ในช่วงนี้ คำว่า Social Distancing หรือ ระยะห่างทางสังคม คงเป็นหนึ่งคำที่ติดหูของทุก ๆ คน แต่จะทำอย่างไรใน เมื่อเราก็ยังต้องเดินทาง ต้องทำงาน ต้องพบปะกับบุคคลอื่นอยู่ วันนี้จะแนะนำ 7 วิธีการ เว้นระห่างทางสังคม ในชีวิตประจำวัน แน่นอนว่าความสะดวกสบาย อาจจะลดลง แต่ถ้าเราร่วมมือกันและหยุดการแพร่กระจายได้ในเร็ววัน เราก็จะได้กลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติ
1. วิธีการประชุม
- หลีกเลี่ยงการประชุมที่มีคนจำนวนมาก หรือ ปรับเปลี่ยนเป็นการประชุมแบบออนไลน์ ทุกวันนี้มีโปรแกรมหลากหลายที่สะดวกต่อการประชุมออนไลน์ เช่น Zoom , Google Hangout
2. เว้นระยะการนั่ง
- หากยังจำเป็นต้องไปนั่งทำงานรวมกับผู้อื่นให้นั่งเว้นระยะห่างและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกัน
- ติดสติกเกอร์ห้ามนั่งระหว่างที่นั่งที่ติดกัน
3. การเดินทาง
- หลีกเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็น เว้นแต่การออกไปทำงาน ไปโรงพยาบาล
- ออกจากบ้านให้น้อยที่สุด เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อจากผู้อื่น หรือ แพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น
4. เว้นระยะห่างระหว่างกัน
- หลีกเลี่ยงการไปในพื้นที่คนพลุกพล่าน หรือที่อากาสถ่ายเทน้อย เช่น สนามมวย สถานบันเทิง
- หากยังต้องพบปะบุคคลอื่น ให้ เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร เป็นระยะหลอดภัยจาก COVID-19
5. การรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารร่วมกันผู้อื่น ไม่นั่งทานในโรงอาหาร หรือร้านที่มีคนเยอะๆ
- ทานอาหารจานเดียว และพกช้อนส้อมส่วนตัวเสมอ หากจำเป็นต้องทานอาหารจากจานกลาง ควรมีช้อนกลางส่วนตัว
6. ขนส่งสาธารณะ
- หลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะ ในชั่วโมงเร่งด่วน มีความเสี่ยงในการติดต่อ และแพร่เชื้อสูง (มี social distancing น้อย)
- ในระยะทางใกล้ ๆ เปลี่ยนมาเดินหรือขี่จักรยานแทน ในกรณีต้องเดินทางระยะไกล ควรใช้รถยนต์ส่วนบุคคล แท็กซี่ หรือเดินทางในช่วงเวลาที่คนไม่พลุกพล่าน
7. การจัดกิจกรรม
- งดการจัดกิจกรรมที่อาจจะมีการสัมผัส หรือใกล้ชิดผู้อื่น เช่น คอนเสิร์ต การประชุมสัมนา เป็นต้น
- เลื่อนกิจกรรมในช่วงนี้ออกไปก่อน เพื่อลดการกระจายและการแพร่ระบาดของ COVID-19
ระยะห่างทางสังคม หรือ ระยะปลอดภัย เป็นการเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคคล ป้องกันการสัมผัสและการติดต่อของโรค ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนปลอดภัย และยับยั้งการแพร่กระจาย ของไวรัส COVID-19
ขอขอบคุณที่มาจาก https://www.shrm.org
บทความโดย รู้สู้ COVID-19
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.