เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 นายธนาภรณ์ โกราษฎร์ หัวหน้าโครงการบริหารจัดการโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า วิศวกรอาวุโส สํานักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (MTEC สวทช.) พร้อมด้วย นายจิรวัฒน์ วงษ์สมาน ผู้แทนกองส่งเสริมและประสานประโยชน์เพื่อวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และนายประสาร บุนฑารักษ์ เลขาธิการสมาคม เครื่องจักรกลไทย ร่วมกันแถลงข่าว “โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรม เพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า หุ่นยนต์เอไอ และ หนูนา หุ่นยนต์ทํานา” ณ บริษัท ทีซี เวลดิ้ง ออโตเมชั่น จำกัด อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
นายธนาภรณ์ กล่าวถึงที่มาของโครงการนี้ว่า สวทช. มีภารกิจในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการทําวิจัยและพัฒนา การส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ช่วยต่อยอดให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรมโดยมีทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกลซึ่งเป็นหนึ่งในทีมวิจัยท่ีมีบุคลากรพร้อมความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยมีความร่วมมือกับกองส่งเสริมและประสานประโยชน์เพื่อวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สป.อว. ในการจัดตั้งโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ซึ่งมีกรอบการทํางานที่โดดเด่นคือการสนับสนุนงบประมาณให้กับหน่วยงานประเภทองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรและสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาสร้างเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกิดประโยชน์แก่ประเทศ โดยจะต้องนําเสนอแง่มุมด้านความใหม่ ไม่จําเป็นต้องไม่ซ้ำใคร แต่สร้างโอกาสการขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้ด้วยโอกาสทางทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเหมาะสม หลังจาก industry 4.0 ยุคของ IoT ยุคแห่งการ disrupt technology และยุคแห่ง digital twin ที่เริ่มเข้ามามากขึ้น การพัฒนาจะไม่ใช่เพียงการลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย หาตลาดใหม่ เลือกว่าจะอยู่ในตลาด mass หรือ ตลาด niche แต่ต้องพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงเสมอ ซึ่งโครงการนี้พยายามสนับสนุนให้เกิดโอกาสและสนับสนุนให้ภาคส่วนที่สอดคล้องตามเงื่อนไขของโอกาสได้มีบทบาทในการสร้างประโยชน์ร่วมกันให้ได้มากที่สุด
นายจิรวัฒน์ กล่าวว่า กิจกรรมในโครงการฯ คือการพัฒนาผลงานที่ต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมย้อนรอย ซึ่งเริ่มต้นขึ้นโดยสํานักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สํานักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว และเมื่อเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม พร้อมกับชื่อสํานักที่เปลี่ยนเป็นกองส่งเสริมและประสานประโยชน์เพื่อวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม พร้อมทั้งกรอบการทํางานด้านพัฒนาผลงานที่จากเดิมประเทศไทยยอมรับว่าการพัฒนาผลงานทางวิศวกรรมด้วยนวัตกรรมฝีมือคนไทยยังมีข้อจํากัดอยู่มาก ในช่วงแรกจึงเกิดการ shortcut วิธีการด้วยการทํา copy and development หรือการทํา reverse engineering อย่างแพร่หลาย แต่ขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยนั้นมีการปรับตัวและนําเสนอสิ่งใหม่อยู่ตลอดนับตั้งแต่โลกเข้าสู่ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร การผลักดันนวัตกรรมใหม่ ๆ ถูกนําเสนอออกมาอย่างรวดเร็วมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่มีความโดดเด่นในด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมทั้งสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี ชาติใน ยุโรป และจนมาสู่ยุคที่จีนคือประเทศอันดับต้น ๆ ของโลกเช่นกันในบทบาทการสร้างนวัตกรรมเหล่านี้จึงเป็นสิ่งเร้าที่ทําให้ประเทศกําลังพัฒนาและต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติเป็นหลักอย่างชาติในอาเซียนต้องปรับตัวและในฐานะที่ อว. เป็นหน่วยงานภาครัฐ การสนับสนุนและส่งเสริมทั้งในเชิงอุดหนุนงบประมาณ การสร้างพื้นที่เพื่อการนําเสนอการผลักดันด้วยกลไกต่าง ๆ กิจกรรมที่เป็นการผลักดัน เช่น การจัดประกวดรางวัลเครื่องจักรกลยอดเยี่ยมร่วมกับสมาคมเครื่องจักรไทย การจัดกิจกรรมการสนับสนุนด้วยทุนวิจัย การมีกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ การประกวดผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ และการนําหน่วยงานระดับมหาวิทยาลัยมาร่วมในกิจกรรมการพัฒนาแผนงานที่หวือหวาอย่าง hackaton เป็นต้น ในขณะที่การประกวด tedtalk หรือการ pitching ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย สร้าง influencer หน้าใหม่แบบข้ามคืนก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจเช่นกัน
ด้าน นายประสาร กล่าวว่า สมาคมเครื่องจักรกลไทย เกิดจากการรวมตัวของผู้ประกอบการไทยเพื่อเป็นศูนย์รวมของผู้ผลิตเครื่องจักรโดยฝีมือคนไทย โดยทางสมาคมฯ เป็นหน่วยงานประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชน มีบทบาทร่วมกันที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมเพื่อการผลิตใช้ภายในประเทศและการส่งออก ลดและทดแทนการนําเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ และสําหรับโครงการนี้เป็นโครงการที่ตอบโจทย์ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมไทย เกิดผลงานที่ชื่อว่า “หุ่นยนต์เอไอ และหนูนา หุ่นยนต์ทํานา ของบริษัท ที.ซี.เวลดิ้ง ออโตเมชั่น จํากัด” โดยทุกท่านสามารถติดตามความเคลื่อนไหวและความร่วมมือระหว่างสมาคมฯกับหน่วยงานต่างๆและโครงการอื่นๆได้ทาง เว็บไซต์ https://thai-machinery.or.th
ข่าว : นางสาวพรชิตา รุกขชาติ
ถ่ายภาพ : นายสกล นุ่นงาม
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3972 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.