เมื่อวันที่ 18 ต.ค. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย นักวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับ สำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เรียนรู้การจัดการโรคและแมลงในทุเรียนด้วยชีวภัณฑ์” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG แบบบูรณาการเชิงพื้นที่ (Area based): การจัดการทำแบบมาตรฐานจัดการศัตรูพืช (Standard Operating Procedure: SOP) โดยใช้ชีวภัณฑ์แบบผสมผสานในพืชเศรษฐกิจ ทุเรียน ตามที่รัฐบาลสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยไม่สร้างผลเสียต่อเศรษฐกิจ หรือการฟื้นฟูสีเขียว (Green Recovery) ซึ่งเป็นแนวทางและมาตรการในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความเจริญเติบโตแบบยั่งยืน รวมทั้งสอดคล้องตามนโยบาย “วิจัย-นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ” และ “เน้นประเด็นสำคัญของประเทศ” ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ภายใต้การนำของ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ในพิธีเปิดการอบรมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมงานจากหลายภาคส่วน อาทิ ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา รองผู้อำนวยการ ไบโอเทค (สวทช.) และกลุ่มนักวิจัยไบโอเทค นำโดย ดร.อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน และทีมวิจัย นางอุบล มากอง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง และ น.ส.วรนุช สีแดง เกษตร จังหวัดระยอง พร้อมด้วย นายกฤษฎา ฉิมอินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชลบุรี ตลอดจนผู้นำชุมชนและเกษตรกรจำนวนมากเข้าร่วมในงาน ณ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
ดร.วรรณพ กล่าวว่า การฟื้นฟูเศรษฐกิจในลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเติบโตแบบยั่งยืน เป็นเป้าหมายสำคัญในการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ในการขับเคลื่อนภาคการเกษตร ซึ่งประเทศไทยมีความหลากหลายทางทรัพยากรชีวภาพสูงมาก ทั้งจุลินทรีย์ พืช และ สัตว์ โดยทางทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ ไบโอเทค สวทช. ได้ทำการศึกษาความหลากหลายของสายพันธุ์จุลินทรีย์ มุ่งเน้นค้นหาและศึกษาความเป็นประโยชน์ของจุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการเกษตร มุ่งเน้นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นชีวภัณฑ์ การย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งจากไร่นา และจุลินทรีย์การกระตุ้นการเจริญเติบโตและการดูดซับธาตุอาหารที่มีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันไบโอเทค สวทช. มีคลังจุลินทรีย์ของประเทศ (TBRC) ที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้น ๆ ของเอเชีย จากการวิจัยยาวนานกว่า 20 ปี ทำให้สามารถคัดกรองและคัดเลือกสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืช โรคและแมลงสำคัญในพืชเศรษฐกิจของ
ด้านนักวิจัย ดร.อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน นักวิจัยอาวุโส หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ ไบโอเทค สวทช. เปิดเผยว่า ทีมวิจัยได้ทำการสำรวจโรคและแมลงศัตรูที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่จังหวัดระยอง และทดสอบประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ในการจัดการสวนทุเรียน ทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการระบาดของโรคและแมลงสำคัญ เพื่อสร้างองค์ความรู้และกระบวนการจัดการปัญหาโรคและแมลงในสวนทุเรียนด้วยชีวภัณฑ์ทดแทนการใช้สารเคมีที่มีอันตราย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนอินทรีย์หรือทุเรียนปลอดภัย และส่งผลดีต่อสุขภาพของเกษตรกร แรงงานไทยและต่างชาติ รวมถึงผู้บริโภค และลดการปนเปื้อนของสารเคมีเกษตรสู่แหล่งน้ำหรือสิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลเสียทางอ้อมต่ออุตสาหกรรมสัตว์น้ำและการท่องเที่ยวด้วยคาดการณ์ว่าจะสามารถเริ่มเปิดใช้งานได้ในปี 2567 โดยคาดหวังว่าระบบนี้จะสนับสนุนให้เกิดการใช้ชีวภัณฑ์เป็นวงกว้างและยั่งยืนได้ต่อไป”
สำหรับเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องที่สนใจ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ ไบโอเทค สวทช. โทร. 0 2564 6700 ต่อ 3378, 3364 อีเมล ibct.biotec@gmail.com เพจ Facebook: ชีวภัณฑ์ไบโอเทค เพื่อผักผลไม้ปลอดภัย และทาง X (Twitter): Green Crop Defender @GCD_Squad
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรชิตา รุกขชาติ
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3972 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.