ในปัจจุบันเมนูอาหารดิบที่มีรสชาติจัดจ้าน เป็นที่นิยมและหารับประทานได้ง่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นส้มตำกุ้งสด ซอยจุ๊ ปูดอง ไข่ดอง หรือแม้แต่ปลาน้ำจืดดิบที่มีความเสี่ยงต่อพยาธิสูง ก็ยังมีผู้ไม่รู้เท่าทันอันตรายนำมาประกอบอาหารเมนูดิบรับประทานกันอยู่เนืองๆ ในวันนี้เราจึงนำข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอันตรายที่ซ่อนตัวอยู่ในอาหารดิบมาฝาก เพื่อระมัดระวังและป้องอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของเราค่ะ
ไม่ใช่เฉพาะอาหารดิบเท่านั้นที่เป็นอันตราย แต่อาหารที่ปรุงไม่สุกเต็มที่โดยผ่านความร้อนในอุณหภูมิที่ไม่สูงเท่าที่ควรหรือปรุงด้วยความร้อนในเวลาสั้นๆ ก็ยังแฝงอันตรายไม่แพ้อาหารดิบ เพราะพยาธิและเชื้อโรคบางชนิด ต้องทำลายด้วยความร้อนที่สูงพอสมควร และหากคุณรับประทานอาหารดิบไม่ว่าจะในปริมาณมากหรือน้อย แล้วมีอาการทางร่างกายที่ส่งสัญญาณอันตรายดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการในทันที
โรคพยาธิใบไม้ตับในระยะเริ่ม เป็นหรือระยะที่ตับยังไม่เสียหายมาก สามารถรักษาหายได้ แต่เมื่อตับเสียหายมากแล้ว มักเป็น โรคที่รุนแรง ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถทำงานใช้ชีวิตได้ตามปกติ และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคมะเร็งตับชนิดที่เกิดกับท่อน้ำดีในตับ (Cholangiocarcinoma/มะเร็งท่อน้ำดีตับ) ซึ่งเป็นโรคมะเร็งชนิดรุนแรง เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้สูง
ปลาน้ำจืดดิบ จะมีพยาธิใบไม้ตับโดยตัวอ่อนระยะติดต่อ (Metacercariae) จะอาศัยอยู่ในเนื้อปลาน้ำจืดพื้นบ้าน เช่น ปลาตะเพียน ปลาแม่สะแด้ง ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาแก้มช้ำ ปลาขาวนา ปลาขาว ปลากะสูบ เมื่อคนหรือสัตว์กินปลาดิบหรือสุกๆ ดิบ (อาหารพื้นบ้านของคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เช่น ปลาร้า ลาบ ก้อย) พยาธิตัวอ่อนในปลาจะเข้าสู่ร่างกาย โดยจะเข้าสู่ลำไส้เล็ก (ซึ่งมีรูเปิดของท่อน้ำดีจากตับเปิดเข้าลำไส้เล็ก) เข้าสู่ตับผ่านทางรูเปิดของท่อน้ำดี และเข้าไปเจริญเติบโตในท่อน้ำดีในตับต่อไป
หมูดิบ/เนื้อวัวดิบ จะมีพยาธิตืดวัวและพยาธิตืดหมู อาศัยอยู่ ในร่างกายมนุษย์โดยใช้หัวเกาะอยู่ที่ผนังลำไส้ ความยาว 2-4 เมตร โดยจะสลัดตัวที่เป็นปล้อง ปนออกมากับอุจจาระ ซึ่งภายในปล้องพยาธิจะเต็มไปด้วยไข่ของตัวตืด และเมื่อปล้องพยาธิแตกก็จะมีไข่แตกกระจายปนกับอุจจาระ หากพยาธิตืดหมู/พยาธิตืดวัว สลัดปล้องสุก ที่อยู่ในลำไส้กลับขึ้นไปในกระเพาะอาหาร
กุ้งดิบ?/หอยดิบ?/ปูดิบ?/ปลาดิบ ? จะมีเชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้ตามธรรมชาติใน สิ่งแวดล้อมต่างๆ ตามชายฝั่งทะเล ในน้ำทะเล และตามตะกอนโคลนตม ในทะเล อันตรายของเชื้อนี้ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคกระเพาะ อหิวาตกโรค และการติดเชื้อ โดยผู้ติดเชื้อจะมีอาการท้องร่วงรุนแรง มีอุจจาระเหลวเป็นน้ำ มีกลิ่นเหม็น เหมือนกุ้งเน่า มักมีอาการปวดเกร็งที่ท้อง ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมีอาการอาเจียนร่วมด้วย มีระยะฟักตัวค่อนข้างสั้น คืออาจเกิดอาการในประมาณ 15-24 ชั่วโมง
หอยน้ำจืดดิบ จะมีพยาธิปอดหนู (Angiostrongylus cantonensis) โดยปกติจะอาศัยอยู่ในหลอดเลือดแดงของปอดหนู พยาธิตัวเมียจะออกไข่ในหลอดเลือดแดงและฟักตัวเป็นตัวอ่อน จากนั้นตัวอ่อนจะ ไชผ่านปอดออกมาจนถึงลำไส้และปนออกมากับอุจจาระหนู ตัวอ่อนระยะนี้จะถูกกินหรือไชเข้าสู่หอยน้ำจืด เช่น หอยโข่ง หอยเชอรี่ หอยขม กุ้ง ปู กบ ตะกวด แล้วเจริญเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อ เมื่อคนกินสัตว์ที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อนี้ โดยไม่ปรุงให้สุกเสียก่อน ตัวอ่อนจะเดินทางไปที่สมอง ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้อาการของการติดเชื้อ หลังจาก คนรับประทานตัวอ่อนพยาธิเข้าไป จะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-30 วัน ก่อนแสดงอาการของโรค โดยตัวอ่อนจะไชเข้าสู่ระบบประสาท เช่น สมอง ไขสันหลัง ทำให้มีอาการปวดศีรษะ ไข้ คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง ชักเกร็ง อ่อนแรง จนอาจถึงขั้นเสียชีวิต ถ้าพยาธิไชเข้าตา จะทำให้ตาอักเสบ ตามัว ไปจนถึงตาบอดได้
ไข่ไก่ดิบ จะมีเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา (Salmonella spp.) ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ลำไส้อักเสบ อาจรุนแรง จนเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด องค์กรอาหารและยา (FDA) มีการค้นพบว่าในแต่ละปีมีคน 30 คนที่เสียชีวิต เนื่องมาจากการ รับประทานไข่ที่มีสารปนเปื้อนด้วยเชื้อนี้
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.