ข่าวรัฐมนตรี

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 กระทรวง อว. จัดการประชุมเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยมีคณบดีจากคณะแพทยศาสตร์ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์ เข้าร่วมหารือและให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลสถานการณ์ล่าสุดของการระบาดของไวรัสโคโรน่าในประเทศไทย และความพร้อมของคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การดูแลผู้ป่วย. การจัดการสถานพยาบาลเพื่อรองรับผู้ป่วย ทั้งการคัดกรอง การตรวจวินิจฉัย ตลอดจนการรักษาพยาบาล รวมไปถึงความพร้อมทางด้านบุคลากรทางการแพทย์ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยา และ เวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่าง ๆ

a83968656 1864181180555270 2148566898881593344 o

a83734208 1864181237221931 2313288974971437056 o

a83592107 1864181280555260 6199593719054729216 o

ติดตามได้ที่ FB : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

วันนี้ (3 ก.พ. 2563) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) ได้หารือร่วมกับคณบดีคณะแพทยศาสตร์ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์จาก ทั่วประเทศ กว่า 20 หน่วยงาน เพื่อซักซ้อม เตรียมการและสร้างความมั่นใจในความพร้อมของบุคลากรทาง การแพทย์ การดูแลผู้ป่วย ตลอดจนเครื่องมือ อุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลภายในสังกัดกระทรวง อว. ให้สามารถบริการ ดูแลประชาชน ตรวจวินิจฉัยและรองรับผู้ป่วยได้อย่างเพียงพอ ทั้งนี้ได้มีการประสานความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพร้อมปฏิบัติตามทุกมาตรการที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการประชุมสืบเนื่องจากการ ประชุมเตรียมการครั้งแรก เมื่อ 28 ม.ค. 2563 ที่ได้หารือร่วมกับนักวิชาการและผู้แทนกรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทีมวิจัยและระบาดวิทยา ระดมสมองการนำองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยมาใช้ในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา รวมทั้งกำหนดมาตรการและแนวทางการดูแนักศึกษา ไทยในประเทศจีน และนักศึกษาจีนที่มาศึกษาต่อในประเทศไทย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยต่างๆ ในความดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ มีคณะแพทยศาสตร์ จำนวน 23 แห่ง ซึ่งโรงพยาบาลมีจำนวนกว่า 14,475 เตียง และมีแพทย์พยาบาลที่มีประสบการณ์ มากกว่า 23,758 คน พร้อมรับ สถานการณ์ไวรัสโคโรนาดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ยังได้มอบหมายให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ หลักในการดำเนินการด้านการวิจัยและวิชาการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยจะดำเนินการใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องโดยเครือข่ายนักวิจัยและอาจารย์มหาวิทยาลัย ทั่วประเทศ การจัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการวิจัยและวิชาการเพื่อเชื่อมโยงการดำเนินงานของศูนย์ ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งการ ขับเคลื่อนให้เกิดการวิจัยเชิงรุกเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาของประเทศ ทั้งนี้ วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยพิเศษและเร่งด่วน ในประเด็นเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 แล้วตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค. 2563 ตลอดจนได้จัดประชุม “รวมพลคนวิจัย นักวิจัยไทยพร้อมสู้ภัยไวรัสโคโรนา” ไปเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2563 ที่ผ่านมา มีนักวิจัยเข้าร่วมจำนวนมาก เพื่อรวบรวม สรรพกำลังด้านการวิจัยรวมทั้งประเด็นวิจัยเร่งด่วนที่เห็นควรดำเนินการโดยเร็ว การบูรณาการการทำงานอย่างเร่งด่วนของหน่วยงานทั้งในกระทรวง อว. และนอกกระทรวงจะสามารถ สร้างความเชื่อมั่นได้ว่าประเทศไทยพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกกรณีได้อย่างแน่นอน

83746576 2560682640723959 1557761479795539968 n

84079169 2560682827390607 3075880222470438912 n

83754081 2560682704057286 2029605955573907456 n

83851553 2560682914057265 1179377102990868480 n

84044146 2560683460723877 9210857593075924992 n

 

ที่มา : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

 

150562 5

       วันที่ (15 พฤษภาคม 2562) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดประชุมหารือการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่เพื่อพัฒนากำลังคนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบนโยบายการผลิตกำลังคนตามความต้องการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ร่วมบรรยายถึงแนวทางการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่เพื่อพัฒนากำลังคนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมี รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวง อว. กล่าวต้อนรับ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ชั้น 3 อาคารกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) 

150562 8

       ดร.สมคิดฯ กล่าวว่า ตนมาในฐานะ รมว.อว. สิ่งที่อยากทำคือการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อพัฒนากำลังคนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพราะเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้ ตนเคยเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย นายกและกรรมการสภามหาวิทยาลัย ทำให้รู้ปัญหาอุดมศึกษา ปัญหางานวิจัยและปัญหาต่างๆ แต่จากนี้ต้องมาดูว่าจะทำอย่างไรให้งานเดินหน้า และขับเคลื่อนไปอย่างลุล่วง อย่างไรก็ตาม ด้วยตนมีระยะเวลาการทำงานน้อย ดังนั้น งานอะไรที่สามารถทำกันได้ก็ให้ ปลัด อว.มาดูแล ส่วนงานไหนไม่สามารถตกลงกันได้ เป็นงานเร่งด่วนหรือมีข้อติดขัดเสนอปลัด อว.มาหารือกับตน จะได้ช่วยกันผลักดันแก้ไขปัญหา

150562 18

       ดร.สมคิดฯ กล่าวต่อว่า เด็กรุ่นใหม่ ไม่เหมือนรุ่นเก่า เพราะเรียนรู้ได้จากเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยก็เช่นกัน ต้องปรับตัว เพราะอนาคตไม่ต้องการปริญญา แต่ต้องการคนที่ทำงานได้ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) จะต้องเน้นเรื่องอุตสาหกรรมการเกษตร บริการและการท่องเที่ยวให้มีความหลายหลาย ไม่ต้องไปสอนบริหารแข่งกับคนอื่น ทำในสิ่งที่ควรทำ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเปลี่ยนแปลง

150562 17

       นพ.อุดมฯ กล่าวว่า โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่เริ่มตั้งแต่ปี 2561 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีขอให้ทำโครงการนี้ให้สำเร็จ ที่อยากเสนอไม่ใช่แค่การสร้างบัณฑิตแต่รวมถึงอาชีวศึกษาเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ถ้ามาดูภาพใหญ่แนวโน้มของโลกปรับตัวสู่การสร้างนวัตกรรม สร้างองค์ความรู้ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ยกระดับการแข่งขัน ทั้งนี้จากข้อมูลของธนาคารโลกปี 2030 แรงงานจะถูกแทนด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ ประเทศไทยถูกแทนถึง 72% แต่คิดว่าคงมาเร็วกว่าปี 2030 ขณะนี้ ตลาดแรงงานมีความต้องการที่เปลี่ยนไป ตอนนี้เราผลิตคนไม่ตอบโจทย์การศึกษาชาติ ไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน อาชีวมีทักษะที่ไม่ตรงตามความต้องการ คุณภาพไม่ดี อุดมศึกษาไม่ตอบโจทย์ประเทศ และไม่ตอบโจทย์โลก ประเทศไทยติดอยู่ในกับดักประเทศรายได้ปานกลาง โครงการนี้จะเป็นหัวหอกในการยกระดับประเทศ ให้หลุดจากประเทศปานกลาง ซึ่งหากจะหลุดได้คนต้องมีรายได้ต่อเดือน 3.2 หมื่นบาทแต่ตอนนี้รายได้อยู่ที่ 1 หมื่นกว่าบาทเท่านั้น ที่ไม่สำเร็จเพราะอุดมศึกษาไม่ผลิตกำลังคนให้ตอบโจทย์ประเทศ รัฐบาลชัดเจนว่าสถาบันการศึกษาจะต้องเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก โดยให้อุดมศึกษาเป็นหัวขบวนสำคัญ ผลิตงานวิจัย สร้างองค์ความรู้ ต่อยอดเป็นนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ จีดีพี

150562 9

       ด้าน นายคณิศฯ กล่าวว่า บัณฑิตพันธุ์ใหม่ คือ กำลังคนที่พื้นที่ EEC ต้องการ จากการสำรวจข้อมูลช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า ในพื้นที่ EEC มีผู้ว่างงานและทำงานต่ำระดับสะสม จำนวน 2.2 แสนคน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ประมาณ 2.2 หมื่นคน ขณะที่ความจริงจำนวนแรงงานในพื้นที่ไม่เพียงพอ ดังนั้น EEC ได้มีการกำหนดเป้าหมายความต้องการแรงงาน ระยะ 5 ปี ใน 7 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ผ่านการพัฒนาบัณฑิตพันธุ์ใหม่ จำนวน 4.75 แสนคน หลักสูตรใหม่ 200 หลักสูตร โดยร่วมมือกับกระทรวงศึกษาโดยมหาวิทยาลัยในพื้นที่ EEC จำนวน 8 แห่ง และสถานศึกษาอาชีวศึกษา 48 แห่ง รวมถึงร่วมมือกับหน่วยงานนอกพื้นที่อีก 30%

       นายคณิศฯ กล่าวต่อว่า กุญแจสำคัญของโครงการ EEC มีอยู่แค่เพียง 2 สิ่ง นั่นคือ 1.การหาเทคโนโลยี และ 2.การหาคนมาเรียนรู้เทคโนโลยี เพราะการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป ประเทศไทยต้องการคนที่รู้จักเทคโนโลยีอย่างลึกซึ้ง และสิ่งที่ประเทศไทยต้องการในเวลานี้คือการลงทุนที่เป็น High Technology เพื่อให้คนไทยได้เรียนและซึมซับความรู้เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาในอนาคต

150562 1 150562 3

150562 2 150562 11

 150562 13

 

เขียนข่าว : นางสาวปวีณ์นุช ถือแก้ว
ถ่ายภาพนิ่ง : นางสาวพจนพร แสงสว่าง
ถ่ายภาพวีดิโอ : นายภูมินทร์ ปั้นเล็ก

ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : sciencethailand
Call Center โทร.1313