วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมโดย วิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ ธัชชา (สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง) ได้ตรวจเยี่ยม โครงการวิจัยการพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืนของประเทศระยะที่ 2 ในกิจกรรม "การพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ชุมชนต้นตาล จังหวัดสุพรรณบุรี" ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยในการตรวจเยี่ยมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ศ.(พิเศษ) ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ รศ.ดร.ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ร่วมด้วย รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี ที่ปรึกษาธัชชา น.ส.ฉัตต์ธิดาบุญโต ผอ.สำนักงานบริหารวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ผศ. ดร.วารุณี ศรีสงคราม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
โดยโครงการวิจัยในระยะที่ 2 นี้ ได้ต่อยอดมาจากระยะที่ 1 ที่ได้พัฒนาแผนที่ท่องเที่ยวชุมชน พัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการการท่องเที่ยว รวมถึงกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง โดยสร้างความร่วมมือกับชุมชนตำบลต้นตาล หน่วยงานส่วนท้องที่ หน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ภาคเอกชนและองค์กรอิสระ เช่น สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี บริษัทธุรกิจนำเที่ยว ร้านคาเฟ่ ร้านอาหารในพื้นที่ ร้านขายของที่ระลึกและผู้ประกอบการธุรกิจที่พัก หอการค้าจังหวัดสุพรรณบุรี สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น โดยจุดมุ่งหมายของการทำงานในระยะที่ 2 นี้ ได้ทำการต่อยอดผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน ไม่ว่าจะเป็น “ปลาหมำ” ที่เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของตำบลต้นตาล ที่สามารถนำมาแปรรูปได้อย่างหลากหลาย ทั้งเป็นน้ำพริก หรือปลาหมำสมุนไพรทอดกรอบ และยังมีลอดช่อง ชาสมุนไพร ข้าวห่อใบบัว ผลิตภัณฑ์เกสรบัวหลวง น้ำอ้อย ขนมหวานและมะดันแช่อิ่ม เป็นต้น รวมถึงการฟื้นฟูตลาดน้ำสะพานโค้ง ที่มีอัตลักษณ์เป็นสุ่มปลายักษ์ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวและขายผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี ที่จะสร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านต้นตาล โดย อ.ธง คำเกิด นักวิจัย ได้กล่าวถึงการทำงานของโครงการนี้ว่า ได้เข้าไปเติมเต็มชุมชน เน้นสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับบริบทและศักยภาพของพื้นที่ ถึงเป็นแก้ปัญหาของคนในพื้นที่อย่างตรงจุด รวมถึงสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ ด้วยวิธีเกษตรสู่การเรียนรู้ใน 9 กิจกรรม โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข และ 23 หลักการทรงงานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวง รัชกาลที่ 9 ด้วยการมีตัวชี้วัดเพื่อก้าวสู่การเป็นชุมชนต้นแบบ รวมไปถึงได้ร่วมกับโรงเรียนวัดทองประดิษฐ์เพื่อจัดทำหลักสูตรบูรณาการท้องถิ่น "ยุวมัคคุเทศก์" เพื่อให้เยาวชนได้ฝึกการเรียนรู้และถ่ายทอดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องราวของวิถีชุมชนบ้านต้นตาล และวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น เพลงอีแซว และยังถือเป็นการเตรียมความพร้อมในการเปิดตลาดรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย ซึ่งเป้าหมายของงานวิจัยนี้ ต้องนำไปสู่ความยั่งยืน โดยการขจัดความยากจนพร้อมส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจและการมีงานทำของคนในชุมชน ซึ่งเป้าหมายของงานวิจัยนี้ ต้องนำไปสู่ความยั่งยืน โดยการขจัดความยากจน พร้อมส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจและการมีงานทำของคนในชุมชน
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรชิตา รุกขชาติ
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3972 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.