"ทวารเทียม" คืออะไร TCELS พาไปรู้จักกัน...
ทวารเทียม (Ostomy) เป็นการผ่าตัดเพื่อดัดแปลงทางเดินอาหารเพื่อให้ของเสียในร่างกายของผู้ป่วยสามารถผ่านออกมาทางช่องเปิดบริเวณหน้าท้องได้ เนื่องจากร่างกายผู้ป่วยไม่สามารถขับถ่ายของเสียออกได้ตามช่องทางปกติ ตัวอย่างของโรคและอาการผิดปกติที่มีความจำเป็นต้องเปิดทวารเทียม เช่น โรคมะเร็งลำไส้ ลำไส้อุดตัน เป็นต้น ทวารเทียมนั้นมี 2 ประเภท คือแบบชั่วคราว คือจะใช้งานแค่จนถึงจุดที่รักษาโรคสำเร็จแล้ว และแบบถาวร คือต้องใช้ไปตลอดชีวิต ไม่สามารถกลับไปขับถ่ายแบบเดิมได้อีก
เนื่องจากว่าทวารเทียมนั้น เป็นการนำลำไส้มาเปิดออกทางช่องท้อง ทำให้ทวารเทียมนั้นไม่มีหูรูด ผู้ป่วยจึงไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ ดังนั้นจึงต้องติดถุงทวารเทียม (Ostomy bag) ไว้ที่บริเวณหน้าท้อง เพื่อเก็บของเสียที่ถูกขับถ่ายออกมา ซึ่งถุงทวารเทียมนี้ นอกจากจะเป็นภาชนะรองรับของเสียแล้ว ยังช่วยป้องกันกลิ่น และปกป้องผิวหนังของผู้ป่วยไม่ให้สัมผัสกับของเสียโดยตรงอีกด้วย ผู้ป่วยที่ใส่ถุงทวารเทียมสามารถใช้ชีวิตได้แทบจะเหมือนเดิม เพียงแค่มีข้อควรระวังบางอย่างเพิ่มเติมเข้ามาเพื่อให้การใช้ชีวิตสะดวกมากยิ่งขึ้น
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS มีโครงการสนับสนุนการวิจัยพัฒนาถุงทวารเทียม จนพัฒนาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ถุงทวารเทียมที่ออกแบบโดยคนไทย ใช้วัตถุดิบจากไทย และยังมีการผลักดันนวัตกรรมนี้เข้าสู่ระบบบัตรทอง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ทั่วถึงมากขึ้น และได้ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมไทยฝีมือคนไทย
ที่มา : ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ศลช.)
https://www.facebook.com/TCELSThailand
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.