โซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพเมื่อกระจกหน้าแผงสะอาดและได้รับพลังงานแสงอย่างเต็มที่ แต่ในช่วงฤดูแล้งที่มีแสงแดดจ้าเหมาะต่อการผลิตไฟฟ้า กลับเป็นช่วงที่ผู้ใช้งานต้องเผชิญปัญหา ‘ฝุ่น’ ปริมาณมหาศาล ที่ลดประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าลงถึงร้อยละ 6-10 หากไม่หมั่นทำความสะอาดหน้าแผงให้สะอาดอยู่เสมอ
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วิจัยและพัฒนา ‘น้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์เซลล์สำหรับใช้ลดการเกาะของน้ำและฝุ่น’ ที่มีคุณสมบัติปรับค่ามุมสัมของน้ำบนวัสดุ ช่วยลดการเกาะของน้ำและฝุ่น ลดความถี่ในการทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์ได้เป็นอย่างดี ได้ผลิตภัณฑ์สามารถยึดติดหน้าแผงได้นาน 1-2 ปี โดยไม่ส่งผลต่อการรับประกัน ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้งานและมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากการให้บริการเคลือบพื้นผิวแผงโซลาร์เซลล์แก่โรงงานอุตสาหกรรมประเภทอาหาร วัสดุก่อสร้าง และปิโตรเลียม ที่ผ่านมา พบว่าช่วยลดความถี่ในการทำความสะอาดแผงได้เป็นอย่างดี (ความถี่ในการทำความสะอาดขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของที่ตั้งแผง)
ปัจจุบันนาโนเทค พร้อมให้บริการผลิตภัณฑ์แก่ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมและโซลาร์ฟาร์มแล้ว ทั้งในรูปแบบการสั่งซื้อเฉพาะผลิตภัณฑ์ (มีเจ้าหน้าที่สอนวิธีการเคลือบ) และการให้บริการแบบครบวงจรตั้งแต่การประเมินสภาพแวดล้อมจนถึงเสร็จงาน ในนามบริษัทนาโน โค๊ตติ้ง เทค จำกัด สำหรับการให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อย ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการวางแผนธุรกิจและการขยายกำลังการผลิต คาดว่าจะพร้อมให้บริการได้ในช่วง 1-2 ปีหน้า
รายละเอียดเพิ่มเติม: น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ลดการเกาะของน้ำและฝุ่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า
ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
https://www.bcg.in.th/data-center/delight-infographic/bcg-delight-infographic-pv-coating/
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.