ความท้าทายของ AIP
จากบทความที่ผ่านมา ผู้อ่านคงได้เห็นกันอย่างคร่าว ๆ แล้วว่า AIP สามารถสนับสนุนการสร้างนโยบายและแนวทางการพัฒนาได้อย่างหลากหลาย เช่น การจัดสรรน้ำให้เพียงพอต่อภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ภาคครัวเรือน การรองรับการเกิดเมืองใหม่ในอนาคตของเขตพื้นที่ EEC (Eastern Economic Corridor) และการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ไปพร้อมกับจัดสรรพื้นที่ทำการเกษตรในพื้นที่จังหวัดน่าน ทั้งสองโครงการนี้เป็นโครงการที่สร้างความหวังว่าสู่ประตูบานใหม่ของการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในความเป็นจริงนั้น การพัฒนา AIP เองก็มีความท้าทายที่ทีมงานของเราต้องเจออยู่บ้างครับ
AIP มีจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุนการสร้างนโยบายเพื่อการพัฒนาให้ครอบคลุมทุกมิติด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ โดยมิติต่าง ๆ ที่ตั้งเป้าหมายไว้คือ การจัดการเกษตรและความมั่นคงด้านอาหาร การจัดการน้ำแบบองค์รวม ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ การจัดการเมืองและเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ และ การจัดการภัยพิบัติ โดยการพัฒนามิติต่าง ๆ เหล่านี้ ต้องคำนึงถึงความยั่งยืนและการพัฒนาทุกอย่างคู่ขนานกันไปนี้
ด้วยเหตุนั้น การกำหนดแนวทางเพื่อประโยชน์สูงสุดในด้านใดด้านหนึ่งจึงอาจทำให้ขาดการพัฒนาด้านอื่น ๆ หรืออาจกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้ด้านอื่นเสียความสมดุลไป ดังนั้นการสร้างและทดสอบตัวเลือกของ AIP จึงเป็นความท้าทายที่ต้องหาสมดุลเพื่อพัฒนาด้านที่ต้องการได้อย่างเต็มที่และยั่งยืนโดยไม่รบกวนด้านอื่น ๆ เช่น หากต้องการพัฒนาเขตพื้นที่อุตสาหกรรมก็ต้องคำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรควบคู่กันไปด้วย แต่หากคำนึงถึงแต่สิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียวก็จะไม่สามารถพัฒนาพื้นที่เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจได้เช่นกัน
นอกจากนั้น การรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนยังทำให้เห็นว่าความต้องการของหน่วยงานในพื้นที่มีความหลากหลาย การออกนโยบายที่ตอบสนองเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ ก็อาจไม่ใช่แนวทางที่มีความยั่งยืนที่สุดหรือมีความสมดุลที่สุด ดังนั้นการสร้างแนวทางการพัฒนาด้วย AIP จึงต้องเกิดจากการรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน รวมถึงประนีประนอมกับฝ่ายต่าง ๆ เพื่อให้ได้แนวทางที่สมดุลและเป็นประโยชน์กับทุกคน
นี่คือความท้าทายของการพัฒนา AIP ที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก แต่เมื่อไหร่ที่เราสามารถวางแผนที่มีความสมดุลในทุก ๆ ด้าน และประนีประนอมกับชุมชนในพื้นที่ได้ พื้นที่นั้นก็จะเกิดการพัฒนาซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่คุ้มค่าต่ออนาคตของประเทศ ความท้าทายเหล่านี้ในการพัฒนา AIP จึงนับเป็นหนทางที่คุ้มค่าต่อความพยายามเพื่ออนาคตและความยั่งยืนของประเทศไทยต่อไปครับ
ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.