3rd ASEAN Innovation Roadmap Forum: Key Technologies and Innovations in Responding Global Challenges towards Sustainable ASEAN 27-29 มิถุนายน 2565: กรุงเทพฯ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นเจ้าภาพจัดงาน 3rd ASEAN Innovation Roadmap Forum: Key Technologies and Innovations in Responding Global Challenges towards Sustainable ASEAN ระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว และผ่าน Platform ออนไลน์ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การสร้างระบบนิเวศน์ด้านนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในอาเซียน ผ่านการการจัดทำนโยบายที่มีความชัดเจน มีแนวทางการขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งแผนที่นำทางอาเซียนด้านนวัตกรรมจะเปรียบเสมือน guideline ในทางยุทธศาสตร์ให้อาเซียนก้าวไปข้างหน้าด้วยการต่อยอดทางนวัตกรรมจากงานวิจัยและพัฒนา ทั้งการเตรียมความพร้อมของบุคลากร การรับเทคโนโลยีใหม่ที่มีความก้าวหน้า การมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม เพื่อเป้าหมายสุดท้ายคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ปัจจัยในการสร้างระบบนิเวศด้านนวัตกรรมในอาเซียน ประกอบด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะลดช่องว่างระหว่างประชากรของประเทศสมาชิก และเกิดความเชื่อมโยงในมิติของความร่วมมือด้านต่างๆ ที่จะนำพาอาเซียนให้เติบโตไปพร้อมๆกัน ทั้งนี้ การมีความเข้มแข็งของโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งงานวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี ศักยภาพของบุคลกร จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในระดับภูมิภาค ที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และระบบสังคมที่มีคุณภาพ ปัจจุบัน การเพิ่มศักยภาพทางศักยภาพทางเศรษฐกิจและคุณภาพของสังคมจะมองไปที่เทคโนโลยีก้าวหน้า หรือ Frontier Technology และ เทคโนโลยีในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 (the 4th Industrial Revolution: 4IR) ที่ขณะนี้อาเซียนให้ความสำคัญ ได้แก่ AI สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต , Robotics หรือ Machine Learning ในทางการแพทย์, Digital technology และ IoT ในงานเกษตรสร้างสรรค์ หรือระบบ Big Data/Blockchain ในการทางการเงิน การท่องเที่ยว เหล่านี้เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาอยู่ไกลจากศักยภาพของอาเซียน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากประเทศหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การนำไปใช้ และการสร้างพันธมิตรที่ดี นำไปสู่ช่องทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต
โดย อว. มีเป้าหมายการขับเคลื่อนแผนที่นำทางอาเซียนด้านนวัตกรรม 3 ประเด็นได้แก่
1. การขับเคลื่อน BCG Model ผ่านการดำเนินงานของ ASEAN BCG Network (ASEAN Bio-Circular-Green Economy Network) โดยเป็นทางเลือกใหม่ของอาเซียนภายใต้กรอบการฟื้นฟูระดับภูมิภาคภายหลังโควิด-19 ให้เป็นกลไกในการสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ในด้านการวิจัย พัฒนานวัตกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยให้ความสำคัญกับ 4 สาขาหลัก ได้แก่ การแพทย์ เกษตร พลังงาน และเศรษฐกิจสร้างสรรค์
2. การสร้าง platform ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคลากรด้าน วทน. ของอาเซียน (ASEAN Talent Mobility: ATM) โดยมุ่งเน้นที่กิจกรรมการแลกเปลี่ยนบุคลากร การจัดโปรแกรมเพื่อ Reskill/Upskill นักวิจัย นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาของอาเซียนให้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในภาคเอกชน การร่วมวิจัยกับสถาบันชั้นนำของโลกผ่านกลไกความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
3. การจัดทำยุทธศาสตร์การแบ่งปันโครงสร้างพื้นฐานทางการวิจัย (The Development of an ASEAN Regional Research Infrastructure Strategy: RRI) ผ่านกลไก ASEAN Centre/Networks ที่มีอยู่แล้ว มีวัตถุประสงค์สร้างความเข้มแข็งทางการวิจัยในการรับมือกับความท้าทายโลก การเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน โดยจะส่งเสริมการดำเนินความร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก การแบ่งปันองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ตลอดจนการแสวงหาความร่วมมือกับหุ้นส่วนอื่น โดยประเด็นว่าด้วย Research Infrastructure ประกอบด้วย
- Researchers’ Demand: supporting excellent science
- Policymakers’ Demand: knowledge transfer and innovation
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.