย |
ไทย |
1. Karit Keereekaew 2. Teerateep Boonlernt 3. Kornkanok Promruk |
การเลียนแบบการผสมเกสรของตัวต่อมะเดื่อ: นวัตกรรมสำหรับการผลิตมะเดื่อกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ (Ficus racemosa) |
รางวัลชมเชย |
อินโดนีเซีย |
1. NAJWA AZIZAH ISMAIL |
การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ความหลากหลายของสื่อปลูกที่อุดมด้วย M-Bioporation เพื่อเพิ่มการผลิตและคุณภาพของไมโครกรีน |
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์
รางวัล |
ประเทศ |
สมาชิกในทีม |
ชื่อโครงงาน |
รางวัลชนะเลิศ |
สิงคโปร์ |
1. Jonathan Lee Beng Fong 2. Lu Zihan 3. Lok Peng Yee |
การสังเคราะห์แคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์สีเขียวโดยใช้เปลือกไข่เพื่อกำจัดไอออนของโลหะหนักและฟลูออไรด์ไอออน |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 |
สิงคโปร์ |
1. Yin Leng Angelina – Wong 2. En Kai Ethan – Kuai |
การตรวจสอบประสิทธิผลของมาตรการป้องกันโควิด-19 |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 |
ไทย |
1. Pran Daengsakun 2. Norapat Prombute 3. Pariya Premuthai |
Sign It Loud |
รางวัลชมเชย |
สิงคโปร์ |
1. Malcolm Sow Miaogeng |
การเกิดขึ้นของคุณสมบัติเรืองแสงในเส้นผมมนุษย์ที่ปรับแต่งโดยการปรับลำแสงเลเซอร์ |
รางวัลชมเชย |
สิงคโปร์ |
1. Lim Zhi Yan 2. Vicky Ang Xin En 3. Woon Zee Ning |
ศักยภาพของตัวกระตุ้นทางเคมีที่เป็นกรดและด่างของ Biochar สำหรับการกำจัดไอบูโพรเฟนอย่างมีประสิทธิภาพ |
รางวัลชมเชย |
ไทย |
1. Jeerapat Phupaga 2. Pornpawee Phakhathiphakorn |
การเตรียมลูกประคำสารสกัดจากฝางสำหรับใช้ในครีมปฏิชีวนะ |
Consolation |
มาเลเซีย |
1. Ivan Lim Zee Lun 2. Kang Yi Te 3. Ong Zhi Zheng |
โอ้โห! หมวกกันน็อค |
Consolation |
อินโดนีเซีย |
1. Rafi Irsyad - Saputra |
นวัตกรรมหน้ากากดูดซับนิโคติน และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากสารสกัดใบไผ่ไทย (Thyrsostachys siamensis) และใบโกสน (Codiaeum variegatum) |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.