9 กันยายน 2564 ณ ห้องประชุมรัฐมนตรีชั้น 2 อาคารพระจอมเกล้า สป.อว. / ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม เรื่อง นโยบายการขับเคลื่อนพหุวิทยากรด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ
รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่กล่าวว่า ในนามของมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ที่ได้จัดการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักวิชาการ อาจารย์ นักวิขัย และผู้สนใจ ร่วมนำเสนอและเผยแพร่งานวิจัย แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นและตระหนักถึงการเผยแผรพร่งานวิจัย นอกจากนี้ ยังเป็นเวทีการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ การโชว์ศักยภาพของนักวิจัย โดยจัดในรูปแบบเป็นการนำเสนอลงานในรูปแบบ online ประกอบไปด้วยการบรรยายพิเศษ การนำเสนอผลงานวิจัย โดยมีผู้วิจัยส่งผลงานทั้งสิ้น 60 ผลงาน การจัดประชุมครั้งนี้เป็นการร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง อาทิ ม.แม่โจ้ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ม.เชียงใหม่ ม.ราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญมาเป็นประธานในพิธีเปิด ดังที่ท่านทั้งหลายทราบกันอยู่แล้วว่า ม.ราชภัฎเชียงใหม่เป็นสถาบันการศึกษาระดับสูง สถาบันการศึกษาแห่งนี้ได้ผลิตบัณทิตออกไปเป็นกำลังสำคัญของประทศชาติหลากหลายสาขาวิชา สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน ผลงานวิจัยที่ถูกผลิตออกมาจากสถาบันดังกล่าวเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรือง ทั้งผลงานวิจัยเกี่ยวกับชุมชนและสังคม และทำให้ประเทศมีรากฐานที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก กล่าวต่อไปว่า หัวข้อการบรรยายในวันนี้ เป็นแง่คิดที่เกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผมมีข่าวดีที่เกี่ยวข้องกับด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มาแจ้งให้ทุกท่านทราบ นั้นคือ เมื่อเร็วๆนี้ นิตยสาร U.S. News & World Roportได้จัดอันดับประเทศชั้นนำของโลกในการรักษามรดกโลกหรือมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับ เป็นลำดับที่ 7 ขอโลก อันดับ 2 ของเอเชีย และอันดับ 1 ของอาเซียน ศิลปวัฒนธรรม มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของไทย ได้รับอิทธิพลมาจากนานาอารยประเทศแต่เรานำมาสร้างใหม่เป็นสิ่งสร้างสรรค์ โดยมีไทยเป็นพื้นฐาน และต่อยอดด้วยมลายู มอญ เขมร เปอร์เซีย อินเดีย ญี่ปุ่น ฯลฯ ได้อย่างราบรื่น เราควรผลิตงานที่ทดแทนการนำเข้างานจากประเทศฝั่งตะวันตก ซึ่งถึงแม้จะทดแทนไม่ได้ทั้งหมด แต่เราสามารถนำความคิดของเขามาประยุกต์ใช้กับผลงานของเรา และต้องพยายามส่งต่อความรู้ออกไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านและนานาอารยประเทศ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีหลายระดับ เราควรศึกษาศิลปวัฒนธรรม อารยธรรมให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ในส่วนของนโยบายการขับเคลื่อนสังคมศาตร์ มนุษศาสตร์ ของ อว. ด้วย ธัชชา” วิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Science Humanities and Arts) ตามนโยบายขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นการลงทุนเรื่องใหญ่ของชาติอีกครั้งนึง ที่ อว. พอจะทำได้ แต่สิ่งที่มีค่าที่สุด ใน อว. คือ สองมือและหัวใจของพวกเราชาว อว. ที่มีอยู่มาก ผมเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถขับเคลื่อนเรื่องนี้ไปได้อย่างก้าวไกลและราบรื่น
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.