17 พฤศจิกายน 2564 : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดกิจกรรมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศของเหล่าทีม U2T ใน U2T National Hackathon 2021 เป็นการนำเสนอผลงาน (Pitching) ของ 40 ทีม U2T ที่สร้างสรรค์นวัตกรรมผลงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ จัดขึ้นภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2564 ณ อิมแพ็คอารีน่า เมืองทองธานี ซึ่งจะคัดเลือก 5 ทีมสุดท้ายที่ชนะเลิศการแข่งขัน สู่การ Showcase ผลงานที่พัฒนาต้นแบบมาตลอดโครงการออกสู่สายตาประชาชน
โครงการ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้กับประเทศ เกิดขึ้นมาพร้อมกับปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นในปัจุบัน ทำให้เกิดว่างงานของประชาชนและบัณฑิตจบใหม่ในช่วง COVID-19 กระทรวง อว. และมหาวิทยาลัยทั่วประเทศจึงได้ร่วมมือกัน ส่งต่อความรู้ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และทรัพยากรในเชิงพื้นที่ เพื่อต้องการให้เกิดการขับเคลื่อนและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนในระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศ และเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ จึงได้จัดการแข่งขันทีม U2T ที่สร้างสรรค์นวัตกรรม และคัดเลือก 40 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย มานำเสนอผลงาน (Pitching) เพื่อคัดเลือกหา 5 ทีมสุดท้ายที่ชนะเลิศระดับประเทศต่อไป ต่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงการศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และยังเป็นกลุ่มผู้ริเริ่มจัดตั้งโครงการและเป็นกำลังในการขับเคลื่อนโครงการ U2T ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว. ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรมและวิสาหกิจ นางสาววนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ และอีก 2 ผู้ทรงคุณวุฒิ คือ คุณอัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ นักแสดงชื่อดัง และคุณวิลาวรรณ ฤกษ์เกรียงไกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ Franchise & New Business บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) กรรมการผู้จัดการใหญ่ ออฟฟิศเมท พลัส ซึ่งจะร่วมเฟ้นหา 5 สุดยอดทีมชนะเลิศตามโจทย์ปัญหาของแต่ละตำบล คือ
1. การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ)
2. การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว)
3. การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ)
และ 4. การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน)
เขียนข่าว : วัชรพล วงษ์ไทย
เผยแพร่ข่าว : ปราณี ชื่นอารมณ์
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2610 5241-47 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailan
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.