27 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุมรัฐมนตรีชั้น 2 อาคารพระจอมเกล้า สป.อว./ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดการประชุมในหัวข้อ “ทิศทางและนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ด้าน Aging society ระดับประเทศไทย" ผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมีเนื้อหาประกอบไปด้วย ภาพรวมของ Aging ระดับประเทศ ทิศทาง/ยุทธศาสตร์ของ อว. ทิศทางของคณะแพทยศาสตร์ในกำกับ ช่องทางและการเตรียมตัว คน พื้นที่ หลักสูตร นวัตกรรม วิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบสนอง Aging Society
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวว่า เราต้องมองทุกเรื่องเป็นโอกาส ดีกว่าที่เราจะมองทุกอย่างเป็นปัญหา นี่คือการมองโลกที่สมจริง แล้วคนแก่จะเป็นโอกาสได้อย่างไร คือ 1.คนแก่ในยุคปัจจุบันมีสุขภาพที่แข็งแรง 2.การดูแลผู้ใกล้สูงวัยเพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีสุขภาพที่ดี 3.คนแก่สามารถทำงานต่อไปได้อีก ถึงแม้จะอายุ 60 ปีขึ้นไป สิ่งเหล่านี้จะแก้ไขการที่ประชาชนในช่วงวัยทำงานน้อยลง โดยสามารถนำเอาเทคโนโลยีมาช่วย 4.คนแก่เป็นผู้บริโภคและบริโภคสิ่งใหม่ ๆ อาทิ เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ 5.วงการสาธารณสุขต้องดูแลสุขภาพและให้คำแนะนำแก่ผู้สูงวัย มีการแพทย์ให้กับผู้สูงวัยมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญการที่จะทำอย่างไรให้คนแก่อยู่กับคนวัยอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น และ 6. จากเหตุผล 5 ข้อนั้น กระทรวง อว. ได้พัฒนานโยบายต่าง ๆ ได้ทำโครงการใหญ่ ๆ เช่น เปลี่ยนเกษียณให้เป็นพลัง ผู้อภิบาลผู้สูงวัย เป็นต้น
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวต่อไปว่า อว. พร้อมที่จะสนับสนุน นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาช่วยให้กับการดำเนินงานของคณะแพทยศาสตร์ในกำกับ เพื่อพัฒนา ปรับปรุง ยกระดับการดำเนินงานในการดูแลผู้สูงวัย เปลี่ยนปัญหาของผู้สูงวัยให้กลายมาเป็นโอกาสของประเทศไทย และสามารถยืดอายุคนให้มีอายุยืนนานและแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
ทำข่าว : นายปวีณ ควรแย้ม
ถ่ายภาพ : นายกรภัทร์ จิตต์จำนงค์
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3972 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.