จากประเด็นปัญหาปลาหมอคางดำที่ได้แพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว จึงเป็นที่มาของ การจัดทำแผนของ สกสว. แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ด้าน ววน.) ควบคู่กับจัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ดําเนินงานแก้ไขปัญหาดังกล่าวผ่านงานวิจัยเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยเชื่อมโยงกับหน่วยงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อให้นำไปใช้ได้ในทันที
โดยคาดการณ์ว่าในปี 2587 หรือ อีก 20 ปี ข้างหน้า การแพร่ระบาดจะขยายวงกว้างครบทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ จาก 16 จังหวัดในปัจจุบัน หากไม่มีการดำเนินมาตรการการควบคุม
⚠️ผลกระทบจากปริมาณของปลาหมอคางดำที่เพิ่มสูงขึ้นสามารถส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของประเทศไทยในภาพรวม การดำรงชีพด้านการประมงของประชาชนในแต่ละพื้นที่ อีกทั้งยังส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศ ⚠️
จากปัญหาดังกล่าว สกสว. ในฐานหน่วยงานกลางของประเทศ ที่มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศในทุกมิติ โดยการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ด้าน ววน.) ควบคู่กับจัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ให้เกิดการพัฒนา และแก้ไขปัญหาดังเร่งด่วนของประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน
ได้ทำการวิเคราะห์ สถานการณ์จำลอง หรือ ฉากทัศน์ การควบคุมการระบาดของปลาหมอสีคางดำในประเทศไทย ด้วย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย รศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ ผู้อำนวยการหน่วยกลยุทธ์ข้อมูลและดิจิทัล สกสว. เพื่อกำหนดทิศทางการสนับสนุน ส่งเสริม และขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหา ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ร่วมกับ หน่วยรับงบประมาณ และ หน่วยบริหารและจัดการทุน ที่เกี่ยวข้อง
✅ แนวทางในการจัดการปลาหมอคางดำมีอะไรบ้าง ?
? มาตรการ eDNA : การตรวจจับการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำในรูปแบบชุดทดสอบ Test Kits ที่แต่ละพื้นที่สามารถตรวจสอบได้เอง เพื่อให้ทราบปริมาณความหนาแน่นของปลา และแนวทางในการดำเนินการแก้ไขอย่างถูกต้อง
? การปล่อยปลากระพง : การปล่อยการกระพงขวาในการจัดการอย่างถูกจุด โดยการดำเนินการควบคู่กับมาตรการ eDNA
? การจับเพื่ออุตสาหกรรม และการบริโภคในครัวเรือน : โดยประกอบกับการใช้งานวิจัยในการใช้ปลาหมอคางดำในทางอุตสาหกรรม เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปปลาหมอสีคางดำเพื่อเพิ่มมูลค่า การวิจัยประสิทธิภาพของการใช้ปลาหมอสีคางดำเป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น
? การควบคุมทางพันธุรกรรมเพื่อให้การแพร่พันธ์ุยากยิ่งขึ้น มีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมอย่างมีนัยสาคัญ
.
โจทย์วิจัยจำเป็นต้องสนับสนุนการวิจัย เพื่อสนับสนุนมาตรการการดำเนินงาน 3 มาตรการ (การใช้ eDNA ในการสำรวจ , การปล่อยปลากะพง , และการจับปลาหมอสีคางดำเพื่ออุตสาหกรรม) อาทิ การศึกษาผลกระทบทางระบบนิเวศ การพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น พัฒนาแบบจำลองการแพร่กระจายของ ปลาหมอสีคางดำที่แม่นยำยิ่งขึ้น การศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการจับปลา การวิจัยทางเศรฐศาสตร์และสังคม การศึกษาชีววิทยา และ พฤติกรรม
???สกสว. มุ่งส่งเสริมงานวิจัย สร้างองค์ความรู้สำคัญ เพราะเราเชื่อมั่นว่าวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม สามารถเป็นพลังสำคัญในการส่งเสริมนโนบายที่ตอบโจทย์ประเทศและผลประโยชน์ของคนไทยสูงสุด
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
https://www.facebook.com/ThailandScienceResearchandInnovation
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กลุ่มสื่อสารองค์กร
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : MHESIThailand
Instagram : mhesithailand
Tiktok : @mhesithailand
X (Twitter) : @MHESIThailand
YouTube : @MHESIThailand
Call Center 1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.