(7 ตุลาคม 2564) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) นำโดย ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พร้อมคณะ เข้าพบหารือกับ ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เรื่อง ความก้าวหน้าการจัดทำภาพอนาคตและยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษา (Strategic Foresight) โดยมี ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมรัฐมนตรีชั้น 2 อาคารพระจอมเกล้า สป.อว
การจัดทำภาพอนาคตและยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษา (Strategic Foresight) สอวช. ได้นำแนวคิดและกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Approaches) มาประยุกต์ใช้ ในการสร้างนโยบายแบบเปิดกว้าง (Open Policy Making) เพื่อนำไปสู่แนวทางการทำงานแบบใหม่ ที่สามารถทำให้วงจรการสร้างนโยบายหมุนได้เร็วขึ้นและเกิดผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
1. การวิจัยเชิงนโยบายเรื่องการพลิกโฉมระบบอุดมศึกษาในประเทศไทย ด้านการพัฒนากำลังคน (Disruptive Higher Education) ระบบอุดมศึกษามีความจำเป็นต้องพลิกโฉมเพื่อส่งเสริมบทบาทในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ผลิตกำลังคนตามความต้องการของประเทศ พัฒนาระบบนิเวศ สำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงส่งเสริมการสร้างธรรมภิบาลของสถาบันอุดมศึกษา โดยดำเนินการผ่านมาตรการและกลไกที่สำคัญ ได้แก่ การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox), ระบบคลังหน่วยกิตระดับอุดมศึกษา (National Credit Bank), การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการด้วยผลงานนวัตกรรม การบริการวิชาการ และการบริการสังคม, การปฏิรูประบบธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยไทยในอนาคตในบริบทของประเทศพัฒนาแล้วการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ คือ การส่งเสริมการเชื่อมโยงความร่วมมือในการออกแบบหลักสูตรระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรม (Co-creation) การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Work-integrated Learning การส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้เล่นเพื่อเพิ่มโอกาสการจ้างงาน และการใช้เทคโนโลยีด้านการศึกษาเพื่อจัดการศึกษาเชิงสมรรถนะที่สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป
การพัฒนาต่อยอดมหาวิทยาลัยสู่ตำบลและวิทยาลัยชุมชน ภาครัฐควรสนับสนุนแนวทางมหาวิทยาลัยสู่ตำบลโดยมหาวิทยาลัยในพื้นที่หรือวิทยาลัยชุมชนโดยส่งเสริมการเชื่อมโยงฐานข้อมูลของชุมชนกับหน่วยงานด้านนโยบายเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาระยะสั้นและระยะยาว และการพัฒนาทักษะเชิงพฤติกรรมขั้นสูงให้กับตัวแทนชุมชนเพื่อสร้างนวัตกรผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2. การจัดทำยุทธศาสตร์กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) เพื่อขับเคลื่อนประเทศ
- พัฒนานักปฏิบัติทักษะสูงด้วยเทคโนโลยี (และความคิดสร้างสรรค์) และบ่มเพาะนวัตกรมืออาชีพ สำหรับภาคประกอบการทุกพื้นที่
- Transforming Agriculture, Industry, Tourism, ด้วยนวัตกรรมจาก "ONE RMUT" Excellence + Resources
- Empowering Entrepreneur & Community ด้วย United effort/ platform บนความหลากหลายของขีดความสามารถของ มทร. / characteristic
- Accelerating RMUT Digital Transformation (Smart people, Smart management, Smart workplace)
3. การจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Action Plan) มหาวิทยาลัยราชภัฏ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏ ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี พ.ศ.2560-2579 ได้แก่ (1) การพัฒนาท้องถิ่น (2) การผลิตและพัฒนาบัณฑิตครู (3) การยกระดับคุณภาพการศึกษา (4) การพัฒนาระบบบริหารจัดการ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.