ภาพข่าวและกิจกรรม

1

          เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 กองทุนยุวสตาร์ทอัพ (Youth Startup Fund) ภายใต้โครงการยุวสร้างชาติ ดำเนินการโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) และกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) จัดกิจกรรม Pitching คัดเลือกผู้ประกอบการรุ่นใหม่ไฟแรง เพื่อเข้าร่วมโครงการ “การพัฒนาแนวคิดเพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจนวัตกรรม (Ideation Incentive Program)” มูลค่าทุนสูงสุด 100,000 บาท รอบแรก ร่วมกับ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Certified Incubator) ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 16 ศูนย์ ทั่วประเทศ ในรูปแบบ Social Distancing

          ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เผยว่า โครงการ “การพัฒนาแนวคิดเพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจนวัตกรรม (Ideation Incentive Program)” จะให้เงินสนับสนุนทุน มูลค่า 100,000 บาท แก่ทีมยุวสตาร์ทอัพ (3 คนขึ้นไป) สำหรับเป็นค่าใช้บริการภายในหน่วยบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Certified Incubator) การพัฒนาแบบจำลอง (mockup) หรือการพิสูจน์ความเป็นไปได้ด้านการตลาดเบื้องต้น ค่าจัดทำแผนธุรกิจที่มีศักยภาพ และค่าที่ปรึกษาวิเคราะห์รูปแบบธุรกิจ ซึ่งผู้ที่จะเข้ามารับทุนในส่วนนี้ได้ จะต้องเป็นนิสิต และนักศึกษา ที่ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก และ/หรือเป็นบัณฑิตที่จบใหม่ไม่เกิน 5 ปี และผู้สมัครจะต้องอยู่ภายใต้ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Certified Incubator) จึงจะสามารถสมัครเข้าร่วมโปรแกรมนี้ได้

2

          โดยการนำเสนอ (Pitching) โครงการในรอบแรกนี้ มีผู้ประกอบการที่ได้ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้น เข้าร่วมนำเสนอโครงการจำนวนทั้งหมด 19 ราย อาทิ

1. โครงการ “ฟิวเจอร์ฟาร์ม เอไอ (FutureFarm AI)” การรวมเทคโนโลยี IoT ศาสตร์แห่งการวิเคราะห์ข้อมูล Data Science และการเกษตร เพื่อนำมาพัฒนาผลผลิต คุณภาพ และรูปแบบการทำการเกษตรที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น โดยพืชพันธ์ุที่เลือกเป็นชนิดแรกก็คือ เห็ดโคนญี่ปุ่น โดยนวัตกรรมนี้จะเป็นการนำ AI มาช่วยในการจัดการกิจกรรมต่าง ๆ ของการเพาะปลูกเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพให้แก่ผลผลิตเห็ดโคนญี่ปุ่น

2. โครงการ “Ticketista: ธุรกิจซื้อขายตั๋วมือสอง” แพลตฟอร์มการซื้อขายตั๋วมือสองที่มีจุดเด่นเรื่องความปลอดภัยผ่านระบบการตรวจสอบตั๋ว (Ticket Verification) เพื่อให้ผู้ซื้อมั่นใจได้ว่าตั๋วที่นำมาขายเป็นตั๋วจริง มีระบบป้องกันการโดนโกงเงิน และการควบคุมราคาเพื่อป้องกันการขายที่ราคาสูงเกินควร นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันการประมูลราคาตั๋ว (Ticket Bidding) เพื่อตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการขายตั๋ว ซึ่งมีความต้องการสูงในตลาด

3. โครงการ “Co-Lab Game: แพลตฟอร์มการสร้างการ์ดเกมเพื่อการศึกษาแบบมีส่วนร่วม” นวัตกรรมบริการแพลตฟอร์มสำหรับการสร้างและเล่นเกมเพื่อการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เทคโนโลยีการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ และเทคโนโลยีด้านการศึกษา โดยใช้เกมการ์ดอย่างง่ายที่สร้างปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มและรูปแบบการเล่นที่ใช้ทักษะความคิดในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับกลุ่มคุณครูและผู้สอนที่สนใจนำเกมมาใช้ในการเรียนเชิงรุก สามารถปรับเปลี่ยนเนื้อหาไปตามบริบทและจำนวนผู้เรียนได้ เป็นพื้นที่รวบรวมความรู้หลากหลาย และยังเป็นพื้นที่รวบรวมพัฒนาต่อยอดแลกเปลี่ยนจนเกิดเป็นชุมชนผู้ใช้สื่อการสอนประเภทเกม เป็นการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนจนนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการศึกษาที่สนุกสนานในอนาคตได้

3

กองทุนยุวสตาร์ทอัพ (Youth Startup Fund) ได้กำหนดระยะเวลาในการพิจารณาผู้ที่ยื่นข้อเสนอโครงการเข้ามา และประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือก ดังนี้

          - รอบที่ 1 จะพิจารณาโครงการและประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกได้รับทุนสนับสนุน ในช่วง เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2563

          - รอบที่ 2 จะพิจารณาโครงการและประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกได้รับทุนสนับสนุน ในช่วง เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2563

          - รอบที่ 3 จะพิจารณาโครงการและประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกได้รับทุนสนับสนุน ในช่วง เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2563

          โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกรับทุนในโครงการ “การพัฒนาแนวคิดเพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจนวัตกรรม (Ideation Incentive Program)” นั้น สามารถติดตามผลการคัดเลือกได้ตามช่องทางอีเมล์ที่ลงทะเบียน และข่าวประชาสัมพันธ์จากหน่วยบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Certified Incubator) ที่ท่านเป็นสมาชิก

หากท่านสนใจเข้าร่วมโปรแกรมการสนับสนุนกองทุนยุวสตาร์ทอัพ สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ www.tedfund.most.go.th หรือโทรศัพท์ 02 333 3700 ต่อ 4072-4074

ข้อมูลข่าวโดย : กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (สกน.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : sciencethailand
Call Center โทร.1313

ยุวชนสร้างชาติ

สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) แจ้งหยุดการให้บริการรับเรื่องราวร้องทุกข์ด้วยตนเอง ณ จุดบริการประชาชน 1111 เป็นการชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะคลี่คลายลง โดย สปน. ยังคงเปิดใช้บริการรับเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านช่องทางออนไลน์ 4 ช่องทาง ดังนี้

1. ตู้ไปรษณีย์ 1111
2. โทรศัพท์สายด่วนของรัฐบาล 1111
3. เว็บไซต์ www.1111.go.th
4. โมไบล์แอปพลิเคชั่น (PSC 1111)

ทั้งนี้ หากสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) จะได้แจ้งการเปิดให้บริการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน ณ จุดบริการประชาชน 1111 ให้ทราบโดยเร็วต่อไป

PSC 1111
mail 1111

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก ดุสิต กทม. 10300 โทรศัพท์ 0 2283 4000

 

12

          เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยผู้บริหารและทีมนักวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมหารือในประเด็นการพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบหน้ากากอนามัย ณ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (กล้วยน้ำไท) โดยมี ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และคณะให้การต้อนรับ การหารือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือพัฒนากระบวนการทดสอบมาตรฐานหน้ากากอนามัยแบบผ้า การทำชุดป้องกันเชื้อโรคให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้ป้องกันไวรัส Covid-19 รวมถึงงานวิจัยด้านอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชน ช่วยลดภาระการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงช่วยเหลือภาครัฐในการรับมือกับการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19

34

          นอกจากนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้เข้าศึกษาดูงานด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาและดำเนินงานโครงการส่งเสริมวิสาหกิจรายย่อยเพื่อยกระดับสินค้า OTOP ให้ได้มาตรฐานในพื้นที่ภูมิภาค ณ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมี นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน และคณะให้การต้อนรับ

ข้อมูลข่าวโดย : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

COVID-news