(8 กุมภาพันธ์ 2565) ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เป็นประธานเปิดงานเสวนาวิชาการธัชชา สถาบันโลกคดีศึกษา “โลกคดีที่ วินส์ พึงรู้” ตอน พัฒนาการเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศในเอเชียแปซิฟิก ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา จัดโดย วิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา) โดยมี ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษา รมว.อว. และ อดีตเอกอัครราชทูตสมป่อง สงวนบรรพ์ ผู้อำนวยการสถาบันโลกคดีศึกษา เข้าร่วมงาน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า สำหรับหัวข้อการเสวนาในวันนี้ คือ “โลกคดีที่ วินส์ พึงรู้” เชื่อว่าจะทำให้นักศึกษา หรือผู้ที่เข้ารับการอบรมวินส์ เห็นงาน เห็นประเทศ และเห็นไทยในบริบทของโลกมากขึ้น แนวคิดบางอย่างที่อยากจะให้ไว้ คือว่า สิ่งที่เราคิดบางอย่างเป็นผลผลิตจากการศึกษาที่ได้รับ ทั้งในประเทศ ทวีปเอเชีย ประเทศต่างๆ จากการเกิดรัฐชาติ ซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วกว่า 100 ปี อยากเตือนคนไทยให้รู้ว่าเรื่องของโลกคดีเป็นเรื่องที่สำคัญ ดินแดนของไทยเกิดขึ้นได้ก็เพราะโลกคดี แต่กรอบคิดของเรานั้นให้ความสำคัญกับโลกน้อย ต่อไปโลกในอนาคตจะคล้ายกับโลกในอดีต โลกจะไม่เป็นแผ่นดินเดียวกันหมด จะมีความหลากหลาย เป็นโลกที่มีหลายคั่วอำนาจ หลายคั่วทางวัฒนธรรม โดยเรื่อง “พัฒนาการเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศในเอเชียแปซิฟิก ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา” ที่จะพูดคุยในวันนี้ จะเป็นฉากหลังที่ดีมาก จะทำให้เราเข้าใจประเทศและโลกมากขึ้น
ด้าน อดีตเอกอัครราชทูตสมป่อง สงวนบรรพ์ ผู้อำนวยการสถาบันโลกคดีศึกษา คณบดีสถาบันการทูตและการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต เผยว่า “โลกคดีที่ วินส์ พึงรู้” ตอน พัฒนาการเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศในเอเชียแปซิฟิก ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมานั้น มีรายละเอียดดังนี้
ปี พ.ศ. 2551 - เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก, จีนเป็นเจ้าหนี้อเมริการายใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเงิน 600,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ, Tesla ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าคันแรก (Roadstar)
ปี พ.ศ. 2552 - รัสเซียตกลงส่งน้ำมันให้แก่จีนเป็นจำนวนเงิน 25,000,000,000 ดอลล่าร์สหรัฐ เป็นเวลา 20 ปี
เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินกู้, ผู้นำจีนและไต้หวันแลกเปลี่ยนสารกันเป็นครั้งแรก ในรอบ 60 กว่าปี
ปี พ.ศ. 2553 - จีนเป็นประเทศที่ส่งออกมากที่สุดในโลก, ญี่ปุ่นจับชาวประมงจีนในทะเลจีนตะวันออก ที่เป็นข้อพิพาทกัน, บริษัทรถยนต์ทั่วโลกเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้า รัฐบาลต่างออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า, อุตสาหกรรมว่าด้วยการประมวลข้อมูล (Big Data มีมูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ปี พ.ศ. 2554 - สหรัฐหันกลับมาทางเอเชีย เพื่อต่อต้านการเติบโตของจีน, จีนเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก, เครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ วัตสันของบริษัทไอบีเอ็มสามารถเอาชนะแชมป์รายการตอบคำถามที่มีชื่อเสียง
ปี พ.ศ. 2555 - สหรัฐเสียเปรียบดุลการค้าให้แก่จีนมากขึ้นถึง 295,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ความตึงเครียดเพิ่มขึ้น, เหตุการณ์พิพาทในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์, จีนยกเลิกการฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตกับญี่ปุ่นเพราะปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีน, อาเซียนล้มเหลวในการออกถ้อยแถลงผลการประชุมประจำปีที่ประเทศกัมพูชาเป็นเจ้าภาพ, ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้นอวกาศของจีนเริ่มปรากฏผล
ปี พ.ศ. 2556 - จีนประสบความสำเร็จในการส่ง rover ขึ้นไปบนดวงจันทร์, ญี่ปุ่นย้ายฐานที่ตั้ง (25,000 นาย) ไปยังพื้นที่ที่ห่างไกลชุมชน, ญี่ปุ่นรับรองยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ และเพิ่มงบประมาณการป้องกันประเทศ
ปี พ.ศ. 2557 - เกิดการประท้วงในฮ่องกง, ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของจีนเริ่มดีขึ้น, รัฐบาลญี่ปุ่น เปลี่ยนนโยบายความมั่นคงให้ทหารสามารถทำการรบในต่างประเทศได้
ปี พ.ศ. 2558 - จีนสร้างเกาะในทะเลจีนใต้ พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ทางทหาร, อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนเริ่มลดลง, สภาร่างของญี่ปุ่นสนับสนุนให้กองกำลังสามารถทำการรบในต่างประเทศเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
ปี พ.ศ. 2559 - อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงต่ำสุดในรอบ 25 ปี
ปี พ.ศ. 2560 - ขนาดเศรษฐกิจของจีนเท่ากับ 15% ของจีดีพีโลก
ปี พ.ศ. 2561 - สหรัฐขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน, สงครามการค้าระหว่างสองประเทศถูกยกระดับขึ้น
ปี พ.ศ. 2562 - สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนรุนแรงขึ้น, อเมริกาสนับสนุนฝ่ายประท้วงจีนในฮ่องกง
ปี พ.ศ. 2563 - ข้อตกลงทางการค้าระหว่างอเมริกากับจีน ภาคแรก, ความตึงเครียดเพิ่มขึ้นท่ามกลางการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส, อเมริกายกเลิกสิทธิพิเศษทางการค้าให้แก่ฮ่องกง และออกกฎหมายคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่และธุรกิจที่ขัดขวางฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจีน
ปี พ.ศ. 2564 - เกิดการแข่งขันเพื่อความเหนือกว่าระหว่างอเมริกากับจีน ด้าน AI, กรุงคาบูล ถูกยึดโดยตาลีบัน ในระหว่างการถอนทหารอเมริกัน
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.