(16 กุมภาพันธ์ 2564) ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เป็นประธานมอบนโยบาย อว. ส่วนหน้าทั่วประเทศ โดยมี ศ.ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงฯ, ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากูล รองปลัดกระทรวงฯห้องประชุม พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันการศึกษาและหัวหน้าหน่วย อว.ส่วนหน้า เข้าร่วมรับฟังนโยบายการดำเนินงานขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ณ ห้องประชุม ชั้น 4 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ถนนโยธี)
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เผยว่า อว.ส่วนหน้าจะเป็นข้อต่อสำคัญเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของ อว. เดิมเรียกโครงการนี้ว่า 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย หมายความว่าตำบลเป็นหน่วยหลัก แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยสู่ตำบล ซึ่งต่างจากโครงการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน แม้จะมีบทบาทดูคล้ายกัน เพราะเป็นพัฒนาเหมือนกัน แต่ว่าที่ต่างกันคือโครงการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันเป็นงานของจังหวัด จังหวัดเป็นคนคิด วางแผน แต่ว่ามหาวิทยาลัยสู่ตำบลเป็นงานของ อว. เอง มีงบประมาณที่จะจ้างคนไปเป็นกำลังสำคัญ เรียกได้ว่าจ้างงานคนที่ว่างงาน ได้แก่ บัณฑิตที่จบมาไม่เกิน 3 ปี, นักศึกษาที่อยู่ปี 3 ปี 4 แล้วก็ชาวบ้าน รวมกันทั้งหมดก็ 60,000 คน ไปช่วย 3,000 ตำบล แต่ละตำบลก็จะมีงบให้ไปดำเนินการจะเรียกว่างบพัฒนา งบประมาณตำบลละประมาณ 800,000 บาท เพราะฉะนั้นก็แปลว่ามหาวิทยาลัยสู่ตำบล (1) คน (2) เงิน (3) แผนการที่จะทำงานต่าง ๆ
“สรุปก็คือ อว. ส่วนหน้าที่มาทำมหาวิทยาลัยสู่ตำบลต้องไปดูแลมหาวิทยาลัยอาจจะเป็น 10 มหาวิทยาลัยที่ลงในจังหวัดหนึ่ง ที่ อว. ส่วนหน้ารับผิดชอบอยู่ ซึ่งต้องทำอย่างมีความเป็นเอกภาพของจังหวัด แล้วก็เข้าไปอยู่ในบริบทของจังหวัดเหมือนกัน ในการที่จะต้องประสานกับทีมของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ให้ทำงานแบบรายตำบลแล้วก็ไม่ประสานกับตำบลไหนเลย แล้วก็ไม่ประสานกับตำบลที่อยู่คนละมหาวิทยาลัย อันนี้ก็เป็นงานของ อว. ส่วนหน้าที่จะต้องช่วยทำ” ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าว
อว. ส่วนหน้ามาก จำเป็นต้องมีคนที่เป็นหัวหน้าอยู่ คล้ายๆ ว่าจะต้องมีองค์กร มีคณะทำงาน คณะกรรมการ และก็มีหัวหน้า แล้วต่อไปก็จะต้องมีเงินให้ อว. ส่วนหน้าบ้าง หัวหน้าของ อว. ส่วนหน้าก็คือ Ceep Technical Officer (CTO) ต้องทำงานเป็น Pioneer เป็นผู้บุกเบิก ต้องทำงานหนักให้เกิดผล แล้วก็ทำด้วย Passion ทำด้วยแรงแห่งศรัทธา ไม่ต้องคาดหวังว่าจะมีอะไรสนับสนุนมากนัก ทำงานด้วยความที่เห็นว่าสิ่งที่ตนทำนั้นมีคุณค่า มีประโยชน์ โดยเฉพาะเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย ต่อกระทรวง อว. เพราะฉะนั้น อว. ส่วนหน้าจะมีบทบาทสำคัญมาก และต้องเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ตลอดเวลา
ด้าน ศ.ดร.สิริฤกษ์ ปลัดกระทรวงฯ กล่าวว่า บทบาทของ อว. ส่วนหน้า ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จะมีกลไกของกระทรวง อว. ในระดับพื้นที่ จนถึงระดับจังหวัด ทั้งนี้ทางกระทรวงจะขอให้ อว. ส่วนหน้าทำหน้าที่เป็น Ceep Technical Officer ของจังหวัด บทบาทก็คือการเป็นตัวแทนของกระทรวง อว. ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของจังหวัด โดยดำเนินการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ เป้าหมายก็คือเป้าหมายในระดับจังหวัด ในส่วนของการปฏิบัติในระยะ 1 ปีข้างหน้านี้ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการปฏิบัติในเรื่องหนึ่ง คือ การเชื่อมโยง 2 โครงการหลักที่สำคัญของประเทศ (1) โครงการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (2) โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล ซึ่ง อว. ส่วนหน้าก็จะเป็นช่องทาง เป็นผู้แทนของกระทรวงในระดับจังหวัด มีอยู่ 2 บทบาทหลัก คือ (1) อว. ส่วนหน้าในทุกจังหวัดรับทราบความต้องการและเป็นส่วนเชื่อมโยงความต้องการของจังหวัดทั้งหมดเข้าด้วยกันกับทางกระทรวง อว. ก็แปลว่ากลไกต่าง ๆ สิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในจังหวัด ในขอบข่ายการทำงานของกระทรวง อว. ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอุดมศึกษา ทางด้านวิทยาศาสตร์ ทางด้านวิจัยและนวัตกรรม ทั้งหมดที่จังหวัดจะเกี่ยวข้องกับกระทรวง อว. อยากจะขอให้ทาง อว. ส่วนหน้าทำหน้าที่เป็นผู้แทนของกระทรวง อว. ที่จะรับทราบความต้องการอยู่ในส่วนนั้น (2) อว. ส่วนหน้า ต้องเป็นผู้แทนของกระทรวงในทุก ๆ กลไก ไม่ว่าจะเป็นตรงส่วนกลาง สถาบันวิจัยในส่วนกลาง หรือว่าจะเป็นในจังหวัดอื่น ๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในจังหวัดอื่น ๆ หากจะทำเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดก็ขอให้ผ่านกลไกทาง อว. ส่วนหน้านี้ เพราะฉะนั้นจะมีอยู่ 2 ช่อง เป็นเรื่องของการเชื่อมโยง อว. เข้ากับทุก ๆ อย่างของจังหวัด แล้วก็เชื่อมโยงจังหวัดเข้าสู่กลไกทุกอย่าง ของ อว.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.