(18 ตุลาคม 2564) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นำโดย นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมคณะ เข้าพบหารือกับ ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เรื่องงาน FTI EXPO 2022 สภาอุตสาหกรรมเอ็กซ์โป SHAPING THE FUTURE INDUSTRY WITH BCG ECONOMY นำเสนอศักยภาพของอุตสาหกรรม เพื่อจุดประกายการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวงการอุตสาหกรรมไทย โดยมี ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมรัฐมนตรีชั้น 2 อาคารพระจอมเกล้า สป.อว.
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เผยว่า งาน FTI EXPO 2022 สภาอุตสาหกรรมเอ็กซ์โป SHAPING THE FUTURE INDUSTRY WITH BCG ECONOMY ในครั้งนี้จะนำเสนอศักยภาพของอุตสาหกรรม เพื่อจุดประกายการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่ของวงการอุตสาหกรรมไทย บนพื้นที่กว่า 30,000 ตร.ม. ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเชียงใหม่ฯ เป็นงานแสดงสินค้า การประชุมสัมมนาและการเจรจาธุรกิจ ครอบคลุม 11 คลัสเตอร์ธุรกิจ ได้แก่ อาหาร, ยางและไม้ยางพารา, แฟชั่นและไลฟ์สไตล์, การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์, พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม, วิศวกรรมเครื่องจักรกลและงานโลหะ, ยานยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องปรับอากาศ, ปิโตรเคมี และ วัสดุก่อสร้าง พร้อมชูแนวคิด BCG (Bio Circular Green Economy) นอกจากนั้นยังมีบูธนานาชาติ (International Pavillion) โดย ส.อ.ท. ได้ร่วมมือหน่วยงานพันธมิตรและสถาบันการศึกษา ขานรับนโยบายการเปิดประเทศ และคาดว่าการจัดงานครั้งนี้จะมีมีผู้เข้าร่วมงานถึง 100,000 คน และยอดการเจรจาธุรกิจภายในงานไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท
นอกจากนั้นการจัดงาน FTI EXPO 2022 ยังเป็นการแสดงศักยภาพยกระดับความก้าวหน้าของภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายในระดับประเทศ ภายใต้แนวคิด BCG ECONOMY รวมถึงความเข้มแข็งขององค์กรสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันสร้างโอกาสในการขยายช่องทางการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมระดมสุดยอดผู้ประกอบการอุตสาหกรรมชั้นนำที่มีศักยภาพของประเทศ และสร้างการยอมรับต่อผลิตภัณฑ์ไทยที่มีการเชื่อมโยงสู่ระดับสากล และที่สำคัญคือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ ระดับภูมิภาคให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษาต่างๆ
อย่างไรก็ตามผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากนี้ คือ จะเกิดการซื้อขายภายในงาน 100,000,000 บาท, โอกาสในการขยายตลาดของ SME คู่ค้าจากในประเทศและต่างประเทศกว่า 100 ราย, ธุรกิจ SME จะขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 5%, โดยคาดการณ์มูลค่าการเจรจาธุรกิจไว้ที่ 100,000,000 บาท, มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นกว่า 10% หรือกว่า 50 ล้านบาท, มีการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้น 1,000 อัตรา, เกิดเงินหมุนเวียนในภาค SME 20,000,000 บาท, GDP เพิ่มสูงขึ้นกว่า GDP Growth 0.5% และมูลค่าของ SME เพิ่มขึ้นกว่า 100,000 ล้านบาท
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.