(25 พฤศจิกายน 2564) ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เป็นประธานเปิดงานเสวนาวิชาการซีรี่ย์ไทยกับโลกและประเทศเพื่อนบ้าน หัวข้อ “Middle Power Diplomacy : ยุทธศาสตร์การต่างประเทศไทยในอินโด - แปซิฟิก และการเมืองมหาอำนาจ” จัดโดย วิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา) โดยมี ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว., ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษา รมว.อว., ดร.ดนุช ตันเทิดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง อว., รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง อว. และ นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. เข้าร่วมงาน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า เนื่องจากเรารู้เรื่องต่างประเทศพอสมควรเราจะไม่หยุดแค่จีน เราก็ยังไปทำแบบนี้กับเกาหลี ญี่ปุ่นซึ่งคิดว่าเขาคงสนใจเมื่อเราทำกับจีนแล้วเกาหลีกีบญี่ปุ่นก็จะต้องเข้ามาทัดทานเอาไว้แต่เราจะได้ประโยชน์ อีกสักพักหนึ่งถ้ายุโรปประเทศใด เช่น สวิตเซอร์แลนด์หรือเยอรมนีซึ่งก็มีอยู่ในข่ายตะวันตกแบบงมงายสักเท่าไหร่ผมคิดว่าเขาจะเห็นศักยภาพของประเทศไทยเพราะว่าได้ทำกับประเทศที่ค่อนข้างที่จะเป็นประเทศมหาอำนาจขนาดกลางหรือที่สูงกว่าปานกลางในเอเชียไปเยอะ เกาหลี ญี่ปุ่น จีนไม่ใช่ประเทศเล็กๆ เชื่อว่าสวิตเซอร์แลนด์เยอรมนีหรือกระทั้งฝรั่งเศสก็อาจจะสนใจไม่อย่างนั้นก็เท่ากับปล่อยให้ดินแดนในวิทยาศาสตร์อยู่ในมือของตะวันตก ซึ่งคนไทยก็อยู่กับทางตะวันตกอยู่กับสติปัญญามานานมากแล้วเพราะฉะนั้นก็คงจะน่าเสียดายถ้าชาติตะวันออกไม่เข้ามา
ไทยเป็นนักปฏิบัติแต่ไม่ได้เป็นนักคิด ทฤษฎีกับปฏิบัติต้องไปด้วยกันและนำมาใช้แบบสร้างสรรค์ เรามักจะคิดว่าไทยเป็นประเทศด้อยพัฒนาแต่จริง ๆ แล้วไทยขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 22 ของโลก ขนาดและอันดับเศรษฐกิจของเราใหญ่กว่าเบลเยี่ยม กรีก เพราะฉะนั้นเราต้องมองอีกด้านของประเทศไทย เรามองแต่ด้านที่เป็นจุดอ่อนของประเทศไทยและเน้นไปที่จุดด้อยมากเกินไปจนกระทั้งเราไม่เห็นอีกด้านหนึ่งที่มีศักยภาพที่จะเป็น Middle Power ได้ ภายปี 2580 ประเทศไทยจะต้องเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วให้ได้ จะเป็นอย่างนั้นได้ต้องเดินไปบนสองขา ขาหนึ่งคือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขาที่สองคือ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ สถานะประเทศไทยในสายตาของต่างประเทศมันสูงมาก คนในโลกรู้จักไทยมากกว่าอีกหลาย ๆ ประเทศ งานต่างประเทศไม่ใช่แค่เป็นงานปฏิบัติอย่างเดียวควรหาอาวุธทางความคิดมาใช้อยู่ตลอดเวลา เช่น เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามทางการค้า Middle Power เป็นอาวุธทางความคิดอีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญ ที่ต้องนำมาใช้กับการต่างประเทศ และเชื่อว่าเราทำได้จะเป็น Middle Power ได้เราต้องมีตะวันตก โลกาภิวัตน์มาถึงขั้นที่ตะวันตก ตะวันออกมีความสัมพันธ์ที่ทัดเทียมกันขึ้นเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นประสบการณ์ วิชาการของตะวันออกก็สำคัญมากรวมทั้งที่ไม่ได้มีในตำรา ถ้าคิดแบบตะวันตกเราก็มักจะคิดแต่ผลประโยชน์ เราควรจะเพิ่มเกียรติภูมิของประเทศเข้าไปใน Middle Power ด้วยสำคัญมาก คนที่มาเที่ยวที่ไทยไม่ได้เป็นเพราะเรื่องผลประโยชน์ ราคาถูกเท่านั้นแต่มาอยู่แล้วรู้สึกสบายใจ คนไทยมีน้ำใจไมตรี คนไทยมักปฏิบัติไปโดยลืมทฤษฎีดีแต่ถ้าเพิ่มทฤษฎีเข้าไปจะยิ่งดีมากเป็นสิ่งสำคัญของการเป็น Middle Power แต่ทฤษฎี Middle Power ออกมาจากตะวันตกเริ่มจากประเทศนั้นกลัวฮีตเลอร์จะเข้ามาปกครองก็ออกมาเป็นเรื่องของผลประโยชน์แต่ของเราต้องคิดสร้าง Middle Power ของไทยขึ้นมาได้ไม่ใช่เพียงเพราะเราอยากจะแตกต่างของเรามันอยู่ตรงนี้ การต่างประเทศต้องพยายามถอดไทยมาให้มากกว่านี้ ยังไม่สร้างสรรค์เท่าที่ควร ฝ่ายวิชาการและฝ่ายปฏิบัติร่วมมือกันเราก็จะพัฒนาไปอีกขั้นจะเป็นกุญแจสำคัญ รมว.อว. กล่าว
การเสวนา “Middle Power Diplomacy : ยุทธศาสตร์การต่างประเทศไทยในอินโด - แปซิฟิก และการเมืองมหาอำนาจ” มีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมเสวนาอภิปราย ดังนี้
1. รศ.ดร.จิตติภัทร พูนขำ รองคณบดีฝ่ายนานาชาติและวิเทศสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. อาจารย์จิระโรจน์ มะหมัดกุล รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา สถาบันการทูตและการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.