เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดการเสวนาวิชาการซีรีส์กรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 เรื่อง “จีน-ไทยใช่ใครอื่น : พลวัตชาวจีนในกรุงศรีอยุธยา” จัดโดยสำนักงานวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา) โดยมี ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงฯ ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงฯ และผู้บริหารกระทรวง อว. เข้าร่วมงาน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
รองศาสตราจารย์พาสิษธิ์ หล่อธีรพงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การจัดเสวนาในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่มาพูดคุยในเรื่องเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา การเสวนาในครั้งแรกนั้นเป็นเรื่องราวของความหลากหลายในอยุธยาทั้งมิติในเรื่องประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ปรากฏการณ์ต่างๆ รวมถึงโบราณคดี โบราณวัตถุ ที่สามารถพิสูจน์ทราบด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ประวัติศาสตร์ไม่ใช่วิชาของอดีต แต่เป็นวิชาที่เป็นรอยต่อระหว่างเวลา ศิลปะในยุคใดๆ ถือเป็นภาพสะท้อนและแสดงพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี ดังนั้นงานศิลปกรรมจึงไม่ใช่แค่รูปแบบและขวากหนาม แต่เป็นเครื่องธำรงความรู้และภูมิปัญญาได้เป็นอย่างดี การเสวนาในวันนี้เราจะขยับกรุงศรีอยุธยาต่อเป็นครั้งที่สอง ซึ่งจะเจาะลึกไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน โดยใช้หัวข้อ จีน-ไทยใช่ใครอื่น : พลวัตชาวจีนในกรุงศรีอยุธยา ซึ่งจะเป็นการเจาะลึกในประเด็นทางวัฒนธรรมและการค้าขาย ซึ่งจีนเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อเราทั้งทางด้านการค้าการทูต การทหาร และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ข้อมูลที่จะได้รับฟังในวันนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน
รมว.เอนก กล่าวว่า เมื่อครั้งเสวนาซีรีส์กรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา ในหัวข้อ อยุธยา on the move ได้เห็นการผสมผสานกันระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นจุดแข็งของกระทรวง อว. ทำให้ได้เห็นกระทรวง อว. มีความแข็งแกร่งทางด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ และความแข็งแกร่งด้านวิทยาศาสตร์ ในครั้งนั้นวิทยากรได้ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรมและการศึกษาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับบางเรื่องราวในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา และการต่อยอดองค์ความรู้ศิลปกรรมสมัยอยุธยาสู่ปัจจุบัน ซึ่งผู้ที่ได้รับฟังการเสวนาในครั้งนั้นจะพบว่ากรุงศรีอยุธยา มีเรื่องราวที่ดีมากกว่าที่เคยคิดไว้ อยุธยาเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของโลกตะวันออกในเวลานั้น การเสวนาครั้งนั้นยังได้เห็นการผสมผสานเป็นอย่างดีระหว่างวิทยาศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์
ในฐานะที่เป็นกระทรวง อว. เราเกิดความมั่นใจว่าจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรม ด้วยเหตุนี้ตนจึงรู้สึกดีใจ สนับสนุน และตั้งใจที่จะรับฟังเสวนาวิชาการซีรีส์กรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 เรื่อง “จีน-ไทยใช่ใครอื่น : พลวัตชาวจีนในกรุงศรีอยุธยา” เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเชื้อชาติหลากหลาย มีชาติพันธุ์ ชาติภูมิมากมาย สิ่งเหล่านั้นล้วนแต่มีส่วนในการสร้างความเป็นไทย โดยเฉพาะไทยกับจีนซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การเสวนาวิชาการซีรีส์กรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 เรื่อง “จีน-ไทยใช่ใครอื่น : พลวัตชาวจีนในกรุงศรีอยุธยา” นี้ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้ ประกอบไปด้วย อาจารย์ภูมิ ภูติมหาตมะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ดร.พิภู บุษบก คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ
เขียนข่าว : วีนัส แก้วประเสริฐ
ถ่ายภาพ : อินทิรา บัวลอย
เผยแพร่ข่าว : ปราณี ชื่นอารมณ์
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2610 5241-47 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.