การจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อบรรเทาภัยแล้ง
พอเข้าใกล้หน้าหนาว หลายคนมักจะนึกถึงภัยแล้งในพื้นที่ต่าง ๆ รู้หรือไม่ว่า ข้อมูลจากดาวเทียม THEOS-2 นั้นสามารถประยุกต์ใช้จัดการทรัพยากรน้ำเพื่อบรรเทาภัยแล้งได้ในรูปแบบต่าง ๆ กัน ตามความต้องการของแต่ละพื้นที่
สวัสดีครับแฟนเพจทุกท่าน อย่างที่เราเคยได้พูดคุยกันไปแล้วว่า ดาวเทียมไม่ได้ให้ข้อมูลปริมาณน้ำต้นทุนที่มีได้อย่างเดียว วันนี้เราจะมาพูดถึงข้อมูลปริมาณน้ำที่เราจำเป็นต้องใช้อุปโภค-บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลอีกส่วนที่สำคัญมาก ๆ ต่อการจัดการทรัพยากรน้ำ เพราะความต้องการใช้น้ำในแต่ละช่วงเวลานั้นแตกต่างกันออกไป ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้เมื่อนำมารวมกับข้อมูลน้ำต้นทุนแล้วสามารถวางแผน การบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้มีความสมดุลย์ทั้งในเรื่องของการอุปโภคและบริโภค รวมถึงการใช้น้ำเพื่อการเกษตร เป็นต้น
ข้อมูลปริมาณน้ำที่ประชาชนต้องการใช้นั้นสำคัญพอ ๆ กับข้อมูลปริมาณน้ำน้ำต้นทุนที่มีอยู่เพราะปริมาณความต้องการน้ำในภาคต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และอุปโภคบริโภคในครัวเรือนนั้นเป็นตัวเลขที่ไม่แน่นอน อีกทั้งในแต่ละปีมีความต้องการใช้น้ำแตกต่างกันไปจากหลายปัจจัย เช่น การเพิ่มปริมาณการปลูกพืช หรือจำนวนประชากร แต่เมื่อเราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลส่วนนี้ได้จะทำให้รู้ว่าในแต่ละช่วงเวลาเราควรจัดสรรและกักเก็บน้ำอย่างไรให้เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่อาจมีความต้องการน้ำสูงกว่าปริมาณน้ำต้นทุนในช่วงเวลานั้น การรู้ถึงปริมาณความต้องการการใช้น้ำก่อนจะทำให้สามารถกักเก็บน้ำในฤดูอื่นไว้เผื่อหน้าแล้งได้ครับ
การนำข้อมูลแหล่งน้ำในแต่ละพื้นที่มารวมกับข้อมูลความต้องการใช้น้ำในแต่ละภาคส่วน เพื่อคำนวณค่าดัชนีที่เกี่ยวข้องกับน้ำแล้งและน้ำมากให้เห็นภาพรวมของน้ำต้นทุนและปริมาณน้ำที่ต้องการใช้ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวางแผนและคาดการณ์ถึงปริมาณน้ำต้นทุนในแต่ละปีต่อไปทำให้ได้ข้อมูลความต้องการน้ำที่แม่นยำยิ่งขึ้น เมื่อรวมกับประสิทธิภาพของข้อมูลภาพถ่ายที่ละเอียดขึ้นจากดาวเทียม THEOS-2 ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติของไทยดวงล่าสุดทำให้สามารถระบุได้จนถึงความละเอียดในเรื่องของช่วงเวลาต่าง ๆ ที่มีความต้องการอุปโภคบริโภคและปริมาณในแหล่งน้ำต้นทุนต่างกันทำให้แผนจัดการทรัพยากรน้ำมีประสิทธิภาพและความแม่นยำมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าข้อมูลจาก THEOS-2 ไม่ได้มีประโยชน์แค่ในทางตรงแต่ยังนำมาต่อยอดวิเคราะห์ได้ในหลายด้าน อย่างในกรณีนี้คือความต้องการใช้น้ำนั่นเองครับและเมื่อเราสามารถจัดสรรน้ำจากข้อมูลชุดนี้ได้แล้ว การที่ประชาชนจะมีน้ำอุปโภค-บริโภคใช้โดยไม่ขาดแคลนตลอดปีก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไปครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก นายกัมปนาท ดีอุดมจันทร์ หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ
ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.)
https://www.facebook.com/gistda
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.