เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เกียรติเปิดงานเสวนาวิชาการซีรีส์กรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ "ชาวสยามกับการรู้หนังสือในสังคมอุดมปัญญา" โดย ศ.(พิเศษ) ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรรม สาขาวิชาวรรณกรรมพื้นเมือง, ผศ.ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล และ รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว) ถนนโยธี
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า ประเทศไทยมีเอกสารโบราณอยู่จำนวนมากในหลากหลายภูมิภาค เอกสารโบราณหลายฉบับถูกนำมาตีพิมพ์เป็นเอกสารสมัยใหม่ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา และบางฉบับยังคงถูกจารึกอยู่บนใบลานที่ควรค่าแก่การเก็บรักษา แต่ทั้งหมดนี้ ล้วนให้ความรู้เกี่ยวกับวีถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในอดีต ผู้ที่เข้าฟังการเสวนาวิชาการในครั้งนี้จะทำให้เราเกิดความรู้ความเข้าใจ มีการปรับเปลี่ยนมุมมองของเราที่มีต่อประวัติศาสตร์ชาติไทย อารยธรรมของคนไทยได้อย่างมาก
ศ.(พิเศษ) ดร.ประคอง ได้เริ่มการเสวนาด้วยหัวข้อ "อ่าน เขียน เรียนหนังสือกับชาวสยาม บทบันทึกผ่านเอกสารตัวเขียน" โดยเอกสารที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นเอกสารเกี่ยวกับศาสนาพุทธ แสดงให้เห็นถึงความสนใจในด้านพุทธศาสนา รวมถึงการพบวรรณกรรมต่าง ๆ ที่ถูกเขียนด้วยอักษรภาษาไทย ถ่ายทอดชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงภูมิปัญญาของคนไทยในอดีตที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ ในอนาคตเราควรเล็งเห็นการใช้ระบบดิจิทัลในการช่วยบันทึกข้อมูลที่บรรพบุรุษได้สรรค์สร้างขึ้นมาเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าสืบต่อไป
ด้าน ผศ.ดร.อภิลักษณ์ ได้กล่าวถึงหัวข้อ "กอ ขอ กอ กา ภาษาสยาม อ่าน เขียน เรียนหนังสือกับชาวสยาม บทบันทึกผ่านเอกสารตัวเขียน" โดย "กอ ขอ กอ กา" เป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นการรู้หนังสือ ซึ่งหนังสือ "โบราณศึกษา" หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวถึงหนังสือเรียนหลักในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่
- ประถม ก กา
- สุบินทกุมาร
- ประถมจินดา
- ประถมจินดามณี เล่ม 1, 2
วัสดุที่ใช้ในการบันทึก ได้แก่ หิน (จารึกหิน), ใบลาน (สมุดใบลาน), เปลือก/เยื่อต้นข่อย (สมุดข่อย/สมุดไทย, ใบบอก, กระดาษเพลา) และไม้ไผ่ (หนังสือเจียง) เป็นต้น ด้านความรู้ที่ถูกบันทึกลงบนเอกสารตัวเขียนสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
- ศาสนา : ศาสนาพุทธตามพระไตรปิฎก
- ตำรา : ความรู้ต่าง ๆ เช่น แพทย์, เภสัช, นวด, ช่าง, ศิลปะ, คหกรรม, โจทย์เลข, แร่ธาตุ, ดาราศาสตร์, โหราศาสตร์, วิทยาศาสตร์ชาวบ้าน
- วรรณคดี : ตำนาน นิทาน นิราศ ประกอบพิธีกรรม ฯลฯ
- คาถา : มนต์ ยันต์
- กฎหมาย : คำพิพากษา
- บันทึกเบ็ดเตล็ด ; บัญชีต่าง ๆ การยืมเงิน, ทาส, เลี้ยงพระ, ใบบอก
ผศ.ดร.อภิลักษณ์ กล่าวลงท้ายว่า "ทลายกำแพงอคติความรู้โบราณ สร้างสะพานเชื่อมโลก เก่า - ใหม่ ให้ยั่งยืน" ใช้ความรู้ในอดีตมาต่อยอดให้เกิดมูลค่าและพิสูจน์องค์ความรู้ในโบราณมาใช้ประโยชน์ต่อไปอย่างยั่งยืน
ทำข่าว : นางสาวพรชิตา รุกขชาติ
ถ่ายภาพ : นายจรัส เล็กเกาะทวด
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3972 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.